ชื่อผู้แต่ง | ศักดิ์ชัย สายสิงห์ |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | กรกฎาคม - ธันวาคม |
ปี | 2548 |
ปีที่ | 4 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 28 - 44 |
ภาษา | ไทย |
ฐาน “บัววลัย” เป็นชื่อเรียกฐานอาคารที่พบอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดี ได้แก่ ฐานบัวที่มีการประดับลวดบัวเป็นลูกแล้วขนาดใหญ่เรียกว่า “วลัย” ซึ่งหมายถึงวงแหวนหรือกำไล ลักษณะของฐานดังกล่าวนี้สามารถเทียบได้กับฐานอาคารประเภทหนึ่งในงานศิลปะอินเดียโดยเฉพาะในอินเดียภาคใต้ที่นิยมประดับลูกแก้วขนาดใหญ่ลักษณะเดียวกันเรียกว่า “กุมุท” หมายถึงบัวตูมที่กลมป้อน ด้วยเหตุนี้เองจึงสันนิษฐานว่าฐานบัววลัยในวัฒนธรรมทวารวดีน่าจะมีที่มาจากอินเดียใต้ และมีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับศิลปกรรมที่พบอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 ได้แก่ ศิลปะชวาภาคกลาง (ในประเทศอินโดนีเซีย) ศิลปะจาม(ในประเทศเวียดนาม) ศิลปะเขมรสมัยเมืองพระนคร (ในประเทศกัมพูชา) และศิลปะศรีเกษตรและพุกาม (ในประเทศพม่า) ในงานช่างไทยพบอยู่เฉพาะในวัฒนธรรมทวารวดีเท่านั้นหลังจากสมัยนี้แล้วจะพบฐานบัวอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า “ฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย” เข้ามาแทนที่
ฐาน “บัววลัย” เป็นชื่อเรียกฐานอาคารที่พบอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดี ได้แก่ ฐานบัวที่มีการประดับลวดบัวเป็นลูกแล้วขนาดใหญ่เรียกว่า “วลัย” ซึ่งหมายถึงวงแหวนหรือกำไล ลักษณะของฐานดังกล่าวนี้สามารถเทียบได้กับฐานอาคารประเภทหนึ่งในงานศิลปะอินเดียโดยเฉพาะในอินเดียภาคใต้ที่นิยมประดับลูกแก้วขนาดใหญ่ลักษณะเดียวกันเรียกว่า “กุมุท” หมายถึงบัวตูมที่กลมป้อน ด้วยเหตุนี้เองจึงสันนิษฐานว่าฐานบัววลัยในวัฒนธรรมทวารวดีน่าจะมีที่มาจากอินเดียใต้ และมีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับศิลปกรรมที่พบอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 ได้แก่ ศิลปะชวาภาคกลาง (ในประเทศอินโดนีเซีย) ศิลปะจาม(ในประเทศเวียดนาม) ศิลปะเขมรสมัยเมืองพระนคร (ในประเทศกัมพูชา) และศิลปะศรีเกษตรและพุกาม (ในประเทศพม่า) ในงานช่างไทยพบอยู่เฉพาะในวัฒนธรรมทวารวดีเท่านั้นหลังจากสมัยนี้แล้วจะพบฐานบัวอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า “ฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย” เข้ามาแทนที่