ชื่อผู้แต่ง | สุกัญญา เบาเนิด |
วารสาร/นิตยสาร | ศิลปากรสู่อาเซียน อาเซียนสู่สากล |
เดือน | มกราคม-กุมภาพันธ์ |
ปี | 2559 |
ปีที่ | 59 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 13-21 |
ภาษา | ไทย |
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในขณะนี้ สามารถสรุปได้ว่าแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอเป็นชุมชนโบราณที่มีการอยู่อาศัยของกลุ่มคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก อายุประมาณ ๒,๑๐๐ ปีมาแล้วชุมชนโบราณโนนหนองหอ
เป็นสังคมระดับหมู่บ้านเกษตรกรรม มีแบบแผนการดำรงชีพอย่างชัดเจน มีการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบเรียบง่าย
มีการทอผ้า และที่สำคัญมีความรู้ ความชำนาญด้านโลหกรรมขั้นสูง สามารถผลิตเครื่องมือเครื่องใช้สำริดและเหล็กได้เอง
ซึ่งมีรูปแบบสัมพันธ์กับวัฒนธรรมดงเชินในประเทศเวียดนาม และวัฒนธรรมเตียนในประเทศจีนตอนใต้ เช่นเทคนิคการหล่อกลองมโหระทึก กระบวยสำริดทรงน้ำเต้า รูปแบบเครื่องประดับที่นิยมตกแต่งเป็นลายเกลียวเชือก
สำหรับหลักฐานที่น่าสนใจของแหล่งโบราณคดีโนนหนองหออีกอย่างหนึ่งคือ แบบแผนพิธีกรรมศพซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ และวัฒนธรรมชาหวิญในประเทศเวียดนามตอนกลาง กล่าวคือนิยมการปลงศพในภาชนะ
ดินเผา มีการอุทิศเครื่องประดับทำจากหินมีค่า สิงห์คาร์เนเลี่ยน เครื่องประดับแก้ว วัตถุเหล่านี้น่าจะส่งผ่านมาจาก
กลุ่ม วัฒนธรรมชาหวีญ จากการพบหลักฐานการวางกระบวยสำริดเป็นเครื่องอุทิศอยู่บนภาชนะดินเผาบรรจุกระดูก
และการทำกลองมโหระทึกจำลองเพื่อใช้เป็นของอุทิศให้ผู้ตาย ทำให้มองเห็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมความเชื่อของ
กลุ่มชนที่นี่กับวัฒนธรรมดงเชินอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบพิธีกรรมการฝังศพ แบบนอนหงายเหยียดยาวรองด้วยเศษภาชนะดินเผา มีการวางสิ่งของอุทิศ เครื่องสำริด เครื่องแก้ว และ เครื่องประดับทำด้วยหินมีค่าให้กับศพเช่นเดียวกัน
จากนัยของวัตถุทางวัฒนธรรม และพิธีกรรมศพ ดังที่กล่าวมา ชี้ให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอเป็นชุมชนโบราณ
ที่มีความสำคัญ สามารถแลกรับปรับใช้ความหลากหลายจากกลุ่มวัฒนธรรมจากภายนอก กล่าวคือมีความสัมพันธ์กับกลุ่มวัฒนธรรมเตียนและ วัฒนธรรมดงเชิน ด้านโลหกรรม และสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้และวัฒนธรรมชาหวี่ญ
ด้านแบบแผนพิธีกรรมศพและสิ่งของอุทิศ เป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว จนกลายเป็นรูปแบบวัฒนธรรมเฉพาะที่พบอยู่ในอาณาบริเวณ พื้นที่มุกดาหาร - สะหวันนะเขต หรืออาจเรียกว่า กลุ่มวัฒนธรรม“มุกดาหาร-สะหวันนะเขต”
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในขณะนี้ สามารถสรุปได้ว่าแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอเป็นชุมชนโบราณที่มีการอยู่อาศัยของกลุ่มคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก อายุประมาณ ๒,๑๐๐ ปีมาแล้วชุมชนโบราณโนนหนองหอ
เป็นสังคมระดับหมู่บ้านเกษตรกรรม มีแบบแผนการดำรงชีพอย่างชัดเจน มีการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบเรียบง่าย
มีการทอผ้า และที่สำคัญมีความรู้ ความชำนาญด้านโลหกรรมขั้นสูง สามารถผลิตเครื่องมือเครื่องใช้สำริดและเหล็กได้เอง
ซึ่งมีรูปแบบสัมพันธ์กับวัฒนธรรมดงเชินในประเทศเวียดนาม และวัฒนธรรมเตียนในประเทศจีนตอนใต้ เช่นเทคนิคการหล่อกลองมโหระทึก กระบวยสำริดทรงน้ำเต้า รูปแบบเครื่องประดับที่นิยมตกแต่งเป็นลายเกลียวเชือก
สำหรับหลักฐานที่น่าสนใจของแหล่งโบราณคดีโนนหนองหออีกอย่างหนึ่งคือ แบบแผนพิธีกรรมศพซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ และวัฒนธรรมชาหวิญในประเทศเวียดนามตอนกลาง กล่าวคือนิยมการปลงศพในภาชนะ
ดินเผา มีการอุทิศเครื่องประดับทำจากหินมีค่า สิงห์คาร์เนเลี่ยน เครื่องประดับแก้ว วัตถุเหล่านี้น่าจะส่งผ่านมาจาก
กลุ่ม วัฒนธรรมชาหวีญ จากการพบหลักฐานการวางกระบวยสำริดเป็นเครื่องอุทิศอยู่บนภาชนะดินเผาบรรจุกระดูก
และการทำกลองมโหระทึกจำลองเพื่อใช้เป็นของอุทิศให้ผู้ตาย ทำให้มองเห็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมความเชื่อของ
กลุ่มชนที่นี่กับวัฒนธรรมดงเชินอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบพิธีกรรมการฝังศพ แบบนอนหงายเหยียดยาวรองด้วยเศษภาชนะดินเผา มีการวางสิ่งของอุทิศ เครื่องสำริด เครื่องแก้ว และ เครื่องประดับทำด้วยหินมีค่าให้กับศพเช่นเดียวกัน
จากนัยของวัตถุทางวัฒนธรรม และพิธีกรรมศพ ดังที่กล่าวมา ชี้ให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอเป็นชุมชนโบราณ
ที่มีความสำคัญ สามารถแลกรับปรับใช้ความหลากหลายจากกลุ่มวัฒนธรรมจากภายนอก กล่าวคือมีความสัมพันธ์กับกลุ่มวัฒนธรรมเตียนและ วัฒนธรรมดงเชิน ด้านโลหกรรม และสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้และวัฒนธรรมชาหวี่ญ
ด้านแบบแผนพิธีกรรมศพและสิ่งของอุทิศ เป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว จนกลายเป็นรูปแบบวัฒนธรรมเฉพาะที่พบอยู่ในอาณาบริเวณ พื้นที่มุกดาหาร - สะหวันนะเขต หรืออาจเรียกว่า กลุ่มวัฒนธรรม“มุกดาหาร-สะหวันนะเขต”
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ