ชื่อผู้แต่ง | กำพล จำปาพันธ์ |
วารสาร/นิตยสาร | วิถีสังคมมนุษย์ |
เดือน | กรกฎาคม - ธันวาคม |
ปี | 2559 |
ปีที่ | 4 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 2 - 61 |
ภาษา | ไทย |
บทความนี้มีการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาพสังคมวัฒนธรรมของชุมชนโบราณย่านลุ่มแม่น้ำท่าจีนในมิติเชิงประวัติศาสตร์ ด้วยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจตรวจสอบและสืบค้นแหล่งโบราณสถานและศิลปวัตถุ พบว่าลุ่มแม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งอารยธรรมประวัติศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอกอย่างกว้างขวาง ผ่านความรุ่งเรืองจากยุคทวารวดี เขมรพระนครและอโยธยาของสยาม ดังปรากฏร่องรอยหลักฐานของยุคสมัยดังกล่าวเป็นอันมากในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำท่าจีนเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมหลายชาติพันธุ์เข้ามาอยู่อาศัยและประกอบสัมมาอาชีพอยู่ในพื้นที่ อาทิเช่น ไทย, ลาว, มอญ, เขมร, ยวน, แขก, จีน, เวียดนาม เป็นต้น เนื่องจากประวัติศาสตร์ของสถานที่สำคัญ ที่มีอายุอยู่ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19-20 สูญหายไปจากสถานที่และความทรงจำของผู้คนในท้องถิ่น ภายหลังจึงเกิดการสร้างตำนานนิทานพื้นบ้านบอกเล่าความสำคัญ เช่น ตำนานท้าวอู่ทอง ซึ่งพบในพื้นที่มาก มีคุณูปการในการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมของย่านลุ่มแม่น้ำท่าจีน เพราะสะท้อนถึงแง่มุมความคิดและความเชื่อของคนในท้องถิ่น
บทความนี้มีการนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาพสังคมวัฒนธรรมของชุมชนโบราณย่านลุ่มแม่น้ำท่าจีนในมิติเชิงประวัติศาสตร์ ด้วยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจตรวจสอบและสืบค้นแหล่งโบราณสถานและศิลปวัตถุ พบว่าลุ่มแม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งอารยธรรมประวัติศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอกอย่างกว้างขวาง ผ่านความรุ่งเรืองจากยุคทวารวดี เขมรพระนครและอโยธยาของสยาม ดังปรากฏร่องรอยหลักฐานของยุคสมัยดังกล่าวเป็นอันมากในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำท่าจีนเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมหลายชาติพันธุ์เข้ามาอยู่อาศัยและประกอบสัมมาอาชีพอยู่ในพื้นที่ อาทิเช่น ไทย, ลาว, มอญ, เขมร, ยวน, แขก, จีน, เวียดนาม เป็นต้น เนื่องจากประวัติศาสตร์ของสถานที่สำคัญ ที่มีอายุอยู่ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19-20 สูญหายไปจากสถานที่และความทรงจำของผู้คนในท้องถิ่น ภายหลังจึงเกิดการสร้างตำนานนิทานพื้นบ้านบอกเล่าความสำคัญ เช่น ตำนานท้าวอู่ทอง ซึ่งพบในพื้นที่มาก มีคุณูปการในการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมของย่านลุ่มแม่น้ำท่าจีน เพราะสะท้อนถึงแง่มุมความคิดและความเชื่อของคนในท้องถิ่น