หน้าแรก แหล่งโบราณคดี ออบหลวง

ออบหลวง

ที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติออบหลวง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
พิกัด 18.224437 N, 98.482150 E
อายุสมัย ระหว่าง 1,500 ถึง 2,500 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ แม่แจ่ม
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ คาร์เนเลียน จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือหินขัด โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับที่ทำจากสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

414

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

6 ก.พ. 2566

ออบหลวง

team
  • อุทยานแห่งชาติออบหลวง
ชื่อแหล่ง : ออบหลวง
ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติออบหลวง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
พิกัด : 18.224437 N, 98.482150 E
อายุสมัย : ระหว่าง 1,500 ถึง 2,500 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่แจ่ม
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : คาร์เนเลียน จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือหินขัด โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับที่ทำจากสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน
ยุคสมัย : ยุคเหล็ก ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 6 ก.พ. 2566

- ค.ศ.1902 (พ.ศ.2445): ได้รับการสำรวจครั้งแรกโดยฟริทซ์ สารสิน นักโบราณคดีชาวสวิสเซอร์แลนด์ บริเวณโดยดอยช้าง ทำให้พบเครื่องมือหินกะเทาะจำนวนหนึ่ง

 

- ค.ศ.1984 (พ.ศ.2527): โดยกลุ่มของนักโบราณคดี กรมศิลปากร ได้แก่ พาสุข ดิษยเดช,สายันต์ ไพรชาญจิตร์, ประทีป เพ็งตะโก, สุวิทย์ ชัยมงคล, ระพีพรรณ เมืองดี, อรัญญา เมืองดี, ทนงศักดิ์ ชัยเรืองฤทธิ์ และ ยุพา เขียวธง ภายใต้โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ)

 

- ค.ศ.1985-1986 (พ.ศ.2528-2529): จึงได้มีการขุดค้นทางโบราณคดีโดยสายันต์ ไพรชาญจิตร์, มาริแอล ซังโตนี, ฌ็อง ปิแอร์ ปอโทร, ริชาร์ด เมดาว์ และสเตฟาน วาเช ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ประเทศฝรั่งเศส (Centre National de La Recherche Scientifique) โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาวิวัฒนาการของประชากรมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนเกษตรกรรมระยะต้นในสังคมนายพรานจนถึงสมัยโลหะในสังคมเกษตรกรรม ผลจากการสำรวจและขุดค้นพบแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง แต่ที่น่าสนใจคือแหล่งโบราณคดีบนลานตะพักสูงเหนือออบหลวง

     จากการขุดค้นทางโบราณคดีในปี 2528-2529 โดยสายันต์ ไพรชาญจิตร์, มาริแอล ซังโตนี, ฌ็อง ปิแอร์ ปอโทร, ริชาร์ด เมดาว์ และสเตฟาน วาเช ที่แหล่งโบราณคดีลานตะพักสูงเหนือออบหลวงได้พบโครงกระดูก 1 โครง เรียกว่า โครงกระดูกหมายเลข 1 โดยก่อนการขุดพบกระดูกพบว่า พื้นที่บริเวณนี้ถูกล้อมรอบด้วยหินขนาดใหญ่ ตรงกลางลานมีโขดหินขนาดย่อมอยู่แห่งหนึ่ง พบเครื่องมือหินขัดทั้งสมบูรณ์และแตกหัก และเศษภาชนะดินเผาจำนวนมาก ที่น่าสนใจคือบริเวณรอบโขดหินกลางพื้นที่จะพบเศษภาชนะดินเผาหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น คณะผู้สำรวจจึงได้ขุดผิวดินข้างโขดหินออกจึงพบเศษภาชนะดินเผาหนาแน่น และหลุมฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ คือโครงกระดูกหมายเลข 1 ซึ่งพบร่วมกับของอุทิศศพ ได้แก่ ภาชนะดินเผา เครื่องประดับที่ทำจากสำริด เปลือกหอยทะเล และลูกปัดคาร์เนเลียน ดังนั้น จึงบ่งบอกถึงการติดต่อกับสังคมภายนอก

พื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติออบหลวงมีความเหมาะสมกับการท่องเที่ยว มีข้อมูลเกี่ยวกับหลักฐานทางโบราณคดีให้ชมที่ศูนย์ข้อมูลของสำนักงานอุทยาน และมีการจำลองแหล่งโบราณคดีให้ชม

- สายันต์ ไพรชาญจิตร์ และประทีป เพ็งตะโก. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีที่วนอุทยานออบหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. รายงานทางวิชาการฉบับที่ 2 ปีที่ 3. กรุงเทพฯ : โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) กองโบราณคดี กรมศิลปากร 2527.

 

- สายันต์ ไพรชาญจิตร์, มาริแอล ซังโตนี และฌ็อง ปิแอร์ ปอโทร. “รายงานการสำรวจและขุดค้น พุทธศักราช 2528.” ใน โบราณคดีภาคเหนือ เหมืองแม่เมาะ ออบหลวง บ้านยางทองใต้. หน้า 36-68. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร 2531.