ชื่อผู้แต่ง | พระครูโสภณวีรานุวัตร, พระครูวิบูลเจติยานุรักษ์, พระมหานพรักษ์ นาเมือง, พระครูใบฏีกาศักดิ์ดนัย, เอกมงคล โกศล เพ็ชรวงษ์ |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช |
เดือน | มกราคม - มิถุนายน |
ปี | 2563 |
ปีที่ | 33 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 106-122 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | การศึกษาประวัติศาสตร์, เมืองอู่ทอง, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การเข้ามาของพระพุทธศาสนาในเมืองอู่ทอง
2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาสู่เมืองอู่ทอง
3) เพื่อศึกษาร่องรอยทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี(อู่ทอง)จากหลักฐานทางศิลปกรรม
ผลจากการศึกษาพบว่า
1) พระพุทธศาสนาได้แพร่กระจายเข้าสู่ดินแดนทวารวดี (อู่ทอง) ตามเอกสารปัจจุบันเชื่อได้ว่า เข้ามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 แต่ตามหลักฐานโบราณคดี ทั้งประติมากรรม สถาปัตยกรรมและจารึกพบว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษที่ 8-10 ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพิธีกรรมอันดีงาม ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตรงบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งรุ่งเรืองมากอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 มีเอกลักษณ์ด้านศิลปะเป็นของตนเองในชื่อ “ศิลปะทวารวดี” มีศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง
2) อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายไปสู่เมืองอู่ทองและอื่นๆนั้น ได้ทิ้งร่องรอยไว้ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม คือ ซากสถูป ธรรมจักรศิลา พระเจดีย์ พระพิมพ์ พระพุทธรูป ตลอดจนหลักฐานจารึกเกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สำคัญและเป็นที่แพร่หลายในสมัยอู่ทอง จารึกคาถา เย ธมฺมา และ
3) หัวใจพระพุทธศาสนา อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาทล้วนแต่เป็นสิ่งที่ยืนยันร่องรอยต่าง ๆ ยังชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ศรัทธา ปัญญา ตลอดจนความเข้าใจในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธได้เป็นอย่างดี
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การเข้ามาของพระพุทธศาสนาในเมืองอู่ทอง
2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาสู่เมืองอู่ทอง
3) เพื่อศึกษาร่องรอยทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี(อู่ทอง)จากหลักฐานทางศิลปกรรม
ผลจากการศึกษาพบว่า
1) พระพุทธศาสนาได้แพร่กระจายเข้าสู่ดินแดนทวารวดี (อู่ทอง) ตามเอกสารปัจจุบันเชื่อได้ว่า เข้ามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 แต่ตามหลักฐานโบราณคดี ทั้งประติมากรรม สถาปัตยกรรมและจารึกพบว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษที่ 8-10 ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพิธีกรรมอันดีงาม ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตรงบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งรุ่งเรืองมากอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 มีเอกลักษณ์ด้านศิลปะเป็นของตนเองในชื่อ “ศิลปะทวารวดี” มีศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง
2) อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายไปสู่เมืองอู่ทองและอื่นๆนั้น ได้ทิ้งร่องรอยไว้ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม คือ ซากสถูป ธรรมจักรศิลา พระเจดีย์ พระพิมพ์ พระพุทธรูป ตลอดจนหลักฐานจารึกเกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สำคัญและเป็นที่แพร่หลายในสมัยอู่ทอง จารึกคาถา เย ธมฺมา และ
3) หัวใจพระพุทธศาสนา อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาทล้วนแต่เป็นสิ่งที่ยืนยันร่องรอยต่าง ๆ ยังชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ศรัทธา ปัญญา ตลอดจนความเข้าใจในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธได้เป็นอย่างดี