ที่ตั้ง | อ.ห้วยยอด จ.ตรัง |
พิกัด | 7.79235 N, 99.5261 E |
อายุสมัย | ก่อน 1,600 ปีมาแล้ว |
แหล่งน้ำสำคัญ | แม่น้ำตรัง |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | สุวรรณภูมิ ทองคำ ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ลูกปัดโมเสก |
แกลเลอรี |
|
ชื่อแหล่ง : | เขาคุรำ |
ที่ตั้ง : | อ.ห้วยยอด จ.ตรัง |
พิกัด : | 7.79235 N, 99.5261 E |
อายุสมัย : | ก่อน 1,600 ปีมาแล้ว |
แหล่งน้ำสำคัญ : | แม่น้ำตรัง |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : | สุวรรณภูมิ ทองคำ ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ลูกปัดโมเสก |
ยุคสมัย : | สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น |
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : | 20 พ.ย. 2567 |
-พ.ศ. 2563-2564 สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กรมศิลปากรได้มีโครงการสำรวจและปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีในอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าสนใจบริเวณ “กลุ่มแหล่งโบราณคดีเขานุ้ย - เขาคุรำ – เขาหัวพาน” ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ชิ้นส่วนทองคำ ลูกเต๋าทำจากงาช้าง ลูกปัดทำจากหิน แก้ว ทอง ชิ้นส่วนเครื่องมือโลหะ เบ็ด เมล็ดข้าว ภาชนะดินเผาสามขา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันทางชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านนาเปขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่พบโดยชาวบ้านไว้
เป็นแหล่งโบราณคดีที่อยู่บริเวณเขาหินปูนพบหลักฐานทั้งในพื้นที่ราบใกล้เชิงเขา และบริเวณถ้ำเพิงผาต่างๆ ขนาดของแหล่งยากที่จะประเมิน อาจมีขนาดพื้นที่ประมาณ 3.61 เฮกตาร์ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ตั้งอยู่ตอนกลางของแม่น้ำตรัง พื้นที่โดยรวมเหมาะกับการอยู่อาศัย จึงเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถ้ำหลายแห่งบริเวณนี้จึงมักพบหม้อสามขาอยู่ดด้วย
จากการขุดค้นของกรมศิลปากรพบว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้กำหนดอายุได้ 1620+/-30 ปีมาแล้ว หรือตกราวพุทธศตวรรษที่ 8-9 สำหรับโบราณวัตถุที่พบได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้วแบบอินโดแปซิฟิก ลูกปัดคาร์เนเลียน อะเกต และอเมทิสต์ นอกจากนี้แล้วยังพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ อีก อาทิ ชิ้นส่วนทองคำ ลูกเต๋าทำจากงาช้าง เครื่องประดับทองคำ ชิ้นส่วนเครื่องมือโลหะ เบ็ด เมล็ดข้าว ชิ้นส่วนภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ เป็นต้น รูปแบบของลูกปัดที่แหล่งโบราณคดีเขาคุรำนี้พบว่ามีลักษณะร่วมกันกับที่พบที่แหล่งโบราณคดีคลองท่อม โดยเฉพาะลูกปัดแบบโมเสคที่เรียกกันว่า “ธงชาติ” และ “ม้าลาย” และลูกปัดแก้วสีเขียวสด ดังนั้น จึงย่อมมีความสัมพันธ์กัน
สำหรับโบราณวัตถุที่น่าสนใจคือ ลูกปัดทองคำทรงตระกร้อแบบ Roman dodecahedron ซึ่งพบที่แหล่งโบราณคดีเพิงผาเขาหูแกง โดยผู้ค้นพบเล่าว่าได้ค้นพบร่วมกับศพ และยังมีเครื่องประดับอื่นด้วย ได้แก่ ลูกปัดคาร์เนเลียน และอะเกต นอกจากนี้ยังมีภาชนะดินเผา ซึ่งเท่าที่ประเมินเบื้องต้นเป็นภาชนะแบบซาหวิ่น-คาลานาย
ไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา. โครงการสำรวจและปรับปรุงฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีในอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. 2564