หน้าแรก แหล่งโบราณคดี บ้านในหยาน

บ้านในหยาน

ที่ตั้ง ต.พะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร
พิกัด 9.75894 N, 98.76096 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 500-1,000 ถึง
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำหลังสวน, คลองปากทรง (คลองพะโต๊ะ), คลองสอก
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ สุวรรณภูมิ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดแก้ว แม่น้ำหลังสวน
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

75

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

12 พ.ย. 2567

บ้านในหยาน

team
  • แหล่งโบราณคดีบ้านในหยาน
ชื่อแหล่ง : บ้านในหยาน
ที่ตั้ง : ต.พะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร
พิกัด : 9.75894 N, 98.76096 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 500-1,000 ถึง
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่น้ำหลังสวน, คลองปากทรง (คลองพะโต๊ะ), คลองสอก
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : สุวรรณภูมิ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดแก้ว แม่น้ำหลังสวน
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ยุคหินใหม่
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 12 พ.ย. 2567

- พ.ศ. 2552 บัญชา พงษ์พานิช จากหนังสือรอยลูกปัด บทที่ 4 ตอนที่ 4 เรื่องความสัมพันธ์เชิงการค้าข้ามทวีปบนดินแดนภาคใต้ตอนบนเมื่อ 2000 กว่าปีที่แล้ว ได้กล่าวถึงการสำรวจพบลูกปัดและชิ้นส่วนกรองมโหระทึกบนสันเขาสูงริมแม่น้ำพะโต๊ะหรือแม่น้ำหลังสวนบริเวณบ้านในหยาน

 

- พ.ศ. 2554 เชาวณา ไข่แก้ว ได้สำรวจพื้นที่แหล่งโบราณคดีนี้และสัมภาษณ์นายกำพล อินเกล้า อดีตผู้ใหญ่บ้านและ นางสาวสนธยา มีราช ชาวบ้านในบ้านในหยาน ได้ข้อมูลว่าเมื่อครั้งทำถนนเข้ามาในหมู่บ้านชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านได้พบวัตถุโบราณต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ไม่ได้เก็บรักษาไว้ เช่น ขวานหินขัดไม่มีบ่า (สีเหลือง) เศษภาชนะดินเผาเนื้อละเอียดมีรอยซี่ฟันเฟือง ลูกปัดแก้ว กำไลแก้ว หยก เศษทอง และลูกปัดทองคำ ชิ้นส่วนของกองมโหระทึกจำนวนสองชิ้นและให้มีหู

 

- พ.ศ. 2557 สารัท ชลอสันติสกุล และคณะได้ทำการสำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดชุมพร พร้อมทั้งสัมภาษณ์นายสมศักดิ์ อาวรณ์ ให้ข้อมูลว่ามีการพบโบราณวัตถุในพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่สมัยที่ทางการเข้ามาปรับผิวถนนลูกรังให้เป็นถนนลาดยาง ของที่พบได้แก่ ลูกปัดหิน ลูกปัดแก้ว เศษทองคำ เศษภาชนะดินเผาสีดำ ลูกปัดดินเผาสภาพชำรุด ชิ้นส่วนขวานหินขัด และหน้ากลองมโหระทึกขนาดกว้าง 48 เซนติเมตรปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ชุมพร

          แหล่งโบราณคดีในหยาน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร พิกัด 9.75894, 98.76096 ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ในที่ดินของเอกชน แหล่งมีขนาด 1.13 เฮกตาร์ บริเวณตัวแหล่งโบราณคดีเป็นจุดสบกันของแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำปากทรงและคลองศอก ก่อนที่จะรวมกันแล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำหลังสวน ทำให้เป็นตำแหน่งที่ตั้งที่ดีต่อการตั้งถิ่นฐาน แหล่งโบราณคดีในหยานอยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีบ้านโหมงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 21 กิโลเมตร

          สภาพของแหล่งถูกทำลายไปมาจากการขุดหาโบราณวัตถุพบเศษภาชนะดินเผา ลูกปัดชนิดต่างๆ ทั้งลูกปัดแก้ว และลูกปัดหินทำจากหินคาร์เนเลียน หินอะเกต คริสตัล จากคำบอกเล่าของชาวบ้านมีปริมาณไม่มากนัก นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือหินขัดขนาดใหญ่ ซึ่งคงไว้ใช้ตัดต้นไม้หรือขุดเรืออีกด้วย โบราณวัตถุบางส่วนจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

ไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

บัญชา พงษ์พานิช. รอยลูกปัด. กรุงเทพฯ: มติชน, 2552

 

เชาวณา ไข่แก้ว. “การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยตอนบน. ”วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์) ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.

 

สารัท ชลอสันติสกุล และคณะ. รายงานสำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดชุมพร เล่ม 1. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร, 2557.