ชื่อผู้แต่ง | เขมิกา หวังสุข |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | มกราคม-กรกฎาคม |
ปี | 2545 |
ปีที่ | 1 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 101-137 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | เมืองเสมา, ชุมชนโบราณ, ลุ่มแม่น้ำป่าสัก |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณ ในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล โดยทำการศึกษาแหล่งโบราณคดีเมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัด นครราชสีมา เพื่อทราบถึงพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และศึกษาถึงความสัมพันธ์ของชุมชนโบราณแห่งนี้กับ ชุมชนโบราณร่วมสมัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล และชุมชนโบราณร่วมสมัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยา ลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสัก และชุมชนโบราณในภูมิภาคใกล้เคียง ทำการศึกษา เปรียบเทียบ วิเคราะห์ ตีความ ข้อมูลหลักฐานทุกประเภท ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งภาชนะดินเผา ที่ได้จากการสำรวจ การขุดแต่ง และการขุดค้น ทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีเมืองเสมา และแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำ มูลที่ได้มีการศึกษาไว้แล้วประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจชุมชนโบราณในบริเวณ ลุ่มแม่น้ำมูลเพิ่มเติม
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนโบราณที่แหล่งโบราณคดีเมืองเสมาปรากฏร่องรอยการ อยู่อาศัย 3 ระยะด้วยกันคือ ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 10 – 11) โดยเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับชุมชนสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติ ศาสตร์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล โดยเฉพาะชุมชนโบราณในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและ ตอนกลาง และยังได้มีการติดต่อกับชุมชนโบราณร่วมสมัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสักด้วย ระยะที่ 2 อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากบริเวณภาคกลางประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ วัฒนธรรมสมัยทวารวดี ได้เข้ามามีอิทธิพลด้านต่าง ๆ ต่อพัฒนาการของชุมชน
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีเมืองเสมา ไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับชุมชน โบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลและในภูมิภาคอื่น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมสมัย ทวารวดีในช่วงเวลานี้เช่นกัน (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 15) ส่วนในระยะที่ 3 อิทธิพลทาง วัฒนธรรมจากภูมิภาคเดียวกันได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชุมชนโบราณที่แหล่งโบราณคดี เมืองเสมาคืออิทธิพลวัฒนธรรมร่วมแบบเขมร (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16 – 18) ซึ่งเป็นช่วง ที่อิทธิพลวัฒนธรรมร่วมแบบเขมรได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชุมชนโบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล และชุมชนโบราณในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งชุมชนโบราณในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยด้วย
โบราณวัตถุที่พบบริเวณเมืองเสมา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณ ในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล โดยทำการศึกษาแหล่งโบราณคดีเมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัด นครราชสีมา เพื่อทราบถึงพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และศึกษาถึงความสัมพันธ์ของชุมชนโบราณแห่งนี้กับ ชุมชนโบราณร่วมสมัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล และชุมชนโบราณร่วมสมัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยา ลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสัก และชุมชนโบราณในภูมิภาคใกล้เคียง ทำการศึกษา เปรียบเทียบ วิเคราะห์ ตีความ ข้อมูลหลักฐานทุกประเภท ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งภาชนะดินเผา ที่ได้จากการสำรวจ การขุดแต่ง และการขุดค้น ทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีเมืองเสมา และแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำ มูลที่ได้มีการศึกษาไว้แล้วประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจชุมชนโบราณในบริเวณ ลุ่มแม่น้ำมูลเพิ่มเติม
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนโบราณที่แหล่งโบราณคดีเมืองเสมาปรากฏร่องรอยการ อยู่อาศัย 3 ระยะด้วยกันคือ ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 10 – 11) โดยเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับชุมชนสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติ ศาสตร์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล โดยเฉพาะชุมชนโบราณในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและ ตอนกลาง และยังได้มีการติดต่อกับชุมชนโบราณร่วมสมัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสักด้วย ระยะที่ 2 อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากบริเวณภาคกลางประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ วัฒนธรรมสมัยทวารวดี ได้เข้ามามีอิทธิพลด้านต่าง ๆ ต่อพัฒนาการของชุมชน
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีเมืองเสมา ไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับชุมชน โบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลและในภูมิภาคอื่น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมสมัย ทวารวดีในช่วงเวลานี้เช่นกัน (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 15) ส่วนในระยะที่ 3 อิทธิพลทาง วัฒนธรรมจากภูมิภาคเดียวกันได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชุมชนโบราณที่แหล่งโบราณคดี เมืองเสมาคืออิทธิพลวัฒนธรรมร่วมแบบเขมร (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16 – 18) ซึ่งเป็นช่วง ที่อิทธิพลวัฒนธรรมร่วมแบบเขมรได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชุมชนโบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล และชุมชนโบราณในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งชุมชนโบราณในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยด้วย
โบราณวัตถุที่พบบริเวณเมืองเสมา