หน้าแรก บทความ สุวรรณภูมิในพิพิธภัณฑ์ของอาเซียน: การเมืองในห้องจัดแสดง

สุวรรณภูมิในพิพิธภัณฑ์ของอาเซียน: การเมืองในห้องจัดแสดง

สุวรรณภูมิในพิพิธภัณฑ์ของอาเซียน: การเมืองในห้องจัดแสดง

ชื่อผู้แต่ง อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล
วารสาร/นิตยสาร 25 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
หน้าที่ 50-69
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

‘สุวรรณภูมิ’ เป็นประเด็นความสนใจในหมู่นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ทํางานในยุคต้นประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุผลที่ว่ามีการอ้างจากเอกสารโบราณหลายชิ้นถึงชุมชน โบราณที่มีบทบาทสําคัญด้านการค้าตามที่ผาสุข อินทราวุธ สรุปไว้ว่า “...เมืองท่า หรือศูนย์กลางการค้า โบราณที่มีบทบาทในด้านการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ตั้งแต่ช่วงสมัยราชวงศ์โมริยะ (พุทธศตวรรษที่ 3-4 หรือประมาณ 200-100 ปีก่อนคริสตกาล-ผู้ขียน) เป็นต้นมา และที่เมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าดังกล่าวเหล่านั้นบางแห่งได้เติบโตและเจริญรุ่งเรืองจนกลายเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาที่สําคัญในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (ผาสุข อินทราวุธ 2542: 154) และพื้นที่ที่อยู่ในความสนใจของนักวิชาการ และสันนิษฐานกันว่าอาจเป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิน้ัน ได้แก่ คาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา (รวมไปถึงหมู่ เกาะของอนิ โดนเี ซยี ) ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย (โดยเฉพาะเขต จ.นครปฐม และสุพรรณบุรี) ทางตอนใต้ของประเทศพม่า (บริเวณเมืองมอญ) และบริเวณ ปากแม่น้ำโขง 

บทความชิ้นนี้เริ่มต้นด้วยการต้ังคำถามว่าสุวรรณภูมินั้นปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร แต่เมื่อสํารวจในเบื้องต้นกลับพบว่าประเด็นข้อถกเถียงเกี่ยวกับสุวรรณภูมิในแวดวงวิชาการโบราณคดีและประวัติศาสตร์นั้นแทบจะไม่ปรากฏ อยู่ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศไทยเลย ท้ังๆ ที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ในการเล่าเรื่องความเป็นมาของชาติ รวมไปถึงความภาคภูมิใจที่รัฐบาล/ผู้ปกครองต้องการบอกเล่าต่อผู้มาเยือน (visitor) ผู้เขียนมองว่าเหตุผลสําคัญน้ันอยู่ที่นโยบายทางด้านวัฒนธรรมของชาติมีส่วนสําคัญ ต่อการกําหนดนโยบายและโครงเรื่องที่ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์ บทความชิ้นนี้ผู้เขียนมุ่งสํารวจพิพิธภัณฑ์ แห่งชาติในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และไทย เป็นหลัก ในท้ายที่สุดสุวรรณภูมิที่เป็นคําถามแรกเริ่มกลับไม่ใช่เนื้อหาที่บทความชิ้นนี้ต้องการนําเสนอ หากแต่ได้ขยายไปสู่ประเด็นชวนคิดเกี่ยวกับ การเมืองในห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติในแต่ละประเทศ ข้อจํากัดสําคัญของงานคือผู้เขียนไม่สามารถเดินทางไปเก็บข้อมูลจริงได้ในหลายๆ พิพิธภัณฑ์คือ พิพิธภัณฑ์ในอินโดนีเซียและพม่า ส่วนใหญ่จึงเป็นการ ทบทวนจากเอกสารที่แสดงรายละเอียดของพิพิธภัณฑ์ แต่ละแห่ง ซึ่งก็ทําให้เกิดข้อจํากัดอีกข้อตามมาคือรายละเอียดของห้องจัดแสดงก็จะอาจจะไม่ร่วมสมัย (อาจเป็นห้องจัดแสดงที่ย้อนไปเมื่อประมาณ 6-8 ปีก่อน)

ห้องสมุดแนะนำ

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

สุพรรณบุรี สุวรรณภูมิ อาเซียน พิพิธภัณฑ์ อินโดนีเซีย มอญ

จำนวนผู้เข้าชม

70

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

20 ม.ค. 2567

สุวรรณภูมิในพิพิธภัณฑ์ของอาเซียน: การเมืองในห้องจัดแสดง

  • สุวรรณภูมิในพิพิธภัณฑ์ของอาเซียน: การเมืองในห้องจัดแสดง
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล

    ชื่อบทความ :
    สุวรรณภูมิในพิพิธภัณฑ์ของอาเซียน: การเมืองในห้องจัดแสดง

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    25 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    หน้าที่ :
    50-69

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    ‘สุวรรณภูมิ’ เป็นประเด็นความสนใจในหมู่นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ทํางานในยุคต้นประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุผลที่ว่ามีการอ้างจากเอกสารโบราณหลายชิ้นถึงชุมชน โบราณที่มีบทบาทสําคัญด้านการค้าตามที่ผาสุข อินทราวุธ สรุปไว้ว่า “...เมืองท่า หรือศูนย์กลางการค้า โบราณที่มีบทบาทในด้านการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ตั้งแต่ช่วงสมัยราชวงศ์โมริยะ (พุทธศตวรรษที่ 3-4 หรือประมาณ 200-100 ปีก่อนคริสตกาล-ผู้ขียน) เป็นต้นมา และที่เมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าดังกล่าวเหล่านั้นบางแห่งได้เติบโตและเจริญรุ่งเรืองจนกลายเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาที่สําคัญในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (ผาสุข อินทราวุธ 2542: 154) และพื้นที่ที่อยู่ในความสนใจของนักวิชาการ และสันนิษฐานกันว่าอาจเป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิน้ัน ได้แก่ คาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา (รวมไปถึงหมู่ เกาะของอนิ โดนเี ซยี ) ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย (โดยเฉพาะเขต จ.นครปฐม และสุพรรณบุรี) ทางตอนใต้ของประเทศพม่า (บริเวณเมืองมอญ) และบริเวณ ปากแม่น้ำโขง 

    บทความชิ้นนี้เริ่มต้นด้วยการต้ังคำถามว่าสุวรรณภูมินั้นปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร แต่เมื่อสํารวจในเบื้องต้นกลับพบว่าประเด็นข้อถกเถียงเกี่ยวกับสุวรรณภูมิในแวดวงวิชาการโบราณคดีและประวัติศาสตร์นั้นแทบจะไม่ปรากฏ อยู่ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศไทยเลย ท้ังๆ ที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ในการเล่าเรื่องความเป็นมาของชาติ รวมไปถึงความภาคภูมิใจที่รัฐบาล/ผู้ปกครองต้องการบอกเล่าต่อผู้มาเยือน (visitor) ผู้เขียนมองว่าเหตุผลสําคัญน้ันอยู่ที่นโยบายทางด้านวัฒนธรรมของชาติมีส่วนสําคัญ ต่อการกําหนดนโยบายและโครงเรื่องที่ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์ บทความชิ้นนี้ผู้เขียนมุ่งสํารวจพิพิธภัณฑ์ แห่งชาติในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และไทย เป็นหลัก ในท้ายที่สุดสุวรรณภูมิที่เป็นคําถามแรกเริ่มกลับไม่ใช่เนื้อหาที่บทความชิ้นนี้ต้องการนําเสนอ หากแต่ได้ขยายไปสู่ประเด็นชวนคิดเกี่ยวกับ การเมืองในห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติในแต่ละประเทศ ข้อจํากัดสําคัญของงานคือผู้เขียนไม่สามารถเดินทางไปเก็บข้อมูลจริงได้ในหลายๆ พิพิธภัณฑ์คือ พิพิธภัณฑ์ในอินโดนีเซียและพม่า ส่วนใหญ่จึงเป็นการ ทบทวนจากเอกสารที่แสดงรายละเอียดของพิพิธภัณฑ์ แต่ละแห่ง ซึ่งก็ทําให้เกิดข้อจํากัดอีกข้อตามมาคือรายละเอียดของห้องจัดแสดงก็จะอาจจะไม่ร่วมสมัย (อาจเป็นห้องจัดแสดงที่ย้อนไปเมื่อประมาณ 6-8 ปีก่อน)

    หลักฐานสำคัญ

    ห้องสมุดแนะนำ :
    ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    สุพรรณบุรี สุวรรณภูมิ อาเซียน พิพิธภัณฑ์ อินโดนีเซีย มอญ

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 20 ม.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 70