ชื่อผู้แต่ง | WEI YANXIONG |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารศิลปกรรมบูรพา |
ปี | 2560 |
ปีที่ | 20 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 57-68 |
ภาษา | ไทย |
หมายเหตุ | <p>พัฒนามาจากดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ของตัวผู้เขียนในชื่อเดียวกัน (กลองมโหระทึก: มรดกทางวัฒนธรรมกลุ่มประเทศลุ่มน้ําโขง) ในเดือนสิงหาคม 2560</p> |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ คติสัญลักษณ์ ของกลองมโหระทึกในประเทศกลุ่มลุ่มน้ำโขง ที่ปรากฎตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) วิเคราะห์ถึงบทบาทของกลองมโหระทึกในวิถีชีวิตคนในสังคม เกษตรกรรมลุ่มน้ำโขง และ 3) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงบทบาท และสถานภาพของกลองมโหระทึกในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์สืบสาน และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้ดำรงอยู่สืบไป โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กลองมโหระทึก เป็นมรดกภูมิปัญญาที่สืบสานขับเคลื่อนเชื่อมโยงทางด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างภาคใต้ของประเทศจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลองมโหระทึก ได้แพร่กระจายอยู่ภาคใต้ของประเทศจีนและบรรดาประเทศ อาเซียน ได้แก่ ประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม บทบาทสำคัญคือการใช้ประกอบในพิธีกรรมตามความเชื่อที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ เกียรติยศ ความร่ำรวย ฐานันดร การใช้สำหรับส่งอาณัติสัญญาณในการระดมพล การสงคราม การแจ้งข่าว รวมถึงการใช้เป็นเครื่องดนตรีในงาน บันเทิงและงานประเพณีต่าง ๆ ด้วย ปัจจุบันแม้ว่ากลองมโหระทึก จะยังมีใช้อยู่ทั้งในงานพระราชพิธี ประเพณีสำคัญ รวมถึงการใช้ ในการประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ของหลายประเทศ ทว่าได้ลดบทบาทและความสำคัญลง ที่สำคัญยังคงอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหายอย่างมากทั้งในมิติของศิลปะรวมถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกลองมโหระทึกที่เกิดขึ้นทั่วไปในกลุ่ม ประเทศที่ทำการศึกษา ดังนั้นจึงควรมีการนำผลวิจัยนี้ไปใช้ เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ สืบทอด และฟื้นฟูวัฒนธรรม กลองมโหระทึกให้ดำรงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อไป
กลองมโหระทึกรูปแบบต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป
พัฒนามาจากดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ของตัวผู้เขียนในชื่อเดียวกัน (กลองมโหระทึก: มรดกทางวัฒนธรรมกลุ่มประเทศลุ่มน้ําโขง) ในเดือนสิงหาคม 2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ คติสัญลักษณ์ ของกลองมโหระทึกในประเทศกลุ่มลุ่มน้ำโขง ที่ปรากฎตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) วิเคราะห์ถึงบทบาทของกลองมโหระทึกในวิถีชีวิตคนในสังคม เกษตรกรรมลุ่มน้ำโขง และ 3) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงบทบาท และสถานภาพของกลองมโหระทึกในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์สืบสาน และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้ดำรงอยู่สืบไป โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กลองมโหระทึก เป็นมรดกภูมิปัญญาที่สืบสานขับเคลื่อนเชื่อมโยงทางด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างภาคใต้ของประเทศจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลองมโหระทึก ได้แพร่กระจายอยู่ภาคใต้ของประเทศจีนและบรรดาประเทศ อาเซียน ได้แก่ ประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม บทบาทสำคัญคือการใช้ประกอบในพิธีกรรมตามความเชื่อที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ เกียรติยศ ความร่ำรวย ฐานันดร การใช้สำหรับส่งอาณัติสัญญาณในการระดมพล การสงคราม การแจ้งข่าว รวมถึงการใช้เป็นเครื่องดนตรีในงาน บันเทิงและงานประเพณีต่าง ๆ ด้วย ปัจจุบันแม้ว่ากลองมโหระทึก จะยังมีใช้อยู่ทั้งในงานพระราชพิธี ประเพณีสำคัญ รวมถึงการใช้ ในการประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ของหลายประเทศ ทว่าได้ลดบทบาทและความสำคัญลง ที่สำคัญยังคงอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหายอย่างมากทั้งในมิติของศิลปะรวมถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกลองมโหระทึกที่เกิดขึ้นทั่วไปในกลุ่ม ประเทศที่ทำการศึกษา ดังนั้นจึงควรมีการนำผลวิจัยนี้ไปใช้ เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ สืบทอด และฟื้นฟูวัฒนธรรม กลองมโหระทึกให้ดำรงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อไป
กลองมโหระทึกรูปแบบต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป