ที่ตั้ง | ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี |
พิกัด | 14.849325 N, 100.613114974 E |
อายุสมัย | ระหว่าง 3,000 ถึง 1,400 ปีมาแล้ว |
แหล่งน้ำสำคัญ | แม่น้ำลพบุรี |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | หลุมฝังศพ แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค ชุมชนโบราณ จังหวัดลพบุรี |
แกลเลอรี |
|
ชื่อแหล่ง : | บ้านท่าแค |
ที่ตั้ง : | ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี |
พิกัด : | 14.849325 N, 100.613114974 E |
อายุสมัย : | ระหว่าง 3,000 ถึง 1,400 ปีมาแล้ว |
แหล่งน้ำสำคัญ : | แม่น้ำลพบุรี |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : | หลุมฝังศพ แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค ชุมชนโบราณ จังหวัดลพบุรี |
ยุคสมัย : | ยุุคหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ยุคโลหะ |
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : | 27 ต.ค. 2565 |
- ค.ศ.1979 (พ.ศ.2522) ดำเนินการสำรวจทางโบราณคดีโดยหน่วยศิลปากรลพบุรี
- ค.ศ.1980 (พ.ศ.2523) ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีโดยหน่วยศิลปากรลพบุรี
- ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีโดย นางรัชนี บรรณานุรักษ์ นักโบราณคดีจากกองโบราณคดี ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จนารายณ์
แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแคเป็นแหล่งฝังศพที่สามารถแบ่งชั้นวัฒนธรรมออกเป็น 3 ช่วงเวลาใหญ่ๆด้วยกันโดยมีรายละเอียดดังนี้
- ช่วงที่ 1 พบเป็นหลุมฝังศพ พบเศษภาชนะดินเผา ขวานหินขัด กำไล ลูกปัด ลูกกระสุนดินเผา เศษกำไลสำริด และกระดูกสัตว์ จากหลักฐานข้างต้น จึงมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นช่วงที่เริ่มมีการทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ขึ้นในชุมชนบ้านท่าแค
- ช่วงที่ 2 พบเป็นหลุมฝังศพ พบภาชนะดินเผา เครื่องมือเหล็ก โดยพบวางอยู่ร่วมกับโครงกระดูกที่มีขันสำริดคว่ำอยู่ที่กะโหลกศรีษะ นอกจากนี้ยังพบตะกรันจากการถลุงทองแดง
- ช่วงที่ 3 พบว่าชุมชนได้ขยายตัวครอบคลุมทั้งเนินท่าแค พบคูน้ำคันดินล้อมรอบเนิน รวมทั้งพบโบราณวัตถุเช่น ลูกปัดทองคำ ชิ้นส่วนตุ๊กตาดินเผา ตะกั่วทำเป็นห่วงกลม ตะกั่วแบบม้วนเป็นแท่ง ลูกปัดหิน แก้วสีต่าง ๆ ต่างหูหินสีเขียว และเหรียญเงิน 2 เหรียญ