ชื่อผู้แต่ง | พระครูโสภณวีรานุวัตร และคณะ |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ |
เดือน | มกราคม - มิถุนายน |
ปี | 2564 |
ปีที่ | 8 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 1 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา |
เมืองอู่ทอง น่าจะมีบทบาทเป็นเมืองหลวงหรือศูนย์กลางของรัฐทวารวดีในยุคแรก รวมพุทธศตวรรษที่ 9-13 (ผาสุข อินทราวุธ, 2542) สำหรับเมืองอู่ทองนั้นนักโบราณคดีได้พบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ตั้งแต่สมัยยุคเหล็กตอนปลายของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 3-5) (ชิน อยู่ดี, 2509: 43-50) และมีบทบาทเด่นชัดมากในสมัยอินโด-โรมันของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และที่เมืองอู่ทองนี้เอง ที่พ่อค้าชาวพุทธจากลุ่มแม่น้้ากฤษณา ได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และตั้งถิ่นฐานในช่วงสมัยอินโด-โรมัน และได้น้าเอาพุทธศาสนาจากศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียใต้ ที่อยู่ใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษที่ 4-8) และสืบต่อด้วยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธศตวรรษที่ 8-10) ซึ่งมีศูนย์กลางงานศิลปกรรมเนื่องในศาสนาอยู่ที่เมืองอมราวดีและเมืองนาคารชุนโกณฑะเข้ามาเผยแพร่ให้ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทอง ดังได้พบประติมากรรม ดินเผารูปพุทธสาวก 3 องค์ ถือบาตร ห่มจีวร ห่มคลุม ตามแบบนิยมของศิลปะแบบอมราวดี และประติมากรรมปูนปั้นรูปพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งประทับนั่งขัดพระบาทหลวมๆ ตามแบบศิลปะแบบอมราวดี (Boisselier, J. Murthy, K. K. 1977: 1-10)
เมืองอู่ทอง น่าจะมีบทบาทเป็นเมืองหลวงหรือศูนย์กลางของรัฐทวารวดีในยุคแรก รวมพุทธศตวรรษที่ 9-13 (ผาสุข อินทราวุธ, 2542) สำหรับเมืองอู่ทองนั้นนักโบราณคดีได้พบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ตั้งแต่สมัยยุคเหล็กตอนปลายของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 3-5) (ชิน อยู่ดี, 2509: 43-50) และมีบทบาทเด่นชัดมากในสมัยอินโด-โรมันของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และที่เมืองอู่ทองนี้เอง ที่พ่อค้าชาวพุทธจากลุ่มแม่น้้ากฤษณา ได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และตั้งถิ่นฐานในช่วงสมัยอินโด-โรมัน และได้น้าเอาพุทธศาสนาจากศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียใต้ ที่อยู่ใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษที่ 4-8) และสืบต่อด้วยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธศตวรรษที่ 8-10) ซึ่งมีศูนย์กลางงานศิลปกรรมเนื่องในศาสนาอยู่ที่เมืองอมราวดีและเมืองนาคารชุนโกณฑะเข้ามาเผยแพร่ให้ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทอง ดังได้พบประติมากรรม ดินเผารูปพุทธสาวก 3 องค์ ถือบาตร ห่มจีวร ห่มคลุม ตามแบบนิยมของศิลปะแบบอมราวดี และประติมากรรมปูนปั้นรูปพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งประทับนั่งขัดพระบาทหลวมๆ ตามแบบศิลปะแบบอมราวดี (Boisselier, J. Murthy, K. K. 1977: 1-10)