ชื่อผู้แต่ง | ธัญลักษมณ์ อารยตานนท์, พระสุทธิสารเมธี, ผศ.ดร. |
วารสาร/นิตยสาร | รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 พ.ศ.2565 "พุทธศาสนาและปรัชญา : แนวคิด มุมมอง สู่สันติภาพ" |
ปี | 2565 |
หน้าที่ | 300-314 |
ภาษา | ไทย |
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนเส้นทางการค้าในดินแดนสุวรรณภูมิ ผลการวิจัยพบว่า ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ รวม 9 สาย ปรากฏว่าสายที่ 8 ที่ได้กล่าวถึงสุวรรณภูมิไว้อย่างชัดเจนโดยมีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นหัวหน้าไปประกาศศาสนา ซึ่งปัจจุบันได้แก่ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น ยุคของพระพุทธศาสนาที่พระโสณเถระและพระอุตตรเถระได้ไปประกาศในดินแดนสุวรรณภูมิ จัดเป็นยุคที่หนึ่งของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เรียกว่า ยุคเถรวาทแบบสมัยอโศก เนื่องจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 และได้ทรงอุปถัมภ์การส่งพระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่าง ๆ รวม 9 สายเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายในเส้นทางสายไหมนี้แล้วได้ก่อให้เกิดอารยธรรมพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สถาปัตยกรรม มีการสร้างเจดีย์ สถูป วิหาร กุฏิ ศาลา การขุดเจาะถ้ำตามภูเขา แล้วแกะสลักเป็นถ้ำที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ ประติมากรรม มีการสร้างพระพุทธรูปเพื่อมาเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าในรูปแบบต่าง ๆ ลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปก็มีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนชาติที่นับถือ จิตรกรรม มีการวาดภาพ พุทธประวัติ ชาดก เรื่องราวต่าง ๆ ในวิหาร ศาลา พระเจดีย์ และในถ้ำ และการจารึกคำสอนของ พระสัมมาสัม พุทธเจ้ามักจารึกด้วยใบลานเป็นหลักเพราะถือง่าย ต่อมาจึงมีการจารึกใส่แผ่นหิน เปลือกไม้ หรือแผ่นไม้จากนั้นมีการทำกระดาษขึ้นจึงนิยมเขียนใส่ในการะดาษด้วย
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนเส้นทางการค้าในดินแดนสุวรรณภูมิ ผลการวิจัยพบว่า ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ รวม 9 สาย ปรากฏว่าสายที่ 8 ที่ได้กล่าวถึงสุวรรณภูมิไว้อย่างชัดเจนโดยมีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นหัวหน้าไปประกาศศาสนา ซึ่งปัจจุบันได้แก่ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น ยุคของพระพุทธศาสนาที่พระโสณเถระและพระอุตตรเถระได้ไปประกาศในดินแดนสุวรรณภูมิ จัดเป็นยุคที่หนึ่งของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เรียกว่า ยุคเถรวาทแบบสมัยอโศก เนื่องจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 และได้ทรงอุปถัมภ์การส่งพระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่าง ๆ รวม 9 สายเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายในเส้นทางสายไหมนี้แล้วได้ก่อให้เกิดอารยธรรมพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สถาปัตยกรรม มีการสร้างเจดีย์ สถูป วิหาร กุฏิ ศาลา การขุดเจาะถ้ำตามภูเขา แล้วแกะสลักเป็นถ้ำที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ ประติมากรรม มีการสร้างพระพุทธรูปเพื่อมาเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าในรูปแบบต่าง ๆ ลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปก็มีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนชาติที่นับถือ จิตรกรรม มีการวาดภาพ พุทธประวัติ ชาดก เรื่องราวต่าง ๆ ในวิหาร ศาลา พระเจดีย์ และในถ้ำ และการจารึกคำสอนของ พระสัมมาสัม พุทธเจ้ามักจารึกด้วยใบลานเป็นหลักเพราะถือง่าย ต่อมาจึงมีการจารึกใส่แผ่นหิน เปลือกไม้ หรือแผ่นไม้จากนั้นมีการทำกระดาษขึ้นจึงนิยมเขียนใส่ในการะดาษด้วย