หน้าแรก บทความ ปรารภ...สุวรรณภูมิ

ปรารภ...สุวรรณภูมิ

ปรารภ...สุวรรณภูมิ

ชื่อผู้แต่ง ศรีศักร วัลลิโภดม
วารสาร/นิตยสาร หน้าจั่ว
เดือน กันยายน
ปี 2550
ฉบับที่ 5
หน้าที่ 6-13
ภาษา ไทย
หมายเหตุ <p>วารสารหน้าจั่ว ฉบับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย</p>

เนื้อหาโดยย่อ

สุวรรณภูมิที่เรารู้จักนั้นเน้นการมองบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ ทว่าที่จริงแล้วสุวรรณภูมินั้นยังรวมไปถึงหมู่เกาะต่าง ๆ  อีกด้วย ในระยะแรกของการศึกษาสถาปัตยกรรมโดยชาวต่างชาติมักมีการมองผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบนี้ว่าเป็น Localize ของอินเดีย กล่าวคือมองว่าคนในดินแดนนี้ไม่สามารถคิดได้เอง แต่ต้องไปรับมาจากอินเดีย แนวคิดเช่นนี้ปรากฎในงานอย่าง Indianization ของยอร์ช เซเดย์เป็นต้น จึงมีการเรียกสุวรรณภูมิว่าเป็น East India หรือ Greatest India รวมไปถึงอิทธิพลของจีนที่เข้ามาก็ถูกเรียกเป็น INDO-CHINA ไปด้วยเช่นกัน เมื่อโลกเข้าสู่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีและมนุษยวิทยาขึ้น ด้วยแนวคิดที่มองคนที่อยู่บริเวณเอเชียอาคเนย์ว่ามีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองมากกว่า รับจากจีนและอินเดีย การผลักดันจนเกิดการค้นคว้าทางโบราณคดีส่งผลให้มุมมองต่อบริเวณนี้ที่เปลี่ยนไปว่าไม่ได้เป็นดินแดนที่ล้าหลัง แต่มีการก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 

การศึกษาทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ในยุคก่อนคริสตกาลพื้นที่แห่งนี้ก็ได้มีลักษณะการรวมตัวกันเป็นเมือง มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมรวมไปถึงติดต่อกับบริเวณจีนใต้ และถือว่าอารยธรรมในช่วงแรก ๆ  นั้นได้อิทธิพลจากที่แห่งนี้เพราะมีลักษณะการอพยพของชาวจีนมายังบริเวณประเทศไทย ต่อมาด้วยการติดต่อกับอินเดียในการค้าขายทำให้เกิดคำว่า 'สุวรรณภูมิ' ขึ้นและรับอารยธรรมหลาย ๆ อย่างเข้ามา จากการขุคค้นก็พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีชาวอินเดียเข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก รวมถึงในคัมภีร์มหาวงศ์ที่กล่าวถึงในเรื่องการเผยแพร่ศาสนามายังสุวรรณภูมิ โดยพระอุตตระ และพระโสนะอีกด้วย ทั้งการพบหลักฐานในเมืองอู่ทองจึงเป็นเครื่องยืนยันว่าอินเดียนั้นเข้ามายังบริเวณดังกล่าวในช่วงที่กลายเป็นเมืองแล้ว 

ยังมีการกล่าวถึงเรื่อง Indianization ของวอลเตอร์ที่กล่าวถึงการถูกอินเดียเข้าครอบงำและการตีความกับดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งการเข้ามาของศาสนาจากอินเดียเห็นได้ชัดว่าเป็นการนำมาใช้ในเชิงการเมือง และเกิดการแบ่งแนวคิดกษัตริย์ออกเป็น 2 สายระหว่างมองเป็นเทพเจ้าและสมมติเทวราช เป็นต้น ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 6 ค้นพบหลักฐานมากขึ้นและเกิดการผสมผสานกับระหว่างวัฒนธรรม และมีการกรากฎซากทางสถาปัตยกรรมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

อาจารย์ศรีศักรได้กล่าวถึงสิ่งที่น่าศึกษาสำหรับสถาปนิก ไว้ว่าเรื่องของ Early Architecture ให้ไปศึกษาที่เมืองอู่ทองซึ่งทำให้เห็นถึงพุทธและฮินดูอย่างเห็นได้ชัด ตลอดไปจนการจัดการแหล่งน้ำที่ได้อิทธิพลมาจากอินเดียซึ่งให้ความศักดิ์สิทธิ์ต่อแหล่งน้ำในที่ต่าง ๆ ส่วนธารน้ำที่ไหลเข้าสู่ตัวเมืองก็เป็นน้ำบริสุทธิ์ แสดงให้เห็นว่าในการออกแบบผังเมืองนั้นยังอิงกับการจัดการน้ำร่วมด้วย

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

India โบราณคดี Americanization Indianization Suvarnabhumi Localization

ยุคสมัย

Early Southeast Asia

จำนวนผู้เข้าชม

95

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

30 มี.ค. 2567

ปรารภ...สุวรรณภูมิ

  • ปรารภ...สุวรรณภูมิ
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    ศรีศักร วัลลิโภดม

    ชื่อบทความ :
    ปรารภ...สุวรรณภูมิ

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    หน้าจั่ว

    เดือน
    เดือน :
    กันยายน

    ปี :
    2550

    ฉบับที่ :
    5

    หน้าที่ :
    6-13

    ภาษา :
    ไทย

    หมายเหตุ :

    วารสารหน้าจั่ว ฉบับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย


    เนื้อหาโดยย่อ

    สุวรรณภูมิที่เรารู้จักนั้นเน้นการมองบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ ทว่าที่จริงแล้วสุวรรณภูมินั้นยังรวมไปถึงหมู่เกาะต่าง ๆ  อีกด้วย ในระยะแรกของการศึกษาสถาปัตยกรรมโดยชาวต่างชาติมักมีการมองผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบนี้ว่าเป็น Localize ของอินเดีย กล่าวคือมองว่าคนในดินแดนนี้ไม่สามารถคิดได้เอง แต่ต้องไปรับมาจากอินเดีย แนวคิดเช่นนี้ปรากฎในงานอย่าง Indianization ของยอร์ช เซเดย์เป็นต้น จึงมีการเรียกสุวรรณภูมิว่าเป็น East India หรือ Greatest India รวมไปถึงอิทธิพลของจีนที่เข้ามาก็ถูกเรียกเป็น INDO-CHINA ไปด้วยเช่นกัน เมื่อโลกเข้าสู่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีและมนุษยวิทยาขึ้น ด้วยแนวคิดที่มองคนที่อยู่บริเวณเอเชียอาคเนย์ว่ามีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองมากกว่า รับจากจีนและอินเดีย การผลักดันจนเกิดการค้นคว้าทางโบราณคดีส่งผลให้มุมมองต่อบริเวณนี้ที่เปลี่ยนไปว่าไม่ได้เป็นดินแดนที่ล้าหลัง แต่มีการก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 

    การศึกษาทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ในยุคก่อนคริสตกาลพื้นที่แห่งนี้ก็ได้มีลักษณะการรวมตัวกันเป็นเมือง มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมรวมไปถึงติดต่อกับบริเวณจีนใต้ และถือว่าอารยธรรมในช่วงแรก ๆ  นั้นได้อิทธิพลจากที่แห่งนี้เพราะมีลักษณะการอพยพของชาวจีนมายังบริเวณประเทศไทย ต่อมาด้วยการติดต่อกับอินเดียในการค้าขายทำให้เกิดคำว่า 'สุวรรณภูมิ' ขึ้นและรับอารยธรรมหลาย ๆ อย่างเข้ามา จากการขุคค้นก็พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีชาวอินเดียเข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก รวมถึงในคัมภีร์มหาวงศ์ที่กล่าวถึงในเรื่องการเผยแพร่ศาสนามายังสุวรรณภูมิ โดยพระอุตตระ และพระโสนะอีกด้วย ทั้งการพบหลักฐานในเมืองอู่ทองจึงเป็นเครื่องยืนยันว่าอินเดียนั้นเข้ามายังบริเวณดังกล่าวในช่วงที่กลายเป็นเมืองแล้ว 

    ยังมีการกล่าวถึงเรื่อง Indianization ของวอลเตอร์ที่กล่าวถึงการถูกอินเดียเข้าครอบงำและการตีความกับดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งการเข้ามาของศาสนาจากอินเดียเห็นได้ชัดว่าเป็นการนำมาใช้ในเชิงการเมือง และเกิดการแบ่งแนวคิดกษัตริย์ออกเป็น 2 สายระหว่างมองเป็นเทพเจ้าและสมมติเทวราช เป็นต้น ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 6 ค้นพบหลักฐานมากขึ้นและเกิดการผสมผสานกับระหว่างวัฒนธรรม และมีการกรากฎซากทางสถาปัตยกรรมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

    อาจารย์ศรีศักรได้กล่าวถึงสิ่งที่น่าศึกษาสำหรับสถาปนิก ไว้ว่าเรื่องของ Early Architecture ให้ไปศึกษาที่เมืองอู่ทองซึ่งทำให้เห็นถึงพุทธและฮินดูอย่างเห็นได้ชัด ตลอดไปจนการจัดการแหล่งน้ำที่ได้อิทธิพลมาจากอินเดียซึ่งให้ความศักดิ์สิทธิ์ต่อแหล่งน้ำในที่ต่าง ๆ ส่วนธารน้ำที่ไหลเข้าสู่ตัวเมืองก็เป็นน้ำบริสุทธิ์ แสดงให้เห็นว่าในการออกแบบผังเมืองนั้นยังอิงกับการจัดการน้ำร่วมด้วย

    หลักฐานสำคัญ

    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    Early Southeast Asia

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    India โบราณคดี Americanization Indianization Suvarnabhumi Localization

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 30 มี.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 95