บทความกล่างถึงท่าเรือและเมืองท่าที่สำคัญในรัฐโอริสาหรือแคว้นกลิงคะ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดียหรืออ่าวเบงกอล ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการค้าทางทะเลของอินเดียโบราณโดยเฉพาะกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงทำให้เกิดเมืองท่าและท่าเรือสำคัญในบริเวณดังกล่าวนี้ขึ้นมาหลายแห่ง โดยปรากฏทั้งในเอกสารหลายฉบับ และมีหลักฐานทางโบราณคดีที่หนาแน่น
เมืองท่าและท่าเรือดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนสินค้าและค้าขายที่สำคัญ แต่ยังเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและการเมืองที่สำคัญอีกด้วย โดยมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างมากมายเกิดขึ้นที่นี่ ซึ่งเมืองท่าในรัฐโอริสานั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Pattana เมืองท่าริมทะเลที่มีโกดังสินค้าไว้พร้อมทำการแลกเปลี่ยน และ Dronimukha เมืองท่าที่ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในบริเวณปากแม่น้ำ
ในบทความนี้มีการกล่าวถึงเมืองต่างๆ ดังนี้
- Tamralipti เป็นเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของรัฐโอริสาซึ่งทำการติดต่อค้าขายข้ามอ่าวเบงกอลกับแหลมมลายู ไปถึงบริเวณอินโดจีน อีกทั้งยังไปยังศรีลังกา และชายฝั่งแอฟริกาได้อีกด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลให้พระเจ้าอโศกนั้นยกทัพมาตีแคว้นกลิงคะ เนื่องจากต้องการควบคุมการค้าทางทะเล โดยพบการอ้างถึงเมืองนี้ในเอกสารทั้งในอินเดียและเอกสารต่างชาติหลายฉบับ เช่น มหาภารตะ จดหมายเหตุปโตเลมี บันทึกหลวงจีนฟาเหียน, หลวงจีนเหี้ยนจัง, หลวงจีนอี้จิง และภิกษุองค์อื่นๆ เป็นต้น ส่วนหลักฐานทาโบราณคดีที่พบนั้นส่วนมากเป็นโบราณวัตถุโรมัน
- Khalkattapatna เป็นเมืองสำคัญในสมัยแรกเริ่มยุคกลางของรัฐโอริสา โดยโบราณวัตถุที่พบมากคือเครื่องถ้วยจีนและอาหรับ อีกทั้งยังพบเครื่องถ้วยแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
- Che-li-ta-lo หรือ Manikpatna ปรากฏครั้งแรกในบันทึกของหลวงจีนเหี้ยนจัง ซึ่งเป็นท่าที่นักเดินเรือมักใช้แวะพักระหว่างเดินทาง โบราณวัตถุที่พบที่เมืองนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าเมืองท่านี้ทำการค้าขายกับหลายดินแดน โดยโบราณวัตถุชิ้นเด่นที่สำคัญนั้นมี Roman rouletted ware, Chinese celadon ware, Bermese’s Maratuan glazed ware และ Arab’s thin egg white glazed pottery อีกทั้งยังพบลูกปัดจากหลากหลายวัสดุ, เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ, เครื่องประดับ และโบราณวัตถุอีกหลายชนิด
- Palur หรือ Dantapura เป็นเมืองท่าสำคัญอีกเมือง ซึ่งปรากฏครั้งแรกในจดหมายเหตุปโตเลมี โบราณวัตถุที่พบที่เมืองนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าเมืองท่านี้ทำการค้าขายกับหลายดินแดนเช่นกัน อีกทั้งยังมีการส่งออกงาช้างอีกด้วย โดยเรื่องดังกล่าวได้ถูกกล่าวถึงไว้ใน the Periplus of the Erythraean Sea และบันทึกหลวงจีนเหี้ยนจัง
- Apheterion เป็นเมืองที่ถูกกล่าวถึงในจดหมายเหตุปโตเลมี ซึ่งมีการผูกการค้ากับหลายเมือง รวมถึง Chryse
- Dosarene ซึ่งปรากฏครั้งแรกใน the Periplus of the Erythraean Sea ซึ่งมีความสำคัญในการส่งออกช้างพันธุ์ดี
- Sonapur พบร่องรอยหอยนางรมซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในเวลานั้น
- Barua ปรากฏในจดหมายเหตุปโตเลมี
- Kalingapatnam พบรากฐานของอาคารหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองในขณะนั้น อีกทั้งยังมีการพบร่องรอยของสถูปที่เมืองนี้อีกด้วย จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้อาจมีฐานะเป็นเมืองหลวงในช่วง 200 BC อีกทั้งยังพบโบราณวัตถุโรมันเป็นจำนวนมาก
- Pithunda เป็นท่าเรือที่มีความสำคัญเช่นกัน มีการกล่าวถึงว่าเรือจากดินแดนจามปาได้ล่องมาถึงยังท่านี้