หน้าแรก แหล่งโบราณคดี พระนารายณ์ราชนิเวศน์

พระนารายณ์ราชนิเวศน์

ที่ตั้ง ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
พิกัด 14.799617 N, 100.610561 E
อายุสมัย ปี พ.ศ. 2209
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำลพบุรี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ จังหวัดลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

287

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

1 ม.ค. 2513

พระนารายณ์ราชนิเวศน์

team
  • อาคารภายในพระราชวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์
ชื่อแหล่ง : พระนารายณ์ราชนิเวศน์
ที่ตั้ง : ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
พิกัด : 14.799617 N, 100.610561 E
อายุสมัย : ปี พ.ศ. 2209
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่น้ำลพบุรี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : จังหวัดลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์
ยุคสมัย : อยุธยา
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 1 ม.ค. 2513

- ค.ศ.1936 (พ.ศ.2479): พระนารายณ์นิเวศน์ได้รับประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 53 ตอนที่ 24

 

- ค.ศ.2009-2010 (พ.ศ.2552–2553): บริษัทห้างหุ่นส่วนจำกัด บูรณาไท จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการการบูรณะต่อเนื่อง โดยเริ่มจากกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันตกด้านนอก และซุ้มประตูหมายเลข 1 และ 2 ต่อมาได้ขยายขอบเขตไปยังด้านใน ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศเหนือ โดยโครงการบูรณะนี้มีการดำเนินงานขุดตรวจทางโบราณคดีควบคู่กัน

เป็นราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรด ฯ ให้สร้างขึ้นที่เมืองลพบุรี มีพื้นที่ 41 ไร่ โดยจุดประสงค์ของการสร้างสืบเนื่องจากกรณีพิพาทระหว่างฮอลันดากับไทย ทำให้สมเด็จพระนารายณ์เล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาไม่ได้ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมทางยุทธศาสตร จึงโปรดให้สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรีเพื่อใช้เป็นราชธานีแห่งที่สอง โดยพระราชวังแห่งนี้พระนารายณ์ทรงใช้สำหรับทั้งเป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และรับคณะราชฑูตต่างประเทศ โดยสมเด็จพระนารายณ์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้นานเกือบตลอดปี และจะประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น

 

ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์ และสิ้นสุดสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2 พระนารายณ์นิเวศน์ถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงโปรดให้บูรณะพระนารายณ์นิเวศน์ รวมถึงสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ และพระราชทานนามใหม่ว่า พระนารายณ์นิเวศน์ 

 

พระนารายณ์นิเวศน์มีลักษณะเป็นแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ล้อมรอบด้วยกำแพงก่ออิฐถือปูน ส่วนบนมีใบเสมาตลอดแนว มีป้อมที่บริเวณมุมกำแพง และส่วนกลาง โดยตัวอาคารมีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา และอิทธิพลศิลปะแบบเปอร์เซีย

 

พื้นที่ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 3 เขต ได้แก่

 

เขตพระราชฐานชั้นนอก : ประกอบไปด้วย อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก, หมู่ตึกพระคลังศุภรัตน์ ซึ่งเดิมถูกใช้เป็นสถานที่เก็บทรัพย์สมบัติ, ตึกพระเจ้าเหา สันนิษฐานว่าเป็นหอประจำพระราชวัง ปัจจุบันประดิษฐษนพระพุทธรูป พระเจ้าเหา”, ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง ที่สมเด็จพระนารายณ์ใช้พระราชทานเลี้ยงคณะฑูตจากประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ 2228 และ 2230 ตัวอาคารล้อมรอบด้วยสระน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ ซึ่งกลางสระมีน้ำพุมากกว่า 20 จุด, และโรงช้างหลวง

 

เขตพระราชฐานชั้นกลาง : ประกอบไปด้วยพระที่นั่งที่สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 2 แห่ง ได้แก่ พระที่นั่งจันทรพิศาล เดิมถูกใช้เป็นหอประชุมองคมนตรี, พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เดิมถูกใช้เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกรับคณะราชฑูต และพระที่นั่งที่สร้างในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ได้แก่ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ ในบริเวณข้างประตูเข้าเขตพระราชฐานชั้นกลางมี ทิมดาบอาคารก่ออิฐถือปูน ที่ถูกใช้เป็ฯที่ตั้งของทหารรักษาการณ์เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ

 

เขตพระราชฐานชั้นใน : เป็นพื้นที่ตั้งของ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระที่นั่งที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งพระนารายณ์ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ และเป็นที่ตั้งของหมู่ตึกพระประเทียบ ซึ่งถูกสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายใน  

พระราชวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ตั้งอยู่ใจกลางเมืองจังหวัดลพบุรี ใกล้กับวัดมหาธาตุ เจดีย์ปรางค์สามยอด และสถานีรถไฟจังหวัดลพบุรี เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ โดยมีส่วนที่เป็นพระราชวัง และพิพิธภัณฑ์ที่สามารถเดินชมได้

 

 

กรมศิลปากร. พระนารายณ์ราชนิเวศน์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2531.

 

บริษัทห้างหุ่นส่วนจำกัด บูรณาไท จำกัด (มหาชน). รายงานการขุดตรวจทางโบราณคดี กำแพงนารายณ์ราชนิเวศน์ ด้านทิศตะวันตก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. เอกสารออนไลน์, 2552

 

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระนารายณ์ราชนิเวศน์. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/seaarts/artwork/64, 2015