ชื่อผู้แต่ง | สยาม ภัทรานุประวัติ และนาวิน โบษกรนัฏ |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
เดือน | กรกฎาคม - ธันวาคม |
ปี | 2563 |
ปีที่ | 20 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 53-81 |
ภาษา | ไทย |
มุมมองสำคัญที่ชาวอินเดียมีต่อสุวรรณภูมิ จากการรับรู้มาอย่างยาวนาน ผ่านวรรณคดีสันสกฤตประเภทนิทานที่เขียนขึ้นในอินเดีย และเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นชัดถึงดินแดนสุวรรณภูมิ โดยจะอภิปรายหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้ผ่านการแปลจากสันสกฤตเป็นไทย พร้อมทั้งวิเคราะห์บริบทของเรื่องเหล่านั้นจากนิทานสันสกฤต 11 เรื่องที่อ้างถึงสุวรรณภูมิและสุวรรณทวีป อันได้แก่ เรื่องสุปารคชาดกในชาดกมาลา เรื่องสานุทาสและพ่อค้าสองคนในพฤหัตกถาโศลกสังครหะ เรื่องเจ้าหญิงสองพระองค์ นางอนงค์ประภา พระราชารัตนาธิบดี พราหมณ์จันทรสวามิน พ่อค้าจักระ พ่อค้ารุทระและสมุทรศูร เรื่องอีศวรวรรมันและเรื่องทีรฆทรรศินในกถาสริตสาคร ซึ่งนิทานสันสกฤตจะชี้ให้เห็นว่าเรื่องสุวรรณภูมิในนิทานเหล่านี้ แสดงร่องรอยของพุทธศาสนาที่เคยรุ่งเรืองในอินเดียเหนือทําให้เรื่องสุวรรณภูมิปรากฏในนิทานสันสกฤตซึ่งเป็นของศาสนาฮินดูซึ่งแพร่หลายในอินเดียเหนือด้วยโลกทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับสุวรรณภูมิ โดยในนิทานสันสกฤตแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นสําคัญได้แก่สุวรรณภูมิในฐานะดินแดนอันตรายแต่มั่งคั่ง และสุวรรณภูมิในฐานะดินแดนมหัศจรรย์
มุมมองสำคัญที่ชาวอินเดียมีต่อสุวรรณภูมิ จากการรับรู้มาอย่างยาวนาน ผ่านวรรณคดีสันสกฤตประเภทนิทานที่เขียนขึ้นในอินเดีย และเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นชัดถึงดินแดนสุวรรณภูมิ โดยจะอภิปรายหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้ผ่านการแปลจากสันสกฤตเป็นไทย พร้อมทั้งวิเคราะห์บริบทของเรื่องเหล่านั้นจากนิทานสันสกฤต 11 เรื่องที่อ้างถึงสุวรรณภูมิและสุวรรณทวีป อันได้แก่ เรื่องสุปารคชาดกในชาดกมาลา เรื่องสานุทาสและพ่อค้าสองคนในพฤหัตกถาโศลกสังครหะ เรื่องเจ้าหญิงสองพระองค์ นางอนงค์ประภา พระราชารัตนาธิบดี พราหมณ์จันทรสวามิน พ่อค้าจักระ พ่อค้ารุทระและสมุทรศูร เรื่องอีศวรวรรมันและเรื่องทีรฆทรรศินในกถาสริตสาคร ซึ่งนิทานสันสกฤตจะชี้ให้เห็นว่าเรื่องสุวรรณภูมิในนิทานเหล่านี้ แสดงร่องรอยของพุทธศาสนาที่เคยรุ่งเรืองในอินเดียเหนือทําให้เรื่องสุวรรณภูมิปรากฏในนิทานสันสกฤตซึ่งเป็นของศาสนาฮินดูซึ่งแพร่หลายในอินเดียเหนือด้วยโลกทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับสุวรรณภูมิ โดยในนิทานสันสกฤตแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นสําคัญได้แก่สุวรรณภูมิในฐานะดินแดนอันตรายแต่มั่งคั่ง และสุวรรณภูมิในฐานะดินแดนมหัศจรรย์