หน้าแรก บทความ อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร)

อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร)

อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร)

ชื่อผู้แต่ง รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ
วารสาร/นิตยสาร สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์
เดือน ตุลาคม 2556- มีนาคม 2557
ปี 2557
ปีที่ 14
หน้าที่ 146-161
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

เขตพื้นที่คาบสมุทรสยามหรือคาบสมุทรสยามมลายูแต่เดิมเคยเป็นเขตอํานาจ การปกครองของเมืองใหญ่หรืออาณาจักรเก่าแก่ที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศึกษาได้ศึกษาเอาไว้มี 4 เมืองใหญ่หรืออาณาจักร คือ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชนคร (หรือศรีธรรมราชมหานครหรือเมือง 12 นักษัตร) กรณีอาณาจักรหลังสุดที่มีชื่อว่าเมือง 12 นักษัตร เพราะมีเมืองที่อยู่รวมกันปกครองจํานวน 12 เมือง ได้แก่ กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี สายบุรี ปัตตานี พัทลุง ตรัง บันทายสมอ (บันทายสมา) สระอุเลา ตะกั่วถลาง ชุมพร และกระบุรี มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครศรีธรรมราชปัจจุบัน เมืองทั้ง 12 เมืองนี้มีศูนย์รวมใจทําให้เกิดพลังเข้มแข็งเพราะมีพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นหลักยึดเหนี่ยวทางใจ แต่ละเมืองจะหมุนเวียนกันดูแลองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชและเขตพื้นที่รายรอบเมืองละปี มีการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปบูชาพระบรมธาตุฯ อย่างสม่ําเสมอ มิได้ขาดสิ่งนี้เป็นพลังสําคัญแห่งพระพุทธศาสนาทําให้ดินแดนไทยสยามภาคใต้โบราณมีความยึดโยงเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และเป็นรากฐานสําคัญในความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนา การศึกษา การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปะและวัฒนธรรม ดินแดนไทยภาคใต้หรือสยามไทยภาคใต้ ตามพรลิงค์ เป็นชื่อแรกที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีไม่ว่า โบราณวัตถุ โบราณสถาน ศิลาจารึก และเอกสารเก่าทั้งไทยและต่างประเทศ เมืองใหญ่หรืออาณาจักรนี้มีมาก่อน พ.ศ. 500 ด้วยปรากฏชื่อ ตัมลิงคัม(ตมฺมลิงคํ) ในคัมภีร์มหานิเทส อีกทั้งยังปรากฏชื่อในศิลาจารึกตันชอว์ของอินเดียใต้ ของชวาศรีลังกาด้วย อีกทั้งศิลาจารึกของไทยจารึกวัดมเหยงคณ์ จารึกวัดหัวเวียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบชื่อในเอกสารเก่าของของจีนเรียกชื่อว่า ตั้งหม่าหลิง หรือตันเหม่ยหลิว อีกด้วย ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันห่างกันประมาณ 300 ปีเศษ มีหลักฐานปรากฏเมืองลังกาสุกะ ในเขตแดนที่เป็นอําเภอยะรังและไทรบุรี (เคดะห์ในประเทศปัจจุบัน) เจ้าเมืองนับถือ พระพุทธศาสนาต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลักฐานปรากฏคือโบราณสถานยะรัง และโบราณสถานบูจังหรือบูจังวัลเลย์ (ในเคดะห์ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน) ทั้งสองเมืองหรือ สองอาณาจักรต้องยุติอํานาจการปกครองลงด้วยการเข้ามามีอํานาจการปกครองของศรีวิชัยราว พ.ศ. 1300 เศษ ศีวิชัยมีอํานาจการปกครองครอบคลุมทั้งคาบสมุทรสยามลายูหรือคาบสมุทรสยามคือประมาณเขตพื้นที่เพชรบุรีลงไปตลอดคาบสมุทรสยามถึงแหลมมลายู เกาะชวา ตลอดถึงเกาะในประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน และมีอิทธิพลในการปกครอง ในดินแดนกัมพูชาในปัจจุบันด้วย เพราะพระเจ้าสูริยวรมันที่ 1 ในพงศาวดารกัมพูชาบอกว่าเป็นโอรสแห่งศรีธรรมราช พระมารดาเชื้อสายศรีวิชัย ความยิ่งใหญ่ของศรีวิชัยจึงปกแผ่ไปทั่ว ดินแดนหลายประเทศในปัจจุบัน ด้วยความเจริญรุ่งเรืองด้านศาสนา การศึกษา การเมือง การปกครอง การค้าหรือเศรษฐกิจ และศิลปะและวัฒนธรรม ศรีวิชัยจึงเป็นอาณาจักรที่มีความพร้อมทุกอย่างและมีความร่ํารวย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ทําให้เป็นพื้นที่บั่นทอนทางการค้าและเศรษฐกิจของอินเดีย ราว พ.ศ. 1500 เศษ กองทัพกษัตริย์ราเชนทร์โจฬะอินเดียใต้ก็ ยกทัพเรือมาโจมตีเผาเมืองและขนสิ่งมีค่าไปมากมาย อาณาจักรศรีวิชัยก็ยุติอํานาจลง ต่อมีกลุ่มอํานาจใหม่เข้ามาปกครองตามหลักฐานปรากฏพระนามเจ้าเมืองว่าศรีธรรมาโศกราชเป็นเจ้าเมืองมีหลายพระองค์ ศิลาจารึกบางหลักมีว่าศรีธรรมาโศกราชเจ้าผู้ครองตามพรลิงค์ จึงทําให้อนุมานได้ว่าเชื้อสายตามพรลิงค์เก่าได้ขึ้นมามีอํานาจในการปกครองอีกครั้งหนึ่ง แต่หลักฐานเอกสารเก่าพบชื่อศรีธรรมราช ศรีธรรมราชมหานคร นครศรีธรรมราชกรุงศรีธรรมโศก และต่อมาในเอกสารเก่าบ้างเรียกว่าศรีธรรมราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) และ ศิริธรรมนคร (พงศาวดารโยนก) ศรีธรรมราชมหานคร หรือตามพรลิงค์รอบสองมีความ เจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ เป็นอย่างยิ่งไม่ว่า ศาสนา การศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง จนราว พ.ศ. 1900 ก็รวมเข้าเป็นดินแดนเดียวกันกับพระยาอู่ทอง ซึ่งปกครองอยู่บริเวณเหนือเพชรบุรีขึ้นไปวยความเจริญรุ่งเรืองที่ติดต่อกันมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 ถึง พ.ศ. 1900 ร่วม 1400 ปี ของ 4 เมืองหรือ 4 อาณาจักรในดินแดนไทยภาคใต้หรือไทยสยาม ดังกล่าว จึงทําให้ดินแดนนี้มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านต่างๆ อันเป็นพื้นฐานสําคัญในความเข้มแข็งของไทยสยามภาคใต้ และกลายเป็นอารยธรรมแดนใต้ถ่ายทอดถ่ายเทสู่รุ่นลูกหลาน เหลนสืบต่อมาจนปัจจุบัน

 

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ศรีวิชัย อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ เมืองสิบสองนักษัตร

จำนวนผู้เข้าชม

670

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

14 มี.ค. 2567

อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร)

  • อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร)
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ

    ชื่อบทความ :
    อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร)

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์

    เดือน
    เดือน :
    ตุลาคม 2556- มีนาคม 2557

    ปี :
    2557

    ปีที่ :
    14

    หน้าที่ :
    146-161

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    เขตพื้นที่คาบสมุทรสยามหรือคาบสมุทรสยามมลายูแต่เดิมเคยเป็นเขตอํานาจ การปกครองของเมืองใหญ่หรืออาณาจักรเก่าแก่ที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศึกษาได้ศึกษาเอาไว้มี 4 เมืองใหญ่หรืออาณาจักร คือ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชนคร (หรือศรีธรรมราชมหานครหรือเมือง 12 นักษัตร) กรณีอาณาจักรหลังสุดที่มีชื่อว่าเมือง 12 นักษัตร เพราะมีเมืองที่อยู่รวมกันปกครองจํานวน 12 เมือง ได้แก่ กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี สายบุรี ปัตตานี พัทลุง ตรัง บันทายสมอ (บันทายสมา) สระอุเลา ตะกั่วถลาง ชุมพร และกระบุรี มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครศรีธรรมราชปัจจุบัน เมืองทั้ง 12 เมืองนี้มีศูนย์รวมใจทําให้เกิดพลังเข้มแข็งเพราะมีพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นหลักยึดเหนี่ยวทางใจ แต่ละเมืองจะหมุนเวียนกันดูแลองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชและเขตพื้นที่รายรอบเมืองละปี มีการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปบูชาพระบรมธาตุฯ อย่างสม่ําเสมอ มิได้ขาดสิ่งนี้เป็นพลังสําคัญแห่งพระพุทธศาสนาทําให้ดินแดนไทยสยามภาคใต้โบราณมีความยึดโยงเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และเป็นรากฐานสําคัญในความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนา การศึกษา การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปะและวัฒนธรรม ดินแดนไทยภาคใต้หรือสยามไทยภาคใต้ ตามพรลิงค์ เป็นชื่อแรกที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีไม่ว่า โบราณวัตถุ โบราณสถาน ศิลาจารึก และเอกสารเก่าทั้งไทยและต่างประเทศ เมืองใหญ่หรืออาณาจักรนี้มีมาก่อน พ.ศ. 500 ด้วยปรากฏชื่อ ตัมลิงคัม(ตมฺมลิงคํ) ในคัมภีร์มหานิเทส อีกทั้งยังปรากฏชื่อในศิลาจารึกตันชอว์ของอินเดียใต้ ของชวาศรีลังกาด้วย อีกทั้งศิลาจารึกของไทยจารึกวัดมเหยงคณ์ จารึกวัดหัวเวียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบชื่อในเอกสารเก่าของของจีนเรียกชื่อว่า ตั้งหม่าหลิง หรือตันเหม่ยหลิว อีกด้วย ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันห่างกันประมาณ 300 ปีเศษ มีหลักฐานปรากฏเมืองลังกาสุกะ ในเขตแดนที่เป็นอําเภอยะรังและไทรบุรี (เคดะห์ในประเทศปัจจุบัน) เจ้าเมืองนับถือ พระพุทธศาสนาต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลักฐานปรากฏคือโบราณสถานยะรัง และโบราณสถานบูจังหรือบูจังวัลเลย์ (ในเคดะห์ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน) ทั้งสองเมืองหรือ สองอาณาจักรต้องยุติอํานาจการปกครองลงด้วยการเข้ามามีอํานาจการปกครองของศรีวิชัยราว พ.ศ. 1300 เศษ ศีวิชัยมีอํานาจการปกครองครอบคลุมทั้งคาบสมุทรสยามลายูหรือคาบสมุทรสยามคือประมาณเขตพื้นที่เพชรบุรีลงไปตลอดคาบสมุทรสยามถึงแหลมมลายู เกาะชวา ตลอดถึงเกาะในประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน และมีอิทธิพลในการปกครอง ในดินแดนกัมพูชาในปัจจุบันด้วย เพราะพระเจ้าสูริยวรมันที่ 1 ในพงศาวดารกัมพูชาบอกว่าเป็นโอรสแห่งศรีธรรมราช พระมารดาเชื้อสายศรีวิชัย ความยิ่งใหญ่ของศรีวิชัยจึงปกแผ่ไปทั่ว ดินแดนหลายประเทศในปัจจุบัน ด้วยความเจริญรุ่งเรืองด้านศาสนา การศึกษา การเมือง การปกครอง การค้าหรือเศรษฐกิจ และศิลปะและวัฒนธรรม ศรีวิชัยจึงเป็นอาณาจักรที่มีความพร้อมทุกอย่างและมีความร่ํารวย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ทําให้เป็นพื้นที่บั่นทอนทางการค้าและเศรษฐกิจของอินเดีย ราว พ.ศ. 1500 เศษ กองทัพกษัตริย์ราเชนทร์โจฬะอินเดียใต้ก็ ยกทัพเรือมาโจมตีเผาเมืองและขนสิ่งมีค่าไปมากมาย อาณาจักรศรีวิชัยก็ยุติอํานาจลง ต่อมีกลุ่มอํานาจใหม่เข้ามาปกครองตามหลักฐานปรากฏพระนามเจ้าเมืองว่าศรีธรรมาโศกราชเป็นเจ้าเมืองมีหลายพระองค์ ศิลาจารึกบางหลักมีว่าศรีธรรมาโศกราชเจ้าผู้ครองตามพรลิงค์ จึงทําให้อนุมานได้ว่าเชื้อสายตามพรลิงค์เก่าได้ขึ้นมามีอํานาจในการปกครองอีกครั้งหนึ่ง แต่หลักฐานเอกสารเก่าพบชื่อศรีธรรมราช ศรีธรรมราชมหานคร นครศรีธรรมราชกรุงศรีธรรมโศก และต่อมาในเอกสารเก่าบ้างเรียกว่าศรีธรรมราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) และ ศิริธรรมนคร (พงศาวดารโยนก) ศรีธรรมราชมหานคร หรือตามพรลิงค์รอบสองมีความ เจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ เป็นอย่างยิ่งไม่ว่า ศาสนา การศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง จนราว พ.ศ. 1900 ก็รวมเข้าเป็นดินแดนเดียวกันกับพระยาอู่ทอง ซึ่งปกครองอยู่บริเวณเหนือเพชรบุรีขึ้นไปวยความเจริญรุ่งเรืองที่ติดต่อกันมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 ถึง พ.ศ. 1900 ร่วม 1400 ปี ของ 4 เมืองหรือ 4 อาณาจักรในดินแดนไทยภาคใต้หรือไทยสยาม ดังกล่าว จึงทําให้ดินแดนนี้มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านต่างๆ อันเป็นพื้นฐานสําคัญในความเข้มแข็งของไทยสยามภาคใต้ และกลายเป็นอารยธรรมแดนใต้ถ่ายทอดถ่ายเทสู่รุ่นลูกหลาน เหลนสืบต่อมาจนปัจจุบัน

     

    หลักฐานสำคัญ

    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ศรีวิชัย อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ เมืองสิบสองนักษัตร

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 14 มี.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 670