หน้าแรก บทความ ฟูนัน : นัยของการสื่อความหมายระหว่าง “อาณาจักรกับยุคสมัยโบราณ”

ฟูนัน : นัยของการสื่อความหมายระหว่าง “อาณาจักรกับยุคสมัยโบราณ”

ฟูนัน : นัยของการสื่อความหมายระหว่าง “อาณาจักรกับยุคสมัยโบราณ”

ชื่อผู้แต่ง พระอธิการอำพนจารุโภ, พระครูปริยัติกิตติวรรณ,พระอธิการอำพน จารุโภ และ ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม
วารสาร/นิตยสาร วารสารเมืองโบราณ
เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม
ปี 2566
ปีที่ 1
ฉบับที่ 6
หน้าที่ 86-102
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อประยุกต์หลักพุทธธรรมสร้างทัศนวิสัยสำหรับการศึกษาอารยธรรมฟูนัน (2) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ฟูนัน” (3) เพื่อศึกษาข้อมูล “ฟูนัน” เชิงพื้นที่และเชิงยุคสมัย เป็นการศึกษาจากเอกสารและฟังวีดีทัศน์ของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่ร่วมสมัยกับยุคฟูนัน แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์หลักพุทธธรรมสร้างทัศนวิสัยสำหรับการศึกษาอารยธรรมฟูนันให้ยึดหลักกาลามสูตร หลักการสร้างปัญญา 3 หลักโยนิโสมนสิการ การสืบสาวหาเหตุปัจจัย หลักไตรลักษณ์ เป็นแว่นขยายมองประวัติศาสตร์ฟูนันดินแดนโบราณนั้นช่วยเสริมสร้างวางท่าทีการศึกษาประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม เกิดการระมัดระวังไม่เอียงไปหาศรัทธาจริต เน้นศึกษาที่ไม่ต้องให้บรรลุความเชื่อ แต่ควรมุ่งวัฒนธรรมการสืบสวน ไต่สวน เปรียบเทียบ ค้นหาความน่าจะเป็น ต่อเนื่องตลอดไปโดยไม่รู้จบ พบว่า มีการบันทึกคำว่า “ฟูนัน” แล้วให้ความหมายว่า “พนม” บ่งชี้ถึงสังคมที่เลือกใช้ภูเขาเป็นสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์สำหรับการสร้างศูนย์กลางความศรัทธาและอำนาจการปกครองบนดินแดนที่กว้างใหญ่ระบุว่ามีการตั้งชุมชนของผู้คนหลากเผ่าพันธุ์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค มีการถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ต่อเนื่องจากยุคก่อนประวัติศาสตร์และมีความพยายามภายในด้วยความสามารถแห่งกลุ่มชนของตนบนดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ แต่ละชุมชนปกครองตนเองสัมพันธ์กันแบบเสมอภาค ลักษณะแบบรัฐไม่รวมศูนย์ ซึ่งดูจะมีบรรยากาศที่คล้ายคลึงกันกับชุมชนทวารวดีซึ่งเป็นสังคมยุคหลังต่อมา แม้ดำเนินอยู่ในยุคต้นประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยึดมั่นวัฒนธรรมภายในของตนเองขณะที่มีติดต่อแลกเปลี่ยนอารยธรรมอินเดียตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ชาวอินโดจีนแห่งนี้ก็ยอมรับปรับใช้อย่างผสมผสานแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมอย่างกล้าหาญ “ฟูนัน” ได้ช่วยอธิบายถึงอารยธรรมขอมโบราณ ปัจจุบันชาวกัมพูชามีเชื่อว่าบรรพบุรุษของเขาเป็นชาวอินเดียที่มาแต่งงานกับหญิงผู้นำหัวหน้าชาวบ้านพื้นถิ่นแล้วมีการก่อบ้านแปลงเมืองอยู่ล่วงถึงปัจจุบัน พบว่า นักวิชาการต่าง ๆ ได้นำเสนอ “ฟูนัน” “สังคมที่ใช้ภูเขาเป็นภูนิเวศน์ศูนย์รวมศรัทธาและอำนาจของชนชั้นผู้นำ” โดยกล่าวถึงดินแดน ที่ตั้ง หลักฐานด้านโบราณคดี สังคม วัฒนธรรม วรรคดี เศรษฐกิจ การค้าขาย การคมนาคม การศึกษา อย่างหลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปองค์ประกอบได้ 2 หลัก คือ เชิงพื้นที่และเชิงยุคสมัย และข้อมูลมีความเหมาะเป็นการศึกษาเชิงวิจัยพัฒนาสติปัญญาผู้สนใจทุกท่าน

หลักฐานสำคัญ

เหรียญยุคฟูนัน, รูปปั้นนางนาค หรือพระราชินีโสมา

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ขอม ฟูนัน อาณาจักรโบราณ

จำนวนผู้เข้าชม

92

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

29 มี.ค. 2567

ฟูนัน : นัยของการสื่อความหมายระหว่าง “อาณาจักรกับยุคสมัยโบราณ”

  • ฟูนัน : นัยของการสื่อความหมายระหว่าง “อาณาจักรกับยุคสมัยโบราณ”
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    พระอธิการอำพนจารุโภ, พระครูปริยัติกิตติวรรณ,พระอธิการอำพน จารุโภ และ ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม

    ชื่อบทความ :
    ฟูนัน : นัยของการสื่อความหมายระหว่าง “อาณาจักรกับยุคสมัยโบราณ”

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    วารสารเมืองโบราณ

    เดือน
    เดือน :
    พฤศจิกายน-ธันวาคม

    ปี :
    2566

    ปีที่ :
    1

    ฉบับที่ :
    6

    หน้าที่ :
    86-102

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อประยุกต์หลักพุทธธรรมสร้างทัศนวิสัยสำหรับการศึกษาอารยธรรมฟูนัน (2) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ฟูนัน” (3) เพื่อศึกษาข้อมูล “ฟูนัน” เชิงพื้นที่และเชิงยุคสมัย เป็นการศึกษาจากเอกสารและฟังวีดีทัศน์ของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่ร่วมสมัยกับยุคฟูนัน แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์หลักพุทธธรรมสร้างทัศนวิสัยสำหรับการศึกษาอารยธรรมฟูนันให้ยึดหลักกาลามสูตร หลักการสร้างปัญญา 3 หลักโยนิโสมนสิการ การสืบสาวหาเหตุปัจจัย หลักไตรลักษณ์ เป็นแว่นขยายมองประวัติศาสตร์ฟูนันดินแดนโบราณนั้นช่วยเสริมสร้างวางท่าทีการศึกษาประวัติศาสตร์ที่เหมาะสม เกิดการระมัดระวังไม่เอียงไปหาศรัทธาจริต เน้นศึกษาที่ไม่ต้องให้บรรลุความเชื่อ แต่ควรมุ่งวัฒนธรรมการสืบสวน ไต่สวน เปรียบเทียบ ค้นหาความน่าจะเป็น ต่อเนื่องตลอดไปโดยไม่รู้จบ พบว่า มีการบันทึกคำว่า “ฟูนัน” แล้วให้ความหมายว่า “พนม” บ่งชี้ถึงสังคมที่เลือกใช้ภูเขาเป็นสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์สำหรับการสร้างศูนย์กลางความศรัทธาและอำนาจการปกครองบนดินแดนที่กว้างใหญ่ระบุว่ามีการตั้งชุมชนของผู้คนหลากเผ่าพันธุ์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค มีการถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ ต่อเนื่องจากยุคก่อนประวัติศาสตร์และมีความพยายามภายในด้วยความสามารถแห่งกลุ่มชนของตนบนดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ แต่ละชุมชนปกครองตนเองสัมพันธ์กันแบบเสมอภาค ลักษณะแบบรัฐไม่รวมศูนย์ ซึ่งดูจะมีบรรยากาศที่คล้ายคลึงกันกับชุมชนทวารวดีซึ่งเป็นสังคมยุคหลังต่อมา แม้ดำเนินอยู่ในยุคต้นประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยึดมั่นวัฒนธรรมภายในของตนเองขณะที่มีติดต่อแลกเปลี่ยนอารยธรรมอินเดียตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ชาวอินโดจีนแห่งนี้ก็ยอมรับปรับใช้อย่างผสมผสานแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมอย่างกล้าหาญ “ฟูนัน” ได้ช่วยอธิบายถึงอารยธรรมขอมโบราณ ปัจจุบันชาวกัมพูชามีเชื่อว่าบรรพบุรุษของเขาเป็นชาวอินเดียที่มาแต่งงานกับหญิงผู้นำหัวหน้าชาวบ้านพื้นถิ่นแล้วมีการก่อบ้านแปลงเมืองอยู่ล่วงถึงปัจจุบัน พบว่า นักวิชาการต่าง ๆ ได้นำเสนอ “ฟูนัน” “สังคมที่ใช้ภูเขาเป็นภูนิเวศน์ศูนย์รวมศรัทธาและอำนาจของชนชั้นผู้นำ” โดยกล่าวถึงดินแดน ที่ตั้ง หลักฐานด้านโบราณคดี สังคม วัฒนธรรม วรรคดี เศรษฐกิจ การค้าขาย การคมนาคม การศึกษา อย่างหลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปองค์ประกอบได้ 2 หลัก คือ เชิงพื้นที่และเชิงยุคสมัย และข้อมูลมีความเหมาะเป็นการศึกษาเชิงวิจัยพัฒนาสติปัญญาผู้สนใจทุกท่าน

    หลักฐานสำคัญ

    เหรียญยุคฟูนัน, รูปปั้นนางนาค หรือพระราชินีโสมา


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ขอม ฟูนัน อาณาจักรโบราณ

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 29 มี.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 92