ชื่อผู้แต่ง | พงษ์ศักดิ์ นิลวร |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | กรกฎาคม - ธันวาคม |
ปี | 2560 |
ปีที่ | 16 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 11 - 30 |
ภาษา | ไทย |
ลายบัวรวน เป็นลายรูปแบบหนึ่งที่พบในศิลปะทวารวดีลักษณะของลาย เป็นใบไม้คล้ายใบผักกาดส่วนปลายใบม้วนลง มีส่วนหัวใหญ่และที่ปลายด้าน ล่างค่อยๆ เล็กลงมา การประดับลายจะเรียงเป็นแถวต่อเนื่องกันไป ต้นแบบของ ลายบัวรวนอาจมีที่มาจากลายวยาลมาลาในศิลปะอินเดียภาคใต้พบตั้งแต่ศิลปะ ปัลลวะเป็นต้นมา ซึ่งนิยมใช้ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม ลายนี้ถูกปรับเปลี่ยน จนเป็นลักษณะเฉพาะเมื่อเข้าสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นลาย บัวรวนในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครและศิลปะทวารวดีในศิลปะเขมร สมัยก่อนเมืองพระนครนิยมใช้ลายบัวรวนประดับสถาปัตยกรรมเช ่นเดียวกับ สถาปัตยกรรมอินเดียภาคใต้สำหรับในศิลปะทวารวดีพบทั้งลายที่ประดับอยู่ ร่วมกับสถาปัตยกรรมและลายที่ใช้ประดับตกแต่งประติมากรรมด้วยเช่นกัน จาก การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของลายบัวรวนในศิลปะทวารวดีพบว่าค่อนข้างมี ความสัมพันธ์กับลายบัวรวนในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมากขณะ เดียวกันก็พบว่าลายบัวรวนในศิลปะทวารวดีนั้นมีความแตกต่างจากศิลปะเขมร สมัยก่อนเมืองพระนครในบางประการ ลักษณะดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงการ คลี่คลายและวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นเสมอๆในศิลปะทวารวดีนอกจากนี้ยังสะท้อนให้ เห็นบริบททางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างรัฐโบราณ ร่วมสมัยในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเองอีกด้วย
ธรรมจักรศิลา พบที่จังหวัดนครปฐม
พนักบัลลังก์พระพุทธรูป พบที่จังหวัดนครปฐม
ฐานธรรมจักรรูปวิมานพระสุริยะ พบที่จังหวัดนครปฐม
บัญชรของปราสาทบริวารในกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกหมู่ใต้
งลายบัวรวนเจดีย์เขาคลังนอก อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
บัญชรปราสาทบริวารของปราสาทสมโบร์ไพรกุกหมู่ใต้
แสดงภาพลายบัวรวนตามหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้
ลายบัวรวน เป็นลายรูปแบบหนึ่งที่พบในศิลปะทวารวดีลักษณะของลาย เป็นใบไม้คล้ายใบผักกาดส่วนปลายใบม้วนลง มีส่วนหัวใหญ่และที่ปลายด้าน ล่างค่อยๆ เล็กลงมา การประดับลายจะเรียงเป็นแถวต่อเนื่องกันไป ต้นแบบของ ลายบัวรวนอาจมีที่มาจากลายวยาลมาลาในศิลปะอินเดียภาคใต้พบตั้งแต่ศิลปะ ปัลลวะเป็นต้นมา ซึ่งนิยมใช้ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม ลายนี้ถูกปรับเปลี่ยน จนเป็นลักษณะเฉพาะเมื่อเข้าสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นลาย บัวรวนในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครและศิลปะทวารวดีในศิลปะเขมร สมัยก่อนเมืองพระนครนิยมใช้ลายบัวรวนประดับสถาปัตยกรรมเช ่นเดียวกับ สถาปัตยกรรมอินเดียภาคใต้สำหรับในศิลปะทวารวดีพบทั้งลายที่ประดับอยู่ ร่วมกับสถาปัตยกรรมและลายที่ใช้ประดับตกแต่งประติมากรรมด้วยเช่นกัน จาก การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของลายบัวรวนในศิลปะทวารวดีพบว่าค่อนข้างมี ความสัมพันธ์กับลายบัวรวนในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมากขณะ เดียวกันก็พบว่าลายบัวรวนในศิลปะทวารวดีนั้นมีความแตกต่างจากศิลปะเขมร สมัยก่อนเมืองพระนครในบางประการ ลักษณะดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงการ คลี่คลายและวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นเสมอๆในศิลปะทวารวดีนอกจากนี้ยังสะท้อนให้ เห็นบริบททางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างรัฐโบราณ ร่วมสมัยในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเองอีกด้วย
ธรรมจักรศิลา พบที่จังหวัดนครปฐม
พนักบัลลังก์พระพุทธรูป พบที่จังหวัดนครปฐม
ฐานธรรมจักรรูปวิมานพระสุริยะ พบที่จังหวัดนครปฐม
บัญชรของปราสาทบริวารในกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุกหมู่ใต้
งลายบัวรวนเจดีย์เขาคลังนอก อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
บัญชรปราสาทบริวารของปราสาทสมโบร์ไพรกุกหมู่ใต้
แสดงภาพลายบัวรวนตามหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้