หน้าแรก แหล่งโบราณคดี บ้านวังไฮ

บ้านวังไฮ

ที่ตั้ง ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
พิกัด 18.547778 N, 99.002770 E
อายุสมัย 1,500 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ กวง, ปิง
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ หลุมฝังศพ หริภุญชัย จังหวัดลำพูน ฌอง-ปิแยร์ โปโทร Jean-Pierre Papin

จำนวนผู้เข้าชม

273

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

20 มิ.ย. 2565

บ้านวังไฮ

team
  • โครงกระดูกที่พบจากหลุมฝังศพ ภายในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ
ชื่อแหล่ง : บ้านวังไฮ
ที่ตั้ง : ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
พิกัด : 18.547778 N, 99.002770 E
อายุสมัย : 1,500 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ : กวง, ปิง
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : หลุมฝังศพ หริภุญชัย จังหวัดลำพูน ฌอง-ปิแยร์ โปโทร Jean-Pierre Papin
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ยุคเหล็ก สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หริภุญชัย
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 20 มิ.ย. 2565

- พ.ศ. 2629 นางวรสุรางค์ โฉมทรัพย์เย็น ชาวบ้านวังไฮ ได้พบชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ ลุกปัดหินสีส้ม ต่างหูทำด้วยแก้ว หน่วยศิลปากรที่ 4 และโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) จึงได้สำรวจบนที่ดินของนางวรสุรางค์ โฉมทรัพย์เย็น พบว่าน่าจะเป็นแหล่งฝังศพ พบเครื่องมือสะเก็ดหิน และเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน (กรมศิลปากร, 2534, 175)

 

- พ.ศ. 2530 วิชัย ตันกิตติกร นักโบราณคดีจากหน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ขุดค้นพบกระดูกมนุษย์ 7 โครง พร้อมกับสิ่งของอุทิศให้ผู้ตายได้แก่ ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ เครื่องมือหิน และเครื่องมือเหล็ก (วิชัย ตันกิตติขจร, 2532, 128-129)

 

- พ.ศ. 2539-2541 ทรรศนะ โดยอาษา และนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส นำโดย ฌอง-ปิแอร์ โปโทร ขุดค้นพบหลุมฝังศพ 4 หลุม หนึ่งในจำนวนนี้มีหลุมฝังศพเด็กเล็ก ฝังในลักษณะนอนหงาย พบว่ามีการใส่ภาชนะดินเผาเป็นสิ่งของฝังร่วมกับศพ (สมถวิล สุขเลี้ยง, 2551, 32 อ้าง ฌอง-ปิแยร์ โปโทร และคณะ, 2546, 139)

 

- พ.ศ. 2539 สายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดีสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่ ขุดค้นพบหลักฐานการฝังศพ และพบหลักฐานสามารถแบ่งชั้นวัฒนธรรมได้ 3 ชั้นแสดงการอยู่อาศัยต่อเนื่องจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยล้านนา (สายันต์ ไพรชาญจิตร์ และสุภมาศ ดวงสกุล,, 2540, 76)

 

- พ.ศ. 2540 ฌอง-ปิแอร์ โปโทร และคณะ ขุดค้นพบโครงกระดูก 4 โครง เป็นผู้ใหญ่ 3 โครง และโครงกระดูกเด็ก 1 โครง (สมถวิล สุขเลี้ยง, 2551, 32อ้าง ฌอง-ปิแยร์ โปโทร และคณะ, 2546, 139)

 

- พ.ศ. 2540 ผลการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสภาพภูมิศาสตร์กับปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมสมัยก่อนล้านนาในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำกวง พบว่าชุมชนลุ่มแม่น้ำกวงพัฒนาขึ้นมาได้โดยมีปัจจัยด้านภูมิสัณฐานที่เอื้ออำนวย มีระยะห่างจากแม่น้ำกวงและแหล่งน้ำอื่นๆที่เหมาะสม (สายันต์ ไพรชาญจิตร์ และสุภมาศ ดวงสกุล, 2540)

 

- พ.ศ. 2541ฌอง-ปิแอร์ โปโทร และคณะ ขุดค้นพบหลุมฝังศพจำนวน 17 หลุม สิ่งของอุทิศได้แก่ ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ เครื่องมือหิน และเครื่องมือเหล็ก มีร่องรอยหลักฐานการเผาไหม้อื่นๆ (สมถวิล สุขเลี้ยง, 2551, 33)

แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย โดยสมัยแรกสุดพื้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮเป็นแหล่งฝังศพในช่วงสมัยเหล็กตอนปลาย หรืออายุราว 1,500 ปีมาแล้ว โดยกำหนดอายุจากกระดูกเผาไฟโดยวิธี Tandetron ได้ค่าอายุ 1490 ±50 ปี (ฌอง-ปิแยร์ โปโทร และคณะ, 2546, 143)

แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ได้รับการค้นพบโดยบังเอิญเมื่อปี พ.ศ.2529 จากการขุดบ่อเลี้ยงปลาในที่ดินของชาวบ้าน โดยพบหลักฐานโบราณวัตถุต่างๆ อยู่ร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ (กรมศิลปากร, 2530, 10)

แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮแสดงให้เห็นกลุ่มชนที่มีลักษณะสังคมดั้งเดิมที่มีอายุตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็กตอนปลาย หรือราว 1,500 ปีมาแล้วสมัยหนึ่ง และสมัยประวัติศาสตร์ที่รับวัฒนธรรมหริภุญชัยราวพุทธศตวรรษที่ 17 อีกสมัยหนึ่ง ทั้งนี้ในสมัยหลังนี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชนที่บ้านวังไฮไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่เป็นสังคมที่ยังคงมีประเพณีการฝังศพแบบสังคมดั้งเดิมแต่มีการรับวัฒนธรรมภายนอกได้แก่วัฒนธรรมทวารวดีจากภาคกลาง เช่น เครื่องประดับกำไลแก้ว ลูกปัดคาร์เนเลี่ยน ลูกปัดแก้ว เป็นต้น (วิชัย ตันกิตติขจร, 2532, 128-129)

- ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

- จากตัวจังหวัดลำพูน บริเวณอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ใชช้ทางหลวงหมายเลข 106 (ถนนลำพูน-ป่าซาง) ไปทางใต้หรือไปทาง สภ.เมืองลำพูน ไปตามถนนประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ซอยที่มุ่งหน้าเทศบาลตำบลต้นธง (ซอยอยู่ตรงข้ามวัดสันต้นธง) ไปตามทางประมาณ 600 เมตร พบสามแยก ให้เลี้ยวขวาใช้ถนนสนามกีฬา ไปตามทางประมาณ 500 เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงชนบท ลพ.004 ไปตามทาง (สะพานข้ามแม่น้ำกวง) ประมาณ 180 เมตร พบสามแยกให้เลี้ยวซ้าย ไปอีกประมาณ 20 เมตร พบสามแยกให้เลี้ยวขวา ไปตามทางอีก 1.2 กิโลเมตร จะพบแหล่งโบราณคดีอยู่ทางขวามือ ลึกเข้าไปจากถนนประมาณ 200 เมตร

- วิชัย ตันกิตติขจร. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ลำพูน. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี, 2532.

- ฌอง-ปิแยร์ โปโทร และคณะ. บ้านวังไฮ แหล่งฝังศพโบราณยุคเหล็กในภาคเหนือของประเทศไทย. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์ม, 2546.

- ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย. บ้านวังไฮ. เข้าถึงได้จากhttps://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/60

No Gallery