ชื่อผู้แต่ง | William Linehan |
วารสาร/นิตยสาร | Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society |
เดือน | April |
ปี | 1948 |
ฉบับที่ | 21 |
หน้าที่ | 119-123 |
ภาษา | English |
หัวเรื่อง | Langkasuka |
ในบทความนี้ว่าด้วยอาณาจักรลังกาสุกะ เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ซึ่งมีประวัติการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 โดยชาวอินเดียที่อพยพเข้ามาทางเรือจากอนุทวีปอินเดีย จีน และแขกอาหรับเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และก่อร่างสร้างเป็นเมืองขึ้นมา ซึ่งเนื้อหาของบทความจะกล่าวถึงที่มาที่ไปของชื่ออาณาจักรแห่งนี้ และความเป็นไปได้ที่เมืองแห่งนี้จะมีความสัมพันธ์ต่อยุคสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช
ตามตำนานที่ถูกเขียนในพงศาวดารตำนานมะโรงมหาวงศ์ พงศาวดารเมืองไทรบุรี (Kedah Annals) ว่ากันว่า มีเรือที่นำโดยเจ้าชายมะโรง มหาวงศา (Merong Mahawangsa) ทรงเดินทางมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก มุ่งหน้าไปยังแผ่นดินที่ใกล้ที่สุด ซึ่งที่นั่นคือคาบสมุทรมลายู บริเวณรัฐเกดะห์ เมื่อมาถึงพื้นทวีปแล้วเจ้ามะโรง มหาวงศา ก็ได้สร้างเมืองสร้างพระราชวังบนพื้นที่แห่งนี้ เมื่อสร้างเสร็จก็ได้ให้ชื่อว่า “ลังกาสุกะ” (Lanka Suka) ซึ่งแปลว่าเกาะแห่งความยินดี เพราะเมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วก็มีผู้คนและสรรพสัตว์น้อยใหญ่เข้ามายินดี
อีกหนึ่งในประเด็นของชื่อลังกาสุกะนั้น แผลงมาจากชื่อของพระเจ้าอโศกมหาราช (Lanha Asoka) โดยอาศัยความเชื่อมโยงจากการตั้งถิ่นฐานอพยพของชาวอินเดียในภูมิภาค กับ การเข้ามาของสมณทูตของพระเจ้าอโศก พระโสณะและพระอุตตะระเถระที่เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิและภูมิภาคนี้ ซึ่งตั้งชื่ออาณาจักรแห่งนี้ว่า Lanha Asoka ซึ่งแปลว่า “เกาะของพระเจ้าอโศก” ซึ่งเป็นเกาะท่าเรือการค้าสำคัญที่รับส่งสินค้าและติดต่อจากอินเดีย
Kedah Annals
The religious mission of the Buddhist monks Sona and Uttara
ในบทความนี้ว่าด้วยอาณาจักรลังกาสุกะ เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ซึ่งมีประวัติการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 โดยชาวอินเดียที่อพยพเข้ามาทางเรือจากอนุทวีปอินเดีย จีน และแขกอาหรับเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และก่อร่างสร้างเป็นเมืองขึ้นมา ซึ่งเนื้อหาของบทความจะกล่าวถึงที่มาที่ไปของชื่ออาณาจักรแห่งนี้ และความเป็นไปได้ที่เมืองแห่งนี้จะมีความสัมพันธ์ต่อยุคสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช
ตามตำนานที่ถูกเขียนในพงศาวดารตำนานมะโรงมหาวงศ์ พงศาวดารเมืองไทรบุรี (Kedah Annals) ว่ากันว่า มีเรือที่นำโดยเจ้าชายมะโรง มหาวงศา (Merong Mahawangsa) ทรงเดินทางมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก มุ่งหน้าไปยังแผ่นดินที่ใกล้ที่สุด ซึ่งที่นั่นคือคาบสมุทรมลายู บริเวณรัฐเกดะห์ เมื่อมาถึงพื้นทวีปแล้วเจ้ามะโรง มหาวงศา ก็ได้สร้างเมืองสร้างพระราชวังบนพื้นที่แห่งนี้ เมื่อสร้างเสร็จก็ได้ให้ชื่อว่า “ลังกาสุกะ” (Lanka Suka) ซึ่งแปลว่าเกาะแห่งความยินดี เพราะเมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วก็มีผู้คนและสรรพสัตว์น้อยใหญ่เข้ามายินดี
อีกหนึ่งในประเด็นของชื่อลังกาสุกะนั้น แผลงมาจากชื่อของพระเจ้าอโศกมหาราช (Lanha Asoka) โดยอาศัยความเชื่อมโยงจากการตั้งถิ่นฐานอพยพของชาวอินเดียในภูมิภาค กับ การเข้ามาของสมณทูตของพระเจ้าอโศก พระโสณะและพระอุตตะระเถระที่เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิและภูมิภาคนี้ ซึ่งตั้งชื่ออาณาจักรแห่งนี้ว่า Lanha Asoka ซึ่งแปลว่า “เกาะของพระเจ้าอโศก” ซึ่งเป็นเกาะท่าเรือการค้าสำคัญที่รับส่งสินค้าและติดต่อจากอินเดีย
Kedah Annals
The religious mission of the Buddhist monks Sona and Uttara