สถานที่พบ | เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
สถานที่จัดเก็บ | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร |
วัสดุ | ทองคำ |
ขนาด |
กว้าง : 22.07-25.8 มิลลิเมตร ยาว : 275-300 มิลลิเมตร |
อายุ | ระหว่าง ปี พ.ศ. 1100 ถึง 1700 |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองโบราณอู่ทอง ลูกปัดทองคำ จี้ทองคำ |
คำอธิบาย |
ลูกปัดทองคำพร้อมจี้ พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สันนิษฐานว่าเป็นการขุดพบโดยบังเอิญ ไม่ได้เกิดจากการขุดค้นทางโบราณคดี
การวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุในจี้ทองคำ (ชิ้นที่ประกอบอยู่กับสร้อยลูกปัดทองคำ) พบว่า ด้านหน้ามีสัดส่วนของธาตุ คือ ทองคำ 94.26% เงิน 4.77% และทองแดง 0.29% ด้านหลังมีสัดส่วนของธาตุ คือ ทองคำ 93.05% เงิน 5.39% และทองแดง 0.5%
ลูกปัดทองคำที่ร้อยรวมเป็นสร้อย มีลูกปัดทองคำ 9 แบบ เช่น ลูกปัดจากลวดทอง ลูกปัดที่ประกอบขึ้นจากเม็ดทองคำขนาดเล็ก ลูกปัดที่เป็นลวดลายจากแผ่นทองคำเคาะหุ้มแกนดิน
|
ข้อสังเกตอื่น ๆ | ลูกปัดทองคำ ที่มักถูกพบโดยบังเอิญ มักไม่ได้ถูกศึกษาหรือใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างควบคู่ไปกับการศึกษาลูกปัดที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้มีข้อมูลการศึกษาไม่มากนัก |
อ้างอิง/เผยแพร่ |
Bennett, A. (2017). U Thong City of Gold: The Ancient History. River Books. Bennett, A. & Watson, H. (2020). Defining Dvaravati. Silkworm Books. |