หน้าแรก แหล่งโบราณคดี บางกล้วยนอก

บางกล้วยนอก

ที่ตั้ง บ้านบางกล้วยนอก ม.3 ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง
พิกัด 9.401292728407244 N, 98.42564674412253 E
อายุสมัย ก่อน 2,000 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ คลองบางกล้วย
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ สุวรรณภูมิ ตราประทับทองคำ
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

56

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

13 พ.ย. 2567

บางกล้วยนอก

team
  • บางกล้วยนอก
ชื่อแหล่ง : บางกล้วยนอก
ที่ตั้ง : บ้านบางกล้วยนอก ม.3 ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง
พิกัด : 9.401292728407244 N, 98.42564674412253 E
อายุสมัย : ก่อน 2,000 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ : คลองบางกล้วย
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : สุวรรณภูมิ ตราประทับทองคำ
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 20 พ.ย. 2567

- พ.ศ. 2550 สำนักโบราณคดีที่ 15 ภูเก็ตได้ดำเนินการสำรวจและเขียนรายงานไว้ในรายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีเขากล้วย มีการพบเศษภาชนะดินเผาลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว จากการวิเคราะห์พบว่าเป็นชุมชนในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกับโบราณคดีภูเขาทอง (แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง แหล่งโบราณคดีปากจั่น แหล่งโบราณคดีไร่ใน แหล่งโบราณคดีบ้านนาเหนือ แหล่งโบราณคดีเขากล้วย แหล่งโบราณคดีบ้านบางกล้วย)

- พ.ศ. 2554 เชาวณา ไข่แก้ว ได้นำข้อมูลจากรายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีเขากล้วยของกรมศิลปากร มาประกอบการทำยานนิพนธ์เรื่องการศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยตอนบน

          ตั้งอยู่ทางเหนือของแหล่งโบราณคดีภูเขาทองห่างออกไป 2.32 กิโลเมตร ระหว่างสองแหล่งโบราณคดีนี้มีแม่น้ำบางกล้วยกั้นอยู่เท่านั้น ดังนั้น จึงถือว่าเป็นกลุ่มแหล่งโบราณคดีเดียวกันกับภูเขาทอง และหลักฐานพบว่ามีความเหมือนกันอย่างมาก สภาพของแหล่งโบราณคดีมีลักษณะเป็นเนินเขาลาดชันแล็กน้อย ความพิเศษของแหล่งโบราณคดีแห่งนี้คือมีการทำกำแพงดินขนาดเล็กด้วย ความยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 150 เมตร เมื่อพ้นจากขอบของแนวคันนี้จะมีการขุดดินเป็นร่องลงไปตามไหล่เขา และทางด้านทิศเหนือพบว่ามีการทำบันไดหินด้วย ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า บางกล้วยนอกมีลักษณะเป็นเมืองป้อม เดิมทีอาจมีการล้อมรอบด้วยกำแพงไม้ เท่าที่เดินสำรวจด้วยการวัดขนาดพบว่าทิศเหนือ-ใต้มีขนาดความยาวประมาณ 150 เมตร ทิศตะวันออกตะวันตกมีขนาดประมาณ 80 เมตร

          โบราณวัตถุที่พบที่แหล่งโบราณคดีนี้ไม่ต่างกันมากนักกับภูเขาทอง ประกอบด้วยลูกปัดแก้วแบบอินโดแปซิฟิก ลูกปัดเลียนแบบหินอะเกต (imitated agate) ลูกปัดแก้วแบบห่อทองคำ (gold foiled bead) จากโรมัน ลูกปัดหินคาร์เนเลียน อะเกต อเมทิสต์ ควอทซ์ และอีกหลายชนิด เครื่องประดับทองคำ ที่สำคัญคือ ตราประทับทำด้วยทองคำด้านหลังมี 2 ห่วง ปรากฎจารึกอักษรอักษรพราหมี ภาษาปรากฤต ขนาด 1.90 X 1.83 X 0.6 ซม.ตรงกลางเป็นรูปภัทรบิฐ หรือ บัณเฑาะว์ อันเป็นสัญลักษณ์มงคลในศาสนาพุทธ-พราหมณ์ และปรากฎอักษร 14 ตัว ใจความคำอ่านว่า พฺรหสฺปติศรฺมส นาวิกสคำแปลว่า ของพรหัสปติศรมัน ผู้เป็นนายเรือซึ่งคำดังกล่าวนั้นเป็นภาษาปรากฤต สันนิษฐานตามรูปแบบอักษรและภาษาว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 3 – 4

ไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

เชาวณา ไข่แก้ว. “การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยตอนบน. ”วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์) ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.

 

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). 2562. สุวรรณภูมิ ภูมิอารยธรรมเชื่อมโลก. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน).