หน้าแรก แหล่งโบราณคดี เทวสถานปรางค์แขก

เทวสถานปรางค์แขก

ที่ตั้ง ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหว้ดลพบุรี
พิกัด 14.8022 N, 100.61165 E
อายุสมัย ปี พ.ศ. 1425-1436
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำลพบุรี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ ศาสนสถาน พราหมณ์-ฮินดู จังหวัดลพบุรี ศิลปะสมัยพะโค
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

352

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

3 พ.ย. 2565

เทวสถานปรางค์แขก

team
ชื่อแหล่ง : เทวสถานปรางค์แขก
ที่ตั้ง : ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหว้ดลพบุรี
พิกัด : 14.8022 N, 100.61165 E
อายุสมัย : ปี พ.ศ. 1425-1436
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่น้ำลพบุรี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : ศาสนสถาน พราหมณ์-ฮินดู จังหวัดลพบุรี ศิลปะสมัยพะโค
ยุคสมัย : เขมรโบราณ
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 3 พ.ย. 2565

- ค.ศ.1879 (พ.ศ.2421): เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองลพบุรี กล่าวถึงเทวสถานปรางแขกในเชิงพรรณนาลักษณะทางศิลปะ และสร้างข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับความเก่าแก่ของโบราณสถานแห่งนี้

 

- ค.ศ.1879 (พ.ศ.2442): พันตรี ลูเนต์ เอ ลาฌองกีแยร์ จัดปรางค์แขกอยู่ลำดับ 465 ในทะเบียนโบราณสถานเขมร โดยให้ข้อมูลทางสถาปัตยกรรมของปรางค์แขกอย่างละเอียด โดยกล่าวถึงระเบียบการก่ออิฐ การก่อสร้างหลังขา ตลอดถึงแผนผัง ซึ่งบ่งชี้ถึงลักษณะการก่อสร้างของเขมร

 

- ค.ศ.1921 (พ.ศ.2464): สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ ทรงนิพน์ข้อศึกษาเกี่ยวกับปรางค์แขก โดยสร้างข้อสันนิษฐานจากลักษณะของการเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน จึงเสนอว่าปรางค์แขกอาจสร้างขึ้นสมัยหลังพระปรางค์สามยอด

 

- ค.ศ.1961 (พ.ศ.2504): กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะปรางค์แขก

 

- ค.ศ.1964 (พ.ศ.2507): ศาสตราจารย์ ฌ็อง บัวเซอลิเย่ร์ กล่าวถึงปรางค์แขกในรายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย ว่าปรางค์แขกมีความคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมเขมรในพุทธศตวรรษที่ 15 และยังแสดงให้เห็นถึงประเพณีงานช่างพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าก่อนจะวิวัฒนาการไปสู่ปรางค์แบบไทย

 

- ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512): ศาสตราจารย์ ฌ็อง บัวเซอลิเย่ร์ เผยแพร่รายงานสรุปจากการสำรวจในปี พ.ศ 2507 โดยเสนอว่า ปรางค์แขกถึงแม้จะมีลักษณะเป็นศิลปะแบบเขมร แต่ก็ไม่สามารถจัดเป็นศิลปะขอมที่แท้จริง

 

- ค.ศ.1967 (พ.ศ.2510): ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ กล่าวถึงปรางค์แขกในหนังสือ ศิลปะสมัยลพบุรีโดยเสนอว่าเมื่อพิจารณาลักษณะการก่อสร้างโดยใช้อิฐไม่สอปูน และเข้ากรอบประตูศิลาเลียนแบบเครื่องไม้ ลักษณะแบบนี้อาจร่วมสมัยกับในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 15 ซึ่งเสนอว่าลักษณะลวดลายปูนปั้น หรือหลังคาย่อมุมของปรางค์แขก เป็นรูปแบบที่พบเฉพาะสถาปัตยกรรมเขมรในประเทศไทย ซึ่งปรางค์แขกอาจเป็นแหล่งที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งศาสตราจารย์หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ได้ยืนยันถึงข้อเสนอนี้ในงานสัมนาในปี พ.ศ 2522  

 

- ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521): กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะปรางค์แขก

 

ปรางค์แขกกลุ่มเป็นเทวสถานประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 องค์ เรียงตัวกันในแนวทิศเหนือใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะกลางถนนบริเวณแยกหถนนวิชัยเยนทร์ กับถนนสุระสงคราม เดิมเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์

 

1. ปรางค์อิฐ หรือปราสาทอิฐทั้ง 3 องค์ ตั้งเรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ ปราสาทองค์กลางมีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาบข้างด้วยปราสาทขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย ทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าสู่ห้องครรภคฤหะ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับปรางค์ในศิลปะเขมรแบบพะโค ( พ.ศ 1425 – 1436) คือเป็นปรางค์ก่ออิฐไม่สอปูน เชื่อมต่อด้วยยางไม้ และกรอบประตูศิลาเข้ากรอบเลียนแบบเครื่องไม้

 

2. ถังน้ำ คืออาคารก่ออิฐถือปูนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ มีลักณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ที่ผนังด้านนอกทางทิศเหนือมีท่อดินเผาซึ่งต่อออกมาจากภายใน

 

3. วิหาร คืออาคารก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาทองค์กลาง

 

โดยอาคารถังน้ำ และวิหารนั้นคงสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งที่ทรงสถาปนาให้ลพบุรีเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 เนื่องจากรูปแบบของช่องประตู และหน้าต่างโค้งรูปกลีบบัวที่ปรากฎในอาครารทั้งสองนั้นเป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. “ปรางค์แขกเมืองลพบุรีกับประเด็นศึกษาใหม่วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2548.

 

สำนึกศิลปากรที่ 4 ลพบุรี. เทวสถานปรางค์แขก. เข้าถึงได้จาก https://www.finearts.go.th/fad4/view/21093-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B8%81