หน้าแรก แหล่งโบราณคดี บ้านหลวงรับราชฑูต (บ้านวิไชเยนทร์)

บ้านหลวงรับราชฑูต (บ้านวิไชเยนทร์)

ที่ตั้ง ถนนวิชาเยนทร์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
พิกัด 14.802886 N, 100.610333 E
อายุสมัย ปี ค.ศ. 1683-1685
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำลพบุรี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ จังหวัดลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์ เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ คอนสแตนติน ฟอลคอน คณะเยซูอิต ศาสนาคริสต์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

172

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

17 พ.ย. 2565

บ้านหลวงรับราชฑูต (บ้านวิไชเยนทร์)

team
ชื่อแหล่ง : บ้านหลวงรับราชฑูต (บ้านวิไชเยนทร์)
ที่ตั้ง : ถนนวิชาเยนทร์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
พิกัด : 14.802886 N, 100.610333 E
อายุสมัย : ปี ค.ศ. 1683-1685
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่น้ำลพบุรี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : จังหวัดลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์ เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ คอนสแตนติน ฟอลคอน คณะเยซูอิต ศาสนาคริสต์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ยุคสมัย : อยุธยา
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 17 พ.ย. 2565

- ค.ศ.1936 (พ.ศ.2479): กรมศิลปกรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบ้านหลวงรับราชฑูต ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 หน้า 904 ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ 2479

 

- ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563): สำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี ทำการขุดตรวจ และขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่บ้านหลวงรับราชฑูต ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาบ้านหลวงรับราชฑูต

   บ้านหลวงรับราชฑูต (บ้านวิชาเยนทร์) ถูกสร้างขึ้นราวราวก่อนปีค.ศ.1683 (พ.ศ.2226) สันนิษฐานว่าเดิมเป็นอาคารพำนักอาศัยของพ่อค้าชาวเปอร์เซียที่มาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา ในภายหลังบ้านหลังนี้ได้ตกเป็นสมบัติของราชสำนัก ในช่วงระหว่างปีค.ศ.1683-1685 (พ.ศ.2226-2228) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานบ้านหลังนี้ให้แก่ เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน สมุหนายกชาวเวนิสที่อยู่ในราชสำนักสยาม ณ เวลานั้น โดยเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ได้ปรับปรุงอาคารแบบตะวันตกเดิมให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยกับตนเอง และครอบครัว ต่อมาในปีค.ศ.1685 (พ.ศ.2228) ทางราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้ใช้อาคารหลังนี้เป็นที่รับรองคณะเอกอัครราชฑูตฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เดินทางมาจากฝรั่งเศศเพื่อเข้ามาเจริญพระราชไมตรี

 

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นหมู่อาคารก่ออิฐถือปูนแบบตะวันตก หน้าต่าง และซุ้มประตู แสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรเนอซองต์ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งบ้านที่อยู่อาศัยของเจ้าพระยาวิไชเยนทร์กับครอบครัว และ อาคารรับรอบเอกอัครราชฑูต โดยแผนผังแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่  

  • ด้านทิศตะวันตก : มีลักษณะเป็นตึกสองชั้นหลังใหญ่ ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรุปโค้งครึ่งวงกลม เป็นที่พักอาศัยของคณะราชฑูตชาวฝรั่งเศส
  • บริเวณตรงกลาง : มีลักษณะเป็นหอระฆัง สันนิษฐานว่าเดิมถูกใช้เป็นโบสถ์หรือสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาของนักบวชคณะเยซูอิต พบร่องรอยการทำซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว เสาปลายเป็นรูปกลีบบัวขาว
  • บริเวณทิศตะวันอออก : มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคารใหญ่ 2 ชั้น ลักษระใกล้เคียงกับด้านทิศตะวันตก

 

เมื่อสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หมู่อาคารนี้จึงถูกปล่อยทิ้งร้างให้ทรุดโทรม

นายเดชา สุดสวาท. ไขปริศนาห้องลับ บ้านหลวงรับราชทูต เมืองละโว้. เข้าถึงโดย https://www.finearts.go.th/promotion/view/19098

 

กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. บ้านหลวงรับราชฑูต (บ้านวิชาเยนทร์). เข้าถึงโดย https://culturalenvi.onep.go.th/site/detail/3661