หน้าแรก บทความ โบราณวัตถุอันเป็นหลักฐานของสมัยทวารวดี และสุวรรณภูมิประเทศ

โบราณวัตถุอันเป็นหลักฐานของสมัยทวารวดี และสุวรรณภูมิประเทศ

โบราณวัตถุอันเป็นหลักฐานของสมัยทวารวดี และสุวรรณภูมิประเทศ

ชื่อผู้แต่ง หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์
วารสาร/นิตยสาร ศิลปากร
เดือน มกราคม
ปี 2507
ปีที่ 7
ฉบับที่ 5
หน้าที่ 38-53
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

รายงานข่าวการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในช่วงต้นทศวรรษ 2500 ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำคัญสำหรับศึกษาเรื่องราวของอาณาจักรทวารวดี และสุวรรณภูมิประเทศ เชื่อมโยงกับหนังสือมหาวงษ์ พงศาวดารลังกา ที่กล่าวถึงการส่งสมณทูตไปประกาศศาสนายังที่ต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอโศก มีสายที่แปด ที่ให้พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเดินทางมายังสุวรรณภูมิ อย่างไรก็ตาม ขณะนั้นยังไม่พบตำนานท้องถิ่นใดที่สอดคล้องกับเรื่องราวในมหาวงษ์ แต่พบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ร่วมสมัยกับสมัยพระเจ้าอโศกในประเทศแถบนี้ อธิบายต่อว่า สุวรรณภูมิเป็นพื้นที่ระหว่างอินเดียกับจีน หรือฝรั่งเรียกว่าอินโดจีน 

ในตำนานการเผยแผ่ศาสนาของพระสมณทูตที่สุวรรณภูมิระบุว่า เมื่อผู้คนได้ฟังก็เกิดเลื่อมใส จึงสันนิษฐานได้ว่าผู้ฟังน่าจะเป็นชาวอินเดียด้วยกันที่สื่อสารภาษากันได้ หรือไม่ก็เป็นชาวพื้นเมืองที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย อิทธิพลอินเดียเข้ามาในดินแดนก่อนสมณทูตจะเดินทางมานานแล้ว เห็นได้จาก ศาสนาพราหมณ์ นิติศาสตร์การเมืองการปกครอง ศิลปศาสตร์ การก่อสร้างเจดีย์ ภาษาสันสกฤต ภาษามคธ อักษรศาสตร์ ทั้งอักษรคฤนถ์ (คันถะ) ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้ในอินเดียใต้ และอักษรเทวนาครีที่ใช้กันในอินเดียเหนือหรือคันธาระ ตลอดจนการคมนาคมทั้งทางบกและทางทะเลที่มีร่องรอยการเชื่อมต่อระหว่างกัน

พงศาวดารพม่าระบุว่า สุวรรณภูมิ คือ เมืองทองทางฝ่ายใต้ หรือเมืองสะเทิม แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานทางโบราณคดียืนยัน มีแต่ของสมัยทวารวดีที่เมืองแปรซึ่งเหมือนกับที่นครปฐม อาจจะได้แบบจากนครปฐม 

จังหวัดนครปฐมเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย มีของโบราณทำตามคติพระเจ้าอโศกอยู่มาก เช่น สถูป ธรรมจักร รอยพระพุทธบาท และพระแท่น น่าเสียดายที่โบราณสถานเสียหายไปมากเมื่อคราวสร้างทางรถไฟสายใต้ เมื่อ พ.ศ. 2443 แต่ยังหลงเหลือสถูปโอคว่ำให้เห็นถึง 5 แห่ง คือ ที่พระปฐมเจดีย์องค์เดิม ที่วัดเขาพระงาม ที่วัดพระประโทน ที่เนินพระ ตำบลดอนยายหอม และที่วัดธรรมศาลา 

จดหมายเหตุจีนระบุว่า ทวารวดีเป็นอาณาจักรใหญ่อยู่ระหว่างอิศานบุรี (เมืองเขมร) กับศรีเกษตร (พม่า) รับวัฒนธรรมพุทธศาสนาจากอินเดียสมัยคุปตะ (ยุคทองของอินเดีย) หรือก็คือไทยเรานั่นเอง พระพุทธรูปยุคนี้พบมากในพื้นที่ประเทศไทย โดยเฉพาะนครปฐม ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าเป็นสุวรรณภูมิ 

เท่าที่กล่าวมาจะเห็นว่าสุวรรณภูมิและทวารวดี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามแผนที่ สมัยที่ติดต่อกับอินเดีย ชาวอินเดียเรียกว่า สุวรรณภูมิ ครั้งที่ติดต่อกับจีน จีนเรียกว่า ทวารวดี 

การค้นพบโบราณวัตถุที่คูบัว คือ ผอบรูปคล้ายส้มจุก ได้เชื่อมโยงให้เห็นความเป็นทวารวดีที่รับอิทธิพลจากอินเดีย แต่ยังคงมีข้อถกเถียงว่ารับมาโดยตรงจากอมราวดีหรือรับมาจากลังกา อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่ยืนยันว่ารับจากลังกา การขุดค้นต่อไปจะช่วยยืนยันได้ ฉะนั้น ในเวลานี้จึงยังยืนยันได้ว่าพระพุทธสาสนาได้มาถึงเมืองไทยตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งพระโสณและพระอุตตรมาประกาศศาสนาในสุวรรณภูมิประเทศ

หลักฐานสำคัญ

ของที่ขุดพบเป็นรูปบุคคล เช่น กษัตริย์ นักดนตรี คนแคระ รูปเทวดา ยักษ์ สิงห์ ลวดลายต่าง ๆ พระพักตร์พระพุทธรูป พระพุทธรูปเต็มองค์ทั้งแบบนั่งขัดสมาธิและนั่งห้อยพระบาท 

เจดีย์หมายเลข 1 ตำบลคูบัว ซึ่งขุดพบผอบบรรจะพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปหินชนวน 

เจดีย์หนองเกษตร หมายเลข 40 

ห้องสมุดแนะนำ

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ทวารวดี สุวรรณภูมิ คูบัว จังหวัดราชบุรี

ยุคสมัย

สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น

จำนวนผู้เข้าชม

573

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

12 ม.ค. 2567

โบราณวัตถุอันเป็นหลักฐานของสมัยทวารวดี และสุวรรณภูมิประเทศ

  • โบราณวัตถุอันเป็นหลักฐานของสมัยทวารวดี และสุวรรณภูมิประเทศ
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์

    ชื่อบทความ :
    โบราณวัตถุอันเป็นหลักฐานของสมัยทวารวดี และสุวรรณภูมิประเทศ

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ศิลปากร

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม

    ปี :
    2507

    ปีที่ :
    7

    ฉบับที่ :
    5

    หน้าที่ :
    38-53

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    รายงานข่าวการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในช่วงต้นทศวรรษ 2500 ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำคัญสำหรับศึกษาเรื่องราวของอาณาจักรทวารวดี และสุวรรณภูมิประเทศ เชื่อมโยงกับหนังสือมหาวงษ์ พงศาวดารลังกา ที่กล่าวถึงการส่งสมณทูตไปประกาศศาสนายังที่ต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอโศก มีสายที่แปด ที่ให้พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเดินทางมายังสุวรรณภูมิ อย่างไรก็ตาม ขณะนั้นยังไม่พบตำนานท้องถิ่นใดที่สอดคล้องกับเรื่องราวในมหาวงษ์ แต่พบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ร่วมสมัยกับสมัยพระเจ้าอโศกในประเทศแถบนี้ อธิบายต่อว่า สุวรรณภูมิเป็นพื้นที่ระหว่างอินเดียกับจีน หรือฝรั่งเรียกว่าอินโดจีน 

    ในตำนานการเผยแผ่ศาสนาของพระสมณทูตที่สุวรรณภูมิระบุว่า เมื่อผู้คนได้ฟังก็เกิดเลื่อมใส จึงสันนิษฐานได้ว่าผู้ฟังน่าจะเป็นชาวอินเดียด้วยกันที่สื่อสารภาษากันได้ หรือไม่ก็เป็นชาวพื้นเมืองที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย อิทธิพลอินเดียเข้ามาในดินแดนก่อนสมณทูตจะเดินทางมานานแล้ว เห็นได้จาก ศาสนาพราหมณ์ นิติศาสตร์การเมืองการปกครอง ศิลปศาสตร์ การก่อสร้างเจดีย์ ภาษาสันสกฤต ภาษามคธ อักษรศาสตร์ ทั้งอักษรคฤนถ์ (คันถะ) ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้ในอินเดียใต้ และอักษรเทวนาครีที่ใช้กันในอินเดียเหนือหรือคันธาระ ตลอดจนการคมนาคมทั้งทางบกและทางทะเลที่มีร่องรอยการเชื่อมต่อระหว่างกัน

    พงศาวดารพม่าระบุว่า สุวรรณภูมิ คือ เมืองทองทางฝ่ายใต้ หรือเมืองสะเทิม แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานทางโบราณคดียืนยัน มีแต่ของสมัยทวารวดีที่เมืองแปรซึ่งเหมือนกับที่นครปฐม อาจจะได้แบบจากนครปฐม 

    จังหวัดนครปฐมเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย มีของโบราณทำตามคติพระเจ้าอโศกอยู่มาก เช่น สถูป ธรรมจักร รอยพระพุทธบาท และพระแท่น น่าเสียดายที่โบราณสถานเสียหายไปมากเมื่อคราวสร้างทางรถไฟสายใต้ เมื่อ พ.ศ. 2443 แต่ยังหลงเหลือสถูปโอคว่ำให้เห็นถึง 5 แห่ง คือ ที่พระปฐมเจดีย์องค์เดิม ที่วัดเขาพระงาม ที่วัดพระประโทน ที่เนินพระ ตำบลดอนยายหอม และที่วัดธรรมศาลา 

    จดหมายเหตุจีนระบุว่า ทวารวดีเป็นอาณาจักรใหญ่อยู่ระหว่างอิศานบุรี (เมืองเขมร) กับศรีเกษตร (พม่า) รับวัฒนธรรมพุทธศาสนาจากอินเดียสมัยคุปตะ (ยุคทองของอินเดีย) หรือก็คือไทยเรานั่นเอง พระพุทธรูปยุคนี้พบมากในพื้นที่ประเทศไทย โดยเฉพาะนครปฐม ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าเป็นสุวรรณภูมิ 

    เท่าที่กล่าวมาจะเห็นว่าสุวรรณภูมิและทวารวดี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามแผนที่ สมัยที่ติดต่อกับอินเดีย ชาวอินเดียเรียกว่า สุวรรณภูมิ ครั้งที่ติดต่อกับจีน จีนเรียกว่า ทวารวดี 

    การค้นพบโบราณวัตถุที่คูบัว คือ ผอบรูปคล้ายส้มจุก ได้เชื่อมโยงให้เห็นความเป็นทวารวดีที่รับอิทธิพลจากอินเดีย แต่ยังคงมีข้อถกเถียงว่ารับมาโดยตรงจากอมราวดีหรือรับมาจากลังกา อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่ยืนยันว่ารับจากลังกา การขุดค้นต่อไปจะช่วยยืนยันได้ ฉะนั้น ในเวลานี้จึงยังยืนยันได้ว่าพระพุทธสาสนาได้มาถึงเมืองไทยตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งพระโสณและพระอุตตรมาประกาศศาสนาในสุวรรณภูมิประเทศ

    หลักฐานสำคัญ

    ของที่ขุดพบเป็นรูปบุคคล เช่น กษัตริย์ นักดนตรี คนแคระ รูปเทวดา ยักษ์ สิงห์ ลวดลายต่าง ๆ พระพักตร์พระพุทธรูป พระพุทธรูปเต็มองค์ทั้งแบบนั่งขัดสมาธิและนั่งห้อยพระบาท 

    เจดีย์หมายเลข 1 ตำบลคูบัว ซึ่งขุดพบผอบบรรจะพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปหินชนวน 

    เจดีย์หนองเกษตร หมายเลข 40 


    ห้องสมุดแนะนำ :
    หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ทวารวดี สุวรรณภูมิ คูบัว จังหวัดราชบุรี

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 12 ม.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 573