หน้าแรก แหล่งโบราณคดี เขาคลังใน

เขาคลังใน

ที่ตั้ง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
พิกัด 15.465584 N, 101.144684 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 1101 ถึง 1590
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำป่าสัก,แม่น้ำลพบุรี,ลำน้ำเหียง
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ ศาสนสถาน พุทธศาสนา ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นิกายมหายาน นิกายเถรวาท
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

299

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

6 พ.ย. 2565

เขาคลังใน

team
  • เขาคลังใน
ชื่อแหล่ง : เขาคลังใน
ที่ตั้ง : ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
พิกัด : 15.465584 N, 101.144684 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 1101 ถึง 1590
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่น้ำป่าสัก,แม่น้ำลพบุรี,ลำน้ำเหียง
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : ศาสนสถาน พุทธศาสนา ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นิกายมหายาน นิกายเถรวาท
ยุคสมัย : ทวารวดี
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 6 พ.ย. 2565

- ค.ศ.1934 (พ.ศ.2477): สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำเนินการสำรวจ และกล่าวถึงเมืองศรีเทพว่า ที่กลางเมืองมีปรางค์ เทวสถาน และมีโคกดินกับแผ่นศิลาแลงซึ่งแสดงว่าเคยเป็นเทวสถานเป็นไปได้ว่าอาจกล่าวถึงโบราณสถานเขาคลังใน

 

- ค.ศ.1935-1937 (พ.ศ.2478–2480): ควอริทช์ เวลส์ ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม และสันนิษฐานว่าเขาคลังในถูกสสร้างขึ้นเป็นศาสนบรรพต เช่นเดียวกับปราสาทบากอง และปราสาทบายน ที่เมืองพระนคร

 

- ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521): หน่วยศิลปากรที่ 3 สุโขทัย ดำเนินการขุดหลุมทดสอบบริเวณเขาคลังใน

 

- ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526): กรมศิลปากรดำเนินการขุดทดสอบทางโบราณคดีระหว่างสระปรางค์ กัรบเขาคลังใน เพื่อจัดตั้งโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

 

- ค.ศ.1987-2000 (พ.ศ.2530–2543): อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพจัดทำแผนแม่บทเมืองศรีเทพ และดำเนินงานทางโบราณสถานเขาคลังใน ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สอบพี่น้อง และโบราณสถานขนาดเล็กในเมือง และนอกเมืองรวม 40 แห่ง

 

- ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531): นิติ แสงวัณณ์ และคณะ ขุดแต่งโบราณสถานเขาคลังในด้านทิศตะวันออก

 

เขาคลังใน ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองในของเมืองศรีเทพ มีถนนลูกรังเชื่อมไปปรางค์สองพี่น้องด้านทิศเหนือ โดยเขาคลังใน เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน โดยมาจากสภาพพื้นที่ที่เคยเป็นเนินดิน และต้นไม้ปกคลุมจนมีสัณฐานคล้ายภูเขา โดยชาวบ้านเชื่อว่าโบราณสถานแห่งนี้เคยเป็นที่เก็บของมีค่า จึงเรียกว่าเขาคลัง

 

โบราณสถานเขาคลังในเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่แรกสร้างเมืองศรีเทพ หรือราวพุทธศตวรรษที่ 12 โดยเดิมถูกสร้างขึ้นในศาสนาพุทธเถรวาท แต่ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 14 จึงเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนามหายาน

 

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมประกอบด้วย สถาปัตยกรรมประฐานบนแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ขนาด 28 x 44 เมตร สูงประมาณ 12 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหน้ามีบันไดขึ้นสู่ลานด้านบน ด้านทิศตะวันตกมีรอยรูปฐานสี่เหลี่ยมซึ่งสันนิษฐานว่าเคยมีสถูป มณฑป หรือวิหาร เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพตั้งอยู่ ด้านทิศตะวันออกเป็นลานกว้างสำหรับประกอบพิธีกรรม

 

ตัวฐานอาคารมีการประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปคนแคระแบก และลวดลายดอกไม้พรรณพฤกษา เรขาคณิต ซึ่งพบอยู่ทั่วไปในงานสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีในภาคกลาง แต่สิ่งที่พบเฉพาะในศรีเทพ คือประติมากรรมคนแคระของศรีเทพจะมีส่นวหัวเป็นสัตว์ประเภทต่าง ๆ เช่น ลิง สิงห์ หรือกระบือ นอกจากนี้ยังพบลายปูนปั้นเศียรพระพุทธรูปแบบศิลปะทวารวดี

 

โบราณวัตถุที่พบได้แก่ เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปสำริดประทับนั่งปางสมาธิ และประทับยืนปางแสดงธรรม และยังพบพระโพธิสัตว์อาริยเมตไตรยสำริดและเงิน

กรมศิลปากร. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ 2550.

 

ศูนย์มานุษยวิทยานิรินธร. เขาคลังใน. เข้าถึงจาก https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/52

 

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. ตำแหน่ง และการจัดวางประติมากรรมปูนปั้นโบราณสถานเขาคลังใน. เข้าถึงจาก

https://www.finearts.go.th/sitheppark/view/26333-ตำแหน่งและการจัดวางประติมากรรมปูนปั้นโบราณสถานเขาคลังใน