ชื่อผู้แต่ง | สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง |
วารสาร/นิตยสาร | Veridian E-Jourmal Silpakorn University : ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ |
เดือน | พฤษภาคม - สิงหาคม |
ปี | 2561 |
ปีที่ | 11 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 2885-2899 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | เมืองโบราณอู่ทอง, พัฒนาการทางวัฒนธรรม, Ancient City of U-Thong, Cultural development |
นักวิชาการในอดีตส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี คงมี ฐานะเป็นเมืองท่าสำคัญในยุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์หรือช่วงก่อนสมัยทวารวดี และเป็นเมืองหลวง ระยะแรกของรัฐทวารวดี ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-13 อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิเคราะห์ หลักฐานทางโบราณคดีร่วมกับข้อมูลด้านจารึกและศิลปกรรมกลับพบว่า ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทองน่าจะมี ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงสมัยทวารวดีตอนกลาง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 โดยปรากฏอิทธิพล ของพุทธศาสนานิกายมหายานอย่างเด่นชัด และมีหลักฐานของการค้าขายแลกเปลี่ยนกับต่างถิ่น ทั้งกับ ศรีวิชัย อินเดีย (ราชวงศ์ปาละ) จีน (สมัยราชวงศ์ถัง) และตะวันออกกลาง (สมัยราชวงศ์อับบาสียะฮ์) ดังนั้นการเจริญขึ้นของพุทธศาสนานิกายมหายานที่ดำเนินควบคู่ไปกับความมั่งคั่งทางการค้าบนเส้นทาง สายไหมทางทะเล จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทองและชุมชนร่วมสมัยแห่งอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงกลางของสมัยทวารวดี
หลักฐานทางโบราณคดีร่วมกับข้อมูลด้านจารึกและศิลปกรรม
นักวิชาการในอดีตส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี คงมี ฐานะเป็นเมืองท่าสำคัญในยุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์หรือช่วงก่อนสมัยทวารวดี และเป็นเมืองหลวง ระยะแรกของรัฐทวารวดี ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-13 อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิเคราะห์ หลักฐานทางโบราณคดีร่วมกับข้อมูลด้านจารึกและศิลปกรรมกลับพบว่า ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทองน่าจะมี ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงสมัยทวารวดีตอนกลาง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 โดยปรากฏอิทธิพล ของพุทธศาสนานิกายมหายานอย่างเด่นชัด และมีหลักฐานของการค้าขายแลกเปลี่ยนกับต่างถิ่น ทั้งกับ ศรีวิชัย อินเดีย (ราชวงศ์ปาละ) จีน (สมัยราชวงศ์ถัง) และตะวันออกกลาง (สมัยราชวงศ์อับบาสียะฮ์) ดังนั้นการเจริญขึ้นของพุทธศาสนานิกายมหายานที่ดำเนินควบคู่ไปกับความมั่งคั่งทางการค้าบนเส้นทาง สายไหมทางทะเล จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทองและชุมชนร่วมสมัยแห่งอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงกลางของสมัยทวารวดี
หลักฐานทางโบราณคดีร่วมกับข้อมูลด้านจารึกและศิลปกรรม