ชื่อผู้แต่ง | พระอธิการอำพนจารุโภ, พระครูปริยัติกิตติวรรณ, พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต, และธนรัฐ สะอาดเอี่ยม |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ |
เดือน | พฤศจิกายน-ธันวาคม |
ปี | 2566 |
ปีที่ | 1 |
ฉบับที่ | 6 |
หน้าที่ | 66-84 |
ภาษา | ไทย |
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อการนิยามศัพท์: ทวารวดี 2) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของทวารวดี 3) เพื่อศึกษาการปกครองในยุคทวารวดี 4) เพื่อศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจในยุคทวารวดี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสารและภาคสนามแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่าคำว่า “ทวารวดี” พบจากจารึกในเหรียญเงินที่ระบุข้อความว่า“ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ”แปลว่าบุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดีเป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงเมืองท่าเป็นปากประตูทางการค้าขายอาจเทียบได้กับคำว่า “ทวารกา” เป็นชื่อเมืองของพระกฤษณะในเรื่องมหาภารตยุทธ กับคำว่า “โถโลโปตี้” ในสมุดบันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจังหรือคำอื่น ๆ ที่เสียงคล้ายคลึงกัน เช่นจวนโลโปติ เชอโฮโปติ และโถวเหอ เป็นต้น ทวารวดีเป็นชุมชนโบราณแรกเริ่มในดินแดนของประเทศไทย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 ซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม ของอินเดียเข้ามา เกิดมีความเจริญรุ่งเรืองมากสันนิษฐานว่าเมืองที่น่าจะเป็นศูนย์กลางของทวารวดี คือ เมืองโบราณนครปฐม เมืองโบราณอู่ทองและเมืองโบราณศรีเทพการปกครองในยุคทวารวดี แม้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่าอาณาจักรทวารวดีน่าจะมีรูปแบบการปกครองด้วยกษัตริย์ ซึ่งมีร่องรอยในจารึกบนฐานพระพุทธรูปจากวัดจันทึก ระบุด้วยอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ระบุถึงพระเทวี เจ้าแห่งทวารวดี และแผ่นทองแดงจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เมืองอู่ทอง ระบุถึง พระเจ้าหรรษวรมัน กับพระเจ้าอีศานวรมัน ว่าคือ พระราชาแห่งทวารวดีสภาพสังคมและเศรษฐกิจในยุคทวารวดี แต่เดิมคนส่วนใหญ่จะนับถือวิญญาณ พราหมณ์ฮินดูต่อมาภายหลังมีการนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายานเพิ่มขึ้น และมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าขาย เช่น ปลูกข้าว ค้าขายลูกปัดแก้ว เป็นต้น
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อการนิยามศัพท์: ทวารวดี 2) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของทวารวดี 3) เพื่อศึกษาการปกครองในยุคทวารวดี 4) เพื่อศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจในยุคทวารวดี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสารและภาคสนามแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่าคำว่า “ทวารวดี” พบจากจารึกในเหรียญเงินที่ระบุข้อความว่า“ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ”แปลว่าบุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดีเป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงเมืองท่าเป็นปากประตูทางการค้าขายอาจเทียบได้กับคำว่า “ทวารกา” เป็นชื่อเมืองของพระกฤษณะในเรื่องมหาภารตยุทธ กับคำว่า “โถโลโปตี้” ในสมุดบันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจังหรือคำอื่น ๆ ที่เสียงคล้ายคลึงกัน เช่นจวนโลโปติ เชอโฮโปติ และโถวเหอ เป็นต้น ทวารวดีเป็นชุมชนโบราณแรกเริ่มในดินแดนของประเทศไทย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 ซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม ของอินเดียเข้ามา เกิดมีความเจริญรุ่งเรืองมากสันนิษฐานว่าเมืองที่น่าจะเป็นศูนย์กลางของทวารวดี คือ เมืองโบราณนครปฐม เมืองโบราณอู่ทองและเมืองโบราณศรีเทพการปกครองในยุคทวารวดี แม้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่าอาณาจักรทวารวดีน่าจะมีรูปแบบการปกครองด้วยกษัตริย์ ซึ่งมีร่องรอยในจารึกบนฐานพระพุทธรูปจากวัดจันทึก ระบุด้วยอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ระบุถึงพระเทวี เจ้าแห่งทวารวดี และแผ่นทองแดงจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เมืองอู่ทอง ระบุถึง พระเจ้าหรรษวรมัน กับพระเจ้าอีศานวรมัน ว่าคือ พระราชาแห่งทวารวดีสภาพสังคมและเศรษฐกิจในยุคทวารวดี แต่เดิมคนส่วนใหญ่จะนับถือวิญญาณ พราหมณ์ฮินดูต่อมาภายหลังมีการนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายานเพิ่มขึ้น และมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าขาย เช่น ปลูกข้าว ค้าขายลูกปัดแก้ว เป็นต้น