หน้าแรก แหล่งโบราณคดี วัดกำแพงแลง

วัดกำแพงแลง

ที่ตั้ง ถนนโพธิ์การ้อง ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
พิกัด 13.105417 N, 99.956169 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 1700 ถึง 1800
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำเพชรบุรี่
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ พุทธศาสนา พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จังหวัดเพชรบุรี ศิลปะสมัยบายน จารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองศรีชัยวัชรบุรี ประติมากรรมในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

258

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

3 พ.ย. 2565

วัดกำแพงแลง

team
ชื่อแหล่ง : วัดกำแพงแลง
ที่ตั้ง : ถนนโพธิ์การ้อง ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
พิกัด : 13.105417 N, 99.956169 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 1700 ถึง 1800
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่น้ำเพชรบุรี่
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : พุทธศาสนา พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จังหวัดเพชรบุรี ศิลปะสมัยบายน จารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองศรีชัยวัชรบุรี ประติมากรรมในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
ยุคสมัย : อยุธยา เขมรโบราณ
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 3 พ.ย. 2565

ค.ศ.2017 (พ.ศ.2560): สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี ดำเนินงานทางโบราณคดี

เดิมเป็นวัดร้างในเมืองเพชรบุรี ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารก่อด้วยศิลาแลงแบบอิทธิพลศิลปะเขมรสมัยบายน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบด้วยกำแพง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยปราสาท 5 หลัง โดยมีปรางค์เป็นปราสาทประธาน ซึ่งภายในประดิษฐน หลวงพ่อเพชรพระพุทธรูปหินทรายสีแดงสมัยอยุธยา ที่นำมาจากวัดกุฎิทอง อำเภอเพชรบุรี  และมีโคปุระ 1 หลังเป็นยอดปราสาทที่เดิมมีการตกแต่งปูนปั้นประดับอาคารทั้งหลัง โดยภายในโคปุระประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพ่อนิลพระพุทธรูปสำคัญที่ชาวบ้านในพื้นที่เคารพนับถือ ภายในกำแพงมีสระน้ำอยู่ชิดขอบกำแพงด้านทิศตะวันออก (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว)

 

วัดกำแพงแลงปรากฎในจารึกปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา ที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เนื้อหากล่าวถึงหัวเมืองจำนวน 23 แห่ง ที่โปรดเกล้าฯให้ส่งพระไชยพุทธมหานาถไปประดิษฐาน โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่า เมืองศรีชัยวัชรบุรี คือเมืองเพชรบุรีในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับการพบสถาปัตยกรรมเขมรในวัดกำแพงแลงซึ่งศาสนสถานสำคัญของเมือง

 

จากการดำเนินงานโดยกรมศิลปากร ยังพบงานประติมากรรมที่สำคัญ ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร, พระวัชรสัตว์นาคปรก, พระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุด และยังพบหัวสะพานรูปครุฑ ซึ่งเป็นลักษระของหัวสะพานที่นิยมในศิลปะสมัยบายน

 

จากการขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานที่แสดงถึงการใช้งานพื้นที่อย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยสุโขทัย - อยุธยา เนื่องจากพบหลักฐานเครื่องถ้วยร่วมสมัยที่หนาแน่น ซึ่งสอดคลอ้งกับเอกสารประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเมืองพริบพลี วิดพรี ว่าเป็นเมืองที่มีการติดต่อค้าขายทางทะเล โดยคาดว่าหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 อาจเป็นส่วนหนึ่งของการทิ้งร้างศาสนสถานแห่งนี้ ก่อนที่ชาวจีนจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยต่อมา ปัจจุบันวัดกำแพงแลงเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา โดยภายในวัดมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบโบราณสถาน และประกอบพิธีศาสนาในโอกาสสำคัญ

สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี. รายงานเบื้องต้นการดำเนินงานทางโบราณคดี โบราณสถานวัดกำแพงแลง และวัดเพชรพลี จังหวัดเพชรบุรี. เอกสารออนไลน์. 2560.