หน้าแรก แหล่งโบราณคดี ทุ่งตึก

ทุ่งตึก

ที่ตั้ง บ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
พิกัด 8.894308 N, 98.280042 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 601 ถึง 1600
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำตะกั่วป่า
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ เมืองท่า จังหวัดพังงา อินเดีย การค้าทางไกล
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

380

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

26 ส.ค. 2565

ทุ่งตึก

team
ชื่อแหล่ง : ทุ่งตึก
ที่ตั้ง : บ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
พิกัด : 8.894308 N, 98.280042 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 601 ถึง 1600
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่น้ำตะกั่วป่า
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : เมืองท่า จังหวัดพังงา อินเดีย การค้าทางไกล
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 26 ส.ค. 2565

- ค.ศ.1934 (พ.ศ 2477) ได้รับการสำรวจ และขุดค้นครั้งแรกโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ Dr. H.G Quaritch Wales

- ค.ศ.1982 (พ.ศ 2525) ได้รับการสำรวจทางโบราณคดี โดยกรมศิลปากร 

- ค.ศ.2003 (พ.ศ 2546) ได้รับการดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี โดยสำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต 

  แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก มีลักษณะเป็นเกาะขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายสันทราย ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำตะกั่วป่า บริเวณฝั่งตะวันตกหันหน้าออกสู่ทะเลอันดามัน โดยชาวบ้านบริเวณนี้เรียกว่า “ทุ่งตึก” หมายถึง “เหมืองทอง” เพราะในบริเวณนี้พบซากโบราณสถานทั้งหมด 3 แห่ง ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญมากมาย เช่น ฐานเทวรูป เหรียญเงินอินเดีย เศษทองคำ ผลทรายทอง เศษภาชนะดินเผาสมัยราชวงศ์ถัง และเครื่องแก้วสมัยเปอร์เซ๊ย  จากความหลากหลาบชองหลักฐานที่พบ จึงสันนิษฐานได้ว่า ทุ่งตึกเป็นที่ตั้งเมืองท่าโบราณซึ่งชาวอินเดีย ชาวจีน ชาวอาหรับ และชาวมลายู มาทำมาค้าขาย เพราะตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสมในการเป็นที่จอดเรือหลบคลื่นลม มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้ทะเลหลวงขนาดใหญ่สามารถเข้าออกสะดวก อีกทั้งตั้งอยู่ตรงปากแม่น้ำตะกั่วป่าซึ่งการคมนาคมทางเรือทั้งขึ้นและล่องตามลำแม่น้ำจะต้องผ่านเสมอ

 

  ทุ่งตึกนอกจากจะเป็นเส้นทางผ่านของเรือสินค้าหลายชนิดแล้ว ยังมีหลักฐานน่าเชื่อว่า เมื่อครั้งที่ชาวอินเดียอพยพหนีภัยลงเรือหนีมายังดินแดนทางเอเชียอาคเนย์ ได้มาขึ้นบกและตั้งหลักแหล่งที่ทุ่งตึกหรือตะกั่วป่าก่อนระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อถูกข้าศึกศัตรูตามรบกวนและโรคภัยไข้เจ็บรบกวน จึงได้อพยพเดินทางข้ามไปตั้งเมืองทางบริเวณริมฝั่งทะเลตะวันออก เพราะได้พบว่า ตลอดเส้นทางอพยพชาวอินเดียได้ก่อสร้างเทวสถานและรูปเคารพเอาไว้ อาทิ รูปปั้นพระนารายณ์ ซึ่งปรากฎในหลายแห่งจึงเป็นเครื่องแสดงถึงอารยธรรมอินเดียที่แพร่เข้าสู่ในเขตภูมิภาคนี้

 

  ในบริเวณนี้มีซาก อาคารโบราณสถานอยู่ 3 แห่ง นอกจากนี้ในบริเวณนี้ยังได้ พบฐานเทวรูป เหรียญเงิน อินเดีย เศษทองคำ และผงทรายทอง ปัจจุบันโบราณสถาน ดังกล่าวถูกทำลายไป คงเหลือ แต่เพียงซาก ของฐานก่ออิฐ เพียงบางส่วน เท่านั้น

-

- ศรัณยา สุวรรณาลัย, 2548. "การศึกษารูปแบบลูกปัดแก้วจากแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา" สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 

 

- ฐานข้อมูลออนไลน์เข้าถึงได้จาก https://kohkhokhao.go.th/public/list/data/detail/id/1758/menu/1619