หน้าแรก แหล่งโบราณคดี เมืองโบราณบ้านคูบัว

เมืองโบราณบ้านคูบัว

ที่ตั้ง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
พิกัด 13.486389 N, 99.835833 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 1001 ถึง 1590
แหล่งน้ำสำคัญ ห้วยคูบัว,ห้วยชินสีห์,ห้วยชินสีห์
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ พุทธศาสนา อินเดียเหนือ คูน้ำคันดิน จังหวัดราชบุรี
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

368

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

4 พ.ย. 2565

เมืองโบราณบ้านคูบัว

team
ชื่อแหล่ง : เมืองโบราณบ้านคูบัว
ที่ตั้ง : ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
พิกัด : 13.486389 N, 99.835833 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 1001 ถึง 1590
แหล่งน้ำสำคัญ : ห้วยคูบัว,ห้วยชินสีห์,ห้วยชินสีห์
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : พุทธศาสนา อินเดียเหนือ คูน้ำคันดิน จังหวัดราชบุรี
ยุคสมัย :
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 4 พ.ย. 2565

- ค.ศ.1957 (พ.ศ.2500): ภายหลังได้รับแจ้งรายงานว่ามีการพบเมืองโบราณ และวัดร้างซึ่งถูกชาวบ้านในพื้นที่ลักลอบขุดโบราณวัตถุ กรมศิลปากรจึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปลงพื้นที่สำรวจ พบเนินดินขนาดใหญ่ซึ่งชวนสงสัยว่าน่าจะเป็นซากโบราณสถาน

 

- ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503): กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่ไปลงพื้นที่สำรวจ และพบเนินดินอีกหลายแห่ง

 

- ค.ศ.1961 (พ.ศ.2504): เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี และหน่วยศิลปากรที่ 2 ลงพื้นที่สำรวจ และขุดแต่งโบราณสถาน

 

- ค.ศ.1964 (พ.ศ.2507): กรมศิลปากรจัดประชุมสัมมนาเรื่องผลการขุดค้นโบราณวัตถุที่บ้านคูบัว ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ โดยมีอธิบดีกรมศิลปากร

 

- ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524): ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะนักศึกษาภาควิชาโบราณคดี ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองโบราณบ้านคูบัว

 

- ค.ศ.1995-1997 (พ.ศ.2538–2540): สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี ดำเนินการขุดแต่ง สำรวจ ทางโบราณคดี เพื่อจัดทำแผนที่ และรวบรวมข้อมูลโบราณสถานทั้งหมดเพื่อจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองคูบัว

เมืองโบราณบ้านคูบัว ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ห่างจากตัวเมืองราชบุรีไปทางตอนใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเมืองโบราณผังสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน วางตัวแนวเหนือใต้ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ขนาดกว้าง 800 เมตร และยาว 2000 เมตร มีลำน้ำไหลผ่านสองสาย ได้แก่ ห้วยคูบัว กับห้วยชินสีห์ ซึ่งเป็นลำห้วยสาขาของลำน้ำสายใหญ่ คือ แม่น้ำแม่กลอง ภายในเขตเมืองโบราณพบร่องรอยโบราณสถานมากกว่า 60 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธทั้งนิกายเถรวาท และมหายาน

 

ผลจากการขุดแต่งเนินดิน และซากโบราณสถาน สามารถแบ่งรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้ทั้งหมด 8 ลักษณะ

1. เจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่ออิฐขึ้นไปตรงๆ ไม่มีย่อมุม มีเส้นลายลูกแก้ว และไม่มีเส้นลายลูกแก้วบนฐาน

2. เจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่ออิฐขึ้นไปตรงๆเป็นรูปสี่เหลี่ยม บางองค์ฐานล่างทำเป็นฐานบัว หรือมีบันไดขึ้นทั้ง 4 ด้าน

3. เจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบด้วยฐานบัวเป็นชั้น

4. เจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน

5. เจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละมุมมีมุขยื่นออกมามุมละ 1 มุม

6. วิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานสี่เหลี่ยมประกอบด้วยฐานบัว บางแห่งปรากฎการก่อฐานด้วยศิลาแลง

7. เจดีย์ฐานกลม

8. เจดีย์รูปแปดเหลี่ยม

 

จากลักษณะทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าเมืองโบราณคูบัวได้รับอิทธิพลทางศาสนาจากช่างสมัยราชวงศ์คุปตะ โดยมีการตกแต่งผนังศาสนสถาน และลวดลายด้วยดินเผาก่อน แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นปูนปั้น  

 

หลักฐานโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้น ได้แก่ กระดูกสัตว์ เครื่องมือ และเครื่องประดับโลหะ ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน และภาชนะดินเผา จากการศึกษารูปแบบภาชนะดินเผา บ่งชี้ว่าผู้คนในชุมชนเมืองโบราณบ้านคูบัวนั้นมีความเจริญเทคโนโลยี โดยช่างปั้นใช้เทคนิคหลายแบบในการตกแต่งรูปบบภาชนะ เช่น การขดดิน การใช้แป้นหมุน ซึ่งบ่งบองถึงทักษะการช่างที่พัฒนาขึ้น โดยภาชนะดังกล่าวมีทั้งภาชนะดินเผาที่ใช้ในชีวิตประจำว่า หรือภาชนะที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา โดยรุปแบบภาชนะบางแบบพบว่ามีความคล้ายคลึงกับภาชนะดินเผาที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี เช่น นครปฐม หรือ บ้านคูเมือง เป็นต้น

 

งานประติมากรรรมที่พบนั้นส่วนมากเป็นงานพุทธศิลป์ที่ได้รับอิทธิพลทางศาสนา โดยบางชิ้นถูกสร้างขึ้นเพื่อประดับสถาปัตยกรรม โดยสามารถจำแนกตามวัสดุได้ 3 ประเภท

 

ประติมากรรมศิลา : ประติมากรรมที่ทำด้วยการสลักหิน โดยส่นวมากทำจากหินแกรนิต หินปูน หินอ่อน หินสบู่ หินชนวน หินทราย หรือศิลาแลง ประติมากรรมจากหินที่พบที่คูบัวประติมากรรมศิลาที่พบในคูบัว ได้แก่ กวางหินหมอบ ฐานวงล้อ และชิ้นส่วนธรรมจักร พระพุทธรูปขนาดเล็ก เศียรพระพุทธรูปหินสีเทา และหินทรายแดง หินบด และสิงโตหินจำหลัก

 

ประติมากรรมดินเผา : ส่วนมากเป็นงานประติมากรรมที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นลวดลายประดับสถาปัตยกรรม โดยมีทั้งรูปบุคคล สัตว์ หรือเครื่องประดับต่าง ๆ ไปถึงพระโพธิสัตว์ และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ

 

ประติมากรรมปูนปั้น : เป็นวัสดุที่นำมาใช้แทนการสลักหิน และการปั้นด้วยดินเผา โดยปูนที่นำมาใช้มาจากหินปูน หรือเปลือกหอยบด โดยประติมากรรมปูนปั้นที่พบที่คูบัวได้แก่ กลุ่มรูปบุคคล เช่น พระพุทธรูป เทวดา ยักษ์ คนแคระ ฯลฯ ปูนปั้นรูปสัตว์ กลุ่มลวดลายประดับเช่น ดอกไม้ ลวดลายเรขาคณิต

 

โดยทั้งหลักฐานสถาปัตยกรรม และประติมากรรมที่ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากอินเดีย สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางเทคโนโลยี และพัฒนาการทางสังคมที่เจริญอย่างยิ่งในเมืองโบราณคูบัว

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนบ้านคูบัว เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกิดด้วยความริเริ่มของชุมชนหลายองค์กรในพื้นที่ ด้วยความมุ่งหวังให้ลูกหลานชาวคูบัวได้เข้าใจถึงรากเหง้าของ ตัวเองได้อย่างถ่องแท้

 

โดยตัวอาคารพิพิธภัณฑ์นั้นมีความยาว 24 เมตร กว้าง 18 เมตร เป็นอาคารสองชั้นที่ภายในแบ่งเป็นห้องจัดแสดงต่าง ๆ ได้แก่ ห้องจัดแสดงจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ภูมิปัญญา ของคนไทยสมัยทวารวดีผ่านโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบ ไม่ว่าจะเป็น ดินเผารูปบุคคล รูปภาพต่าง ๆ รูปนาค ซึ่งส่วนหนึ่งได้ถูกนำไปเก็บไว้ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี ต่อมาเป็นห้องแสดงภูมิปัญญาไทยสมัยโยนกเชียงแสน ซึ่งชาวล้านนาได้อพยพจากเมืองเชียงแสนมาอยู่ที่คูบัวเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว ต่อมาเป็นห้องแสดงวิถีชีวิตของชาวคูบัว รวมทั้งหุ่นจำลองของพระเกจิอาจารย์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ซึ่งล้วนมีเชื้อสายไทย-ญวนเกือบทุกคน และห้องสุดท้ายจัดแสดงวัฒนธรรมข้าวและชาวนาไทย เรียนรู้ทุกกระบวนการตั้งแต่การเกี่ยวข้าว นวดข้าว ตำข้าว จนถึงการแปรรูปจากข้าวเปลือกสู่ข้าวสาร

ธิติพงศ์ มีทอง. “การศึกษาโบราณสถานเมืองโบราณคูบัวของจังหวัดราชบุรีอกสารประกอบงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. หน้า 1153 – 1162. 2562.

 

วรวุธ สุวรรณฤทธิ์.การศึกษาคติความเชื่อ และรูปแบบของประติมากรรมปูนปั้นแบบทวารวดีที่บ้านคูบัว”. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2530.

 

สมศักดิ์ รัตนกุล. โบราณคดีเมืองคูบัว. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร 2535.

 

เอ็นดู นิลกุล.การศึกษาภาชนะดินเผาที่ตำบลบ้านคูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี ที่ได้จากการขุดค้นระหว่างปี 2524 – 2525”. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2528.