ชื่อผู้แต่ง | ตรงใจ หุตางกูร |
วารสาร/นิตยสาร | บทความออนไลน์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร |
เดือน | กุมภาพันธ์ |
ปี | 2567 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | ฟูนัน, แผนที่, ปโตเลมี |
หมายเหตุ | <p>ใช้การเปรียบเทียบภูมินามตามหลักสัทศาสตร์ในการทำความเข้าใจตำแหน่งของสถานที่หรืออาณาจักรต่าง ๆ เพื่อหาตำแหน่งของฟูนันในแผนที่ปโตเลมี</p> |
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของเอเชียอาคเนย์ (Protohistory of Southeast Asia) ควรมีอายุอยู่ในศตวรรษที่ 1-5 (ค.ศ. 1- 500 / ราว พ.ศ. 550-1050) ด้วยการเริ่มต้นของรัฐฟูนัน (ภาพที่ 9) ที่ขณะนี้ เราได้ร่องรอยการเริ่มต้นของรัฐฟูนันในฐานะ “เมืองแม่” ของภูมิภาคบริเวณแหลมก่าเมา-แม่น้ำโขงตอนปลายว่า ควรเริ่มต้นขึ้นอย่างน้อยตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ดังปรากฏหลักฐานชื่อเมืองที่เรียกว่า บาโลงกะ แมโตรโปลิส (Balonga Metropolis) อยู่บนแผนที่ปโตเลมีส่วนที่ว่าด้วย “อินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคา” การปรากฏคำเรียกเมืองบาโลงกะว่า “Metropolis” ย่อมแสดงให้เห็นรัฏฐาธิปัตย์ของบาโลงกะในศตวรรษที่ 2 เป็นไปในทำนองเดียวกับการปรากฏรัฏฐาธิปัตย์ของฟูนันในเอกสารจีนสมัยสามก๊กช่วงศตวรรษที่ 3 ทั้งนี้ ประกอบกับความเป็นไปได้ในการย้ายเสียงทางสัทศาสตร์ระหว่างชื่อ “บาโลงกะ” (Βαλόγγα) กับ “ฟูนัน” (扶南) ก็แสดงนัยยะว่า มาจากชื่อเดียวกันจากภาษาเขมรยุคเก่าสมัยก่อนเมืองพระนคร (Pre-Angkorian Old Khmer) นั่นคือคำว่า “วฺนํ” (vnaṃ)
“แหลมก่าเมา” (หรือ แหลมญวน) ตรงกับ “แหลมใหญ่” ของปโตเลมี และ “แหล่งโบราณคดีอ๊อกแอว” ที่อยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามนั้น มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ตรงกับ “เมืองศาไบ” ของปโตเลมี ทั้งนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่แหล่งโบราณคดีอ๊อกแอวจะตรงกับเมืองกัตติการะของ ปโตเลมี เพราะว่าหลังจากปรับแก้ “การให้ทิศทางผิด” สำหรับการไปกัตติการะของปโตเลมีแล้ว โดยผมขอเรียกความคลาดเคลื่อนนี้ว่า “ความคลาดเคลื่อน 180 องศาของปโตเลมี” (Ptolemy’s 180 degree-misdirection) เราก็จะพบว่า เมืองกัตติการะต้องอยู่บริเวณอ่าวเกาหลี และอาจอยู่บริเวณปากแม่น้ำแทดง (Taedong River) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในปกครองของประเทศเกาหลีเหนือ
แผนที่โบราณ, ตำราเปรียบเทียบภูมินาม และเอกสารชั้นรองอื่น ๆ
ใช้การเปรียบเทียบภูมินามตามหลักสัทศาสตร์ในการทำความเข้าใจตำแหน่งของสถานที่หรืออาณาจักรต่าง ๆ เพื่อหาตำแหน่งของฟูนันในแผนที่ปโตเลมี
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของเอเชียอาคเนย์ (Protohistory of Southeast Asia) ควรมีอายุอยู่ในศตวรรษที่ 1-5 (ค.ศ. 1- 500 / ราว พ.ศ. 550-1050) ด้วยการเริ่มต้นของรัฐฟูนัน (ภาพที่ 9) ที่ขณะนี้ เราได้ร่องรอยการเริ่มต้นของรัฐฟูนันในฐานะ “เมืองแม่” ของภูมิภาคบริเวณแหลมก่าเมา-แม่น้ำโขงตอนปลายว่า ควรเริ่มต้นขึ้นอย่างน้อยตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ดังปรากฏหลักฐานชื่อเมืองที่เรียกว่า บาโลงกะ แมโตรโปลิส (Balonga Metropolis) อยู่บนแผนที่ปโตเลมีส่วนที่ว่าด้วย “อินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคา” การปรากฏคำเรียกเมืองบาโลงกะว่า “Metropolis” ย่อมแสดงให้เห็นรัฏฐาธิปัตย์ของบาโลงกะในศตวรรษที่ 2 เป็นไปในทำนองเดียวกับการปรากฏรัฏฐาธิปัตย์ของฟูนันในเอกสารจีนสมัยสามก๊กช่วงศตวรรษที่ 3 ทั้งนี้ ประกอบกับความเป็นไปได้ในการย้ายเสียงทางสัทศาสตร์ระหว่างชื่อ “บาโลงกะ” (Βαλόγγα) กับ “ฟูนัน” (扶南) ก็แสดงนัยยะว่า มาจากชื่อเดียวกันจากภาษาเขมรยุคเก่าสมัยก่อนเมืองพระนคร (Pre-Angkorian Old Khmer) นั่นคือคำว่า “วฺนํ” (vnaṃ)
“แหลมก่าเมา” (หรือ แหลมญวน) ตรงกับ “แหลมใหญ่” ของปโตเลมี และ “แหล่งโบราณคดีอ๊อกแอว” ที่อยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามนั้น มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ตรงกับ “เมืองศาไบ” ของปโตเลมี ทั้งนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่แหล่งโบราณคดีอ๊อกแอวจะตรงกับเมืองกัตติการะของ ปโตเลมี เพราะว่าหลังจากปรับแก้ “การให้ทิศทางผิด” สำหรับการไปกัตติการะของปโตเลมีแล้ว โดยผมขอเรียกความคลาดเคลื่อนนี้ว่า “ความคลาดเคลื่อน 180 องศาของปโตเลมี” (Ptolemy’s 180 degree-misdirection) เราก็จะพบว่า เมืองกัตติการะต้องอยู่บริเวณอ่าวเกาหลี และอาจอยู่บริเวณปากแม่น้ำแทดง (Taedong River) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในปกครองของประเทศเกาหลีเหนือ
แผนที่โบราณ, ตำราเปรียบเทียบภูมินาม และเอกสารชั้นรองอื่น ๆ