หน้าแรก แหล่งโบราณคดี เขาพระเหนอ

เขาพระเหนอ

ที่ตั้ง หมู่ 7 ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ฝั่งซ้ายของแม่น้ำตะกั่วป่า ตรงข้ามกับแหล่งโบราณคดีพงตึก
พิกัด 8.888831 N, 98.291203 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 1201 ถึง 1890
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำตะกั่วป่า
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ ศาสนสถาน พราหมณ์-ฮินดู จังหวัดพังงา อินเดีย การค้าทางไกล แม่น้ำตะกั่วป่า ไวษณพนิกาย
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

201

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

19 ส.ค. 2565

เขาพระเหนอ

team
ชื่อแหล่ง : เขาพระเหนอ
ที่ตั้ง : หมู่ 7 ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ฝั่งซ้ายของแม่น้ำตะกั่วป่า ตรงข้ามกับแหล่งโบราณคดีพงตึก
พิกัด : 8.888831 N, 98.291203 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 1201 ถึง 1890
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่น้ำตะกั่วป่า
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : ศาสนสถาน พราหมณ์-ฮินดู จังหวัดพังงา อินเดีย การค้าทางไกล แม่น้ำตะกั่วป่า ไวษณพนิกาย
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ยุคเหล็ก
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 19 ส.ค. 2565

 

 

  เขาพระเหนอเป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พบร่องรอยของโบราณสถานที่มีลักษณะเป็นรากฐานอาคาร จากการขุดค้นทางโบราณคดีโดยรอบที่พบตั้งแต่เครื่องมือเหล็ก เทวรูป จนถึงชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจากต่างประเทศ สันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานชิ้นนี้ถูกใช้งานในช่วงเวลาหลายร้อยปีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 – 19

 

 จากตำแหน่งที่ไม่ไกลจากปากแม่น้ำตะกั่วป่า และโบราณวัตถุที่พบ สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปพระวิษณุ (พระนารายณ์) ซึ่งเป็นที่เคารพของบรรดาพ่อค้าวาณิชจากอินเดียที่เดินเรือเข้ามาตั้งสถานีการค้า และใช้พื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการค้นถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรภาคใต้ เทวรูปดังกล่าวสันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ปัจจุบันถูกเก็บรักษา และจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

 

  เป็นโบราณสถานที่พบการใช้งานต่อเนื่องตั้งแต่สมัยยุคเหล็ก จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมการใช้พื้นที่มาอย่างยาวนานและต่อเนื่องบริเวณปากแม่น้ำตะกั่วป่า  

 

 

เข้าถึงได้จาก https://www.finearts.go.th/promotion/view/20891-หลักฐานไวษณพนิกายที่พบในฝั่งอันดามัน 

 

เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/phangnga/ewt_dl_link.php?nid=696