ชื่อผู้แต่ง | สุพิชฌาย จินดาวัฒนภูมิ |
วารสาร/นิตยสาร | งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม |
เดือน | กันยายน |
ปี | 2560 |
ภาษา | ภาษาไทย |
หัวเรื่อง | สัญลักษณ์มงคลแห่งความมั่งคั่งสมบูรณ์ ความเชื่อพ่อค้าและนักเดินทาง จากอินเดียสู่ดินแดนสุวรรรณภูมิ |
สุวรรณภูมิ เป็นดินแดนทอง ที่พ่อค้าและนักเดินทาง นิยมเดินทางเข้ามาเพื่อแสวงหาความมั่งคั่งทางการค้า จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สามารถสันนิษฐานได้ว่าบริเวณที่เป็นดินแดนสุวรรณภูมิ หมายถึงบริเวณดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยโบราณ ที่บรรดาพ่อค้า หรือนักเดินเรือชาวอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาค้าขาย บรรดาพ่อค้าและ นักเดินทางนิยมนําเครื่องราง หรือวัตถุมงคลติดตัวมา โดยมีความเชื่อว่าสิ่งที่นํามานั้นจะอํานวยซึ่งความมั่งคั่งในการค้า และ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยโภคทรัพย์ ความเชื่อของพ่อค้าชาวอินเดียนี้เอง เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นจากความศรัทธาทางศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นสิ่งที่พ่อค้าและนักเดินทางนําติดตัวมาจึงเป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับเทพเจ้าหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับเทพเจ้าทางศาสนา ได้แก่ กุเวร หรือชัมภล เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง และคชลักษมี เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งความเชื่อในสัญลักษณ์แห่ง ความมั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์ดังกล่าว ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้คนในดินแดนสุวรรณภูมิ รวมทั้งสัญลักษณ์แห่งความ อุดมสมบูรณ์อื่น ๆ ได้แก่กลาส หรือหม้อน้ํามนต์และสังข์ ดังที่ปรากฎในพิธีกรรมทางศาสนาของผู้คนในดินแดนแถบนี้
ชาวอินเดียเป็นชนชาติผู้เชี่ยวชาญในการเดินเรือและเป็นแม่แบบทาง วัฒนธรรมของดินแดนต่าง ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายยังดินแดนแห่งความ อุดมสมบูรณ์ที่ถูกขนานนามว่า สุวรรณภูมิ นั้น ถูกใช้เป็นชื่อเรียกดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่ระหว่างประเทศ อินเดียและประเทศจีน เป็นดินแดนแห่งอู่อารยธรรมยิ่งใหญ่ของเอเชีย มีหลักฐานการติดต่อค้าขายกันมาอย่างยาวนานโดยใช้เส้นทางบกและเส้นทางทะเล อีกทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็มีสินค้าที่เป็นที่ต้องการสําหรับชาวอินเดีย และเปอร์เซีย เช่นเครื่องเทศไม้หอมยางไม้หอมและทองคํา
สุวรรณภูมิ เป็นดินแดนทอง ที่พ่อค้าและนักเดินทาง นิยมเดินทางเข้ามาเพื่อแสวงหาความมั่งคั่งทางการค้า จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สามารถสันนิษฐานได้ว่าบริเวณที่เป็นดินแดนสุวรรณภูมิ หมายถึงบริเวณดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยโบราณ ที่บรรดาพ่อค้า หรือนักเดินเรือชาวอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาค้าขาย บรรดาพ่อค้าและ นักเดินทางนิยมนําเครื่องราง หรือวัตถุมงคลติดตัวมา โดยมีความเชื่อว่าสิ่งที่นํามานั้นจะอํานวยซึ่งความมั่งคั่งในการค้า และ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยโภคทรัพย์ ความเชื่อของพ่อค้าชาวอินเดียนี้เอง เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นจากความศรัทธาทางศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นสิ่งที่พ่อค้าและนักเดินทางนําติดตัวมาจึงเป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับเทพเจ้าหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับเทพเจ้าทางศาสนา ได้แก่ กุเวร หรือชัมภล เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง และคชลักษมี เทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งความเชื่อในสัญลักษณ์แห่ง ความมั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์ดังกล่าว ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้คนในดินแดนสุวรรณภูมิ รวมทั้งสัญลักษณ์แห่งความ อุดมสมบูรณ์อื่น ๆ ได้แก่กลาส หรือหม้อน้ํามนต์และสังข์ ดังที่ปรากฎในพิธีกรรมทางศาสนาของผู้คนในดินแดนแถบนี้
ชาวอินเดียเป็นชนชาติผู้เชี่ยวชาญในการเดินเรือและเป็นแม่แบบทาง วัฒนธรรมของดินแดนต่าง ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายยังดินแดนแห่งความ อุดมสมบูรณ์ที่ถูกขนานนามว่า สุวรรณภูมิ นั้น ถูกใช้เป็นชื่อเรียกดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่ระหว่างประเทศ อินเดียและประเทศจีน เป็นดินแดนแห่งอู่อารยธรรมยิ่งใหญ่ของเอเชีย มีหลักฐานการติดต่อค้าขายกันมาอย่างยาวนานโดยใช้เส้นทางบกและเส้นทางทะเล อีกทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็มีสินค้าที่เป็นที่ต้องการสําหรับชาวอินเดีย และเปอร์เซีย เช่นเครื่องเทศไม้หอมยางไม้หอมและทองคํา