ที่ตั้ง | กลางวงเวียนศรีสุนทร ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี |
พิกัด | 14.802064 N, 100.615061 E |
อายุสมัย | ระหว่าง ปี พ.ศ. 1501 ถึง 1600 |
แหล่งน้ำสำคัญ | แม่น้ำลพบุรี |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | ศาสนสถาน พุทธศาสนา พราหมณ์-ฮินดู จังหวัดลพบุรี ไวษณพนิกาย นิิกายเถรวาท สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |
แกลเลอรี |
|
ชื่อแหล่ง : | ศาลพระกาฬ (ศาลสูง) |
ที่ตั้ง : | กลางวงเวียนศรีสุนทร ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี |
พิกัด : | 14.802064 N, 100.615061 E |
อายุสมัย : | ระหว่าง ปี พ.ศ. 1501 ถึง 1600 |
แหล่งน้ำสำคัญ : | แม่น้ำลพบุรี |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : | ศาสนสถาน พุทธศาสนา พราหมณ์-ฮินดู จังหวัดลพบุรี ไวษณพนิกาย นิิกายเถรวาท สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |
ยุคสมัย : | เขมรโบราณ |
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : | 4 พ.ย. 2565 |
- ค.ศ.1936 (พ.ศ.2479): ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้า 904 วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2479
- ค.ศ.2002 (พ.ศ.2545): ได้รับการประกาศกำหนดเขตที่ดิน จำนวน 2 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนพิเศษ 119 ง
ศาลพระกาฬ หรือ ศาลสูง เป็นศาสนสถานฐานศิลาแลง สันนิษฐานว่าเป็นฐานปรางค์เดิมที่ถล่มไปแล้วในอดีต มีลักษณะทางศิลปะแบบเขมรในพุทธศตวรรษที่ 16 จากจารึกอักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ บนเสาแปดเหลี่ยมสันนิษฐานว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 เนื้อหาจารึกกล่าวถึงการทำบุญถวายแก่พระพุทธรูป จึงสันนิษฐานว่าศาลพระกาฬเคยเป็นศาสนสถานของพุทธนิกายเถรวาทมา จากการพบทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ วางอยู่บนฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ซึ่งกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 จึงสันนิษฐานว่าศาลได้ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นศาสนสถานในไวษณพนิกายภายหลัง
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างศาลเทพรักษ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ผสมผสานลักษณะสถาปัตยกรรมแบบราชนิยม ผสมผสานกับตึกแบบเปอร์เซียทับบนฐานปรางค์เดิม โดยภายในศาลประดิษฐาน ‘เจ้าพ่อพระกาฬ’ เทวรูปพระวิษณุรุ่นเก่าทำจากศิลาสีดำ ลักษณะศิลปะเขมร เดิมมีแต่พระวรกายเท่านั้น แต่ต่อมาถูกต่อเติมส่วนเศียร และพระกร โดยเศียรนั้นเป็นพระศิลาทรายสมัยอยุธยา ปัจจุบันศาลแห่งนี้กลายเป็นศาลประจำเมือง
ส.สีมา. “ศาลพระกาฬ”. ศิลปวัฒนธรรม. 34(7) หน้า 34-37, 2556.
ตรงใจ หุตางกูร. จารึกเสาแปดเหลี่ยม (ลพบุรี). เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/921