หน้าแรก บทความ การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยทวารวดี

การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยทวารวดี

การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยทวารวดี

ชื่อผู้แต่ง จีราวรรณ แสงเพ็ชร์
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
ปี 2553
ปีที่ 9
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 20 - 32
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

สารีริกเจติยะ หรือ ธาตุเจดีย์ คือ สถูปเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระและโทณพราหมณาจารย์ ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุเพื่อให้เหล่ากษัตริย์และพราหมณ์อัญเชิญกลับไปประดิษฐานยังนครของตน สำหรับรายละเอียดและขั้นตอนการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนับเป็นสาระสำคัญที่จะปรากฏในวรรณกรรมพุทธศาสนาในดินแดนและสมัยต่างๆ รวมทั้งอาจจะมีข้อความที่เกี่ยวข้องกับการรจนาหลักฐานประวัติศาสตร์ เป็นบทกล่าวเกริ่นนำเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชน เชื่อมโยงความศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่นให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนชมพูทวีป หลักฐานที่ปรากฏเป็นรูปธรรมของการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ได้แก่ หลักฐานโบราณคดีที่พบในอินเดีย ศรีลังกา เมียนมาร์ และประเทศต่างๆ ที่รับนับถือพระพุทธศาสนา รวมทั้งประเทศไทย สำหรับรูปแบบการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี ดังตัวอย่าง จากหลักฐานโบราณคดี ๒ แห่ง คือ สถูปหมายเลข ๑ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี และพระธาตุนาดูน อ.นาดูน จังหวัดมหาสารคาม มีตำแหน่งการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุตามแนวแกนกลางสถูประดับลึกจากพื้นดิน อันเป็นรูปแบบดั้งเดิมของการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในอินเดียและศรีลังกา รวมทั้งปรากฏสัญลักษณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู และ พุทธ ศาสนา สำหรับ รูป แบบผอบที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลวัฒนธรรมพุทธศาสนาที่มีต้นแบบจากอินเดียฝ่ายเหนือ และอินเดียฝ่ายใต้รวมทั้งศรีลังกา โดยอาจผ่านมาทางศิลปะพม่าสมัยวัฒนธรรมปยู แบบแผนการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยทวารวดี นับเป็นจุดเริ่มแรกของการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในประเทศไทย ที่จะมีพัฒนาการสืบต่อมาสมัยหลัง

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ทวารวดี พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในทวารวดี พระบรมสารีริกธาตุ

ยุคสมัย

ทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

98

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

25 มี.ค. 2567

การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยทวารวดี

  • การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยทวารวดี
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    จีราวรรณ แสงเพ็ชร์

    ชื่อบทความ :
    การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยทวารวดี

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    กรกฎาคม - ธันวาคม

    ปี :
    2553

    ปีที่ :
    9

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    20 - 32

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    สารีริกเจติยะ หรือ ธาตุเจดีย์ คือ สถูปเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระและโทณพราหมณาจารย์ ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุเพื่อให้เหล่ากษัตริย์และพราหมณ์อัญเชิญกลับไปประดิษฐานยังนครของตน สำหรับรายละเอียดและขั้นตอนการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนับเป็นสาระสำคัญที่จะปรากฏในวรรณกรรมพุทธศาสนาในดินแดนและสมัยต่างๆ รวมทั้งอาจจะมีข้อความที่เกี่ยวข้องกับการรจนาหลักฐานประวัติศาสตร์ เป็นบทกล่าวเกริ่นนำเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชน เชื่อมโยงความศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่นให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนชมพูทวีป หลักฐานที่ปรากฏเป็นรูปธรรมของการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ได้แก่ หลักฐานโบราณคดีที่พบในอินเดีย ศรีลังกา เมียนมาร์ และประเทศต่างๆ ที่รับนับถือพระพุทธศาสนา รวมทั้งประเทศไทย สำหรับรูปแบบการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี ดังตัวอย่าง จากหลักฐานโบราณคดี ๒ แห่ง คือ สถูปหมายเลข ๑ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี และพระธาตุนาดูน อ.นาดูน จังหวัดมหาสารคาม มีตำแหน่งการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุตามแนวแกนกลางสถูประดับลึกจากพื้นดิน อันเป็นรูปแบบดั้งเดิมของการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในอินเดียและศรีลังกา รวมทั้งปรากฏสัญลักษณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู และ พุทธ ศาสนา สำหรับ รูป แบบผอบที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลวัฒนธรรมพุทธศาสนาที่มีต้นแบบจากอินเดียฝ่ายเหนือ และอินเดียฝ่ายใต้รวมทั้งศรีลังกา โดยอาจผ่านมาทางศิลปะพม่าสมัยวัฒนธรรมปยู แบบแผนการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยทวารวดี นับเป็นจุดเริ่มแรกของการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในประเทศไทย ที่จะมีพัฒนาการสืบต่อมาสมัยหลัง

    หลักฐานสำคัญ

    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ทวารวดี

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ทวารวดี พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในทวารวดี พระบรมสารีริกธาตุ

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 25 มี.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 98