หน้าแรก แหล่งโบราณคดี เกาะลันตา

เกาะลันตา

ที่ตั้ง เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่
พิกัด 7.665159 N, 99.121480 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 0 ถึง 1500
แหล่งน้ำสำคัญ มีคลองไม่ทราบชื่อผ่านกลางแหล่งโบราณคดี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ คาร์เนเลียน อาเกต ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์หมิง ลูกปัดโรมัน จังหวัดกระบี่
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

267

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

4 ธ.ค. 2565

เกาะลันตา

team
ชื่อแหล่ง : เกาะลันตา
ที่ตั้ง : เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่
พิกัด : 7.665159 N, 99.121480 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 0 ถึง 1500
แหล่งน้ำสำคัญ : มีคลองไม่ทราบชื่อผ่านกลางแหล่งโบราณคดี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : คาร์เนเลียน อาเกต ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์หมิง ลูกปัดโรมัน จังหวัดกระบี่
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ยุุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 4 ธ.ค. 2565

- ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) ได้รับการสำรวจครั้งแรกโดยพิพัฒน์ กระแจะจันทร์โดยที่มีนายเลิศเชาวน์ เคลือบสูงเนิน ซึ่งเป็นผู้ที่ค้นพบแหล่งโบราณคดีนี้เป็นคนแรกเป็นผู้นำทาง 

 

- ค.ศ.2021 (พ.ศ.2564) นักโบราณคดีกรมศิลปากร และฝรั่งเศส ได้ทำการสำรวจและทำการขุดค้นทางโบราณคดีโดยนักโบราณคดีฝรั่งเศสคือ Bérénice Bellina-Pryce แต่ยังไม่มีรายงานเผยแพร่ 

 

- ค.ศ.2022 (พ.ศ.2565) สำรวจครั้งที่สองโดยพิพัฒน์ กระแจะจันทร์ และทีม 

 

สภาพของแหล่งโบราณคดีเป็นภูเขาตั้งอยู่ระหว่างคลองโบราณ ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นที่ราบลุ่มชื้นแฉะระหว่างหุบเขา โบราณวัตถุพบตลอดภูเขาทางทิศเหนือและใต้ สามารถติดต่อกับทะเลได้โดยสะดวก ปากคลองโบราณเป็นชายหาด มีกุโบว์ของชาวมุสลิมอยู่ด้วย มีอายุไม่เก่าแก่มากนัก ไม่ถึง 100 ปี 

ปริมาณของโบราณวัตถุเบาบาง แบ่งออกเป็นหลายยุคสมัย ได้แก่ 

- สมัยหินใหม่ ได้แก่ เครื่องมือขวานหินขัดทั้งแบบมีบ่า และไม่มีบ่า

- ลูกปัด ประกอบด้วยลูกปัดลม คาร์เนเลียน อาเกต ลูกปัดโรมัน ทั้งหมดเป็นชุดหลักฐานแบบเดียวกันกับที่คลองท่อม จ.กระบี่ เช่น ลูกปัดคาร์เนเลียนทรงกระดุม 

- ชิ้นส่วนแก้ว น่าจะเป็นแก้วโรมัน หรือเปอร์เซีย

- ชิ้นส่วนทองคำ น่าจะเป็นพวกชิ้นส่วนของเครื่องประดับ 

- ภาชนะดินเผา พบทั้งเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ถัง และข้ามมาในสมัยราชวงศ์หมิง 

แหล่งโบราณคดีแห่งนี้คงเป็นที่จอดแวะพักเรือที่เดินทางมาจากอินเดีย เป็นลักษณะที่พักชั่วคราว ทำให้พบโบราณวัตถุเบาบาง

 

ยังไม่เหมาะกับการเป็นแหล่งท่องเที่ยว

 

ข้อมูลจากการสำรวจโดยพิพัฒน์ กระแจะจันทร์