ที่ตั้ง | ม. 5 ต.ปังหวาน (ต.พระรักษ์) อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร |
พิกัด | 9.90546 N, 98.92328 E |
อายุสมัย | ก่อน ปี พ.ศ. 500-1,100 |
แหล่งน้ำสำคัญ | แม่น้ำหลังสวน |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | กลองมโหระทึก ลูกปัดหินคาร์เนเลียน เส้นทางข้ามคาบสมุทร knobbed ware ลูกปัดแก้ว กำไลทำจากหินโอนิก แม่พิมพ์ขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก |
แกลเลอรี |
|
ชื่อแหล่ง : | บ้านปังหวาน |
ที่ตั้ง : | ม. 5 ต.ปังหวาน (ต.พระรักษ์) อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร |
พิกัด : | 9.90546 N, 98.92328 E |
อายุสมัย : | ก่อน ปี พ.ศ. 500-1,100 |
แหล่งน้ำสำคัญ : | แม่น้ำหลังสวน |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : | กลองมโหระทึก ลูกปัดหินคาร์เนเลียน เส้นทางข้ามคาบสมุทร knobbed ware ลูกปัดแก้ว กำไลทำจากหินโอนิก แม่พิมพ์ขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก |
ยุคสมัย : | สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น |
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : | 12 พ.ย. 2567 |
- พ.ศ. 2517 ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ ในหนังสือ โบราณวัตถุสถานในภาคใต้ตอนเหนือ รวม 7 จังหวัด ได้สำรวจพบเครื่องมือหินชนิดมีบ่าตัวขวางยาวใหญ่ขนาดขนาดและรูปร่างต่างๆกันจำนวนมาก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการตัดถนนสายราชกรูดหลังสวนเมื่อปีพ.ศ. 2514 ในเขตตำบลบังหวานหรือตำบลพระรักษ์ในปัจจุบันระดับความลึก 2 เมตรจากผิวดินพบเครื่องมือหินดังกล่าวจำนวนหนึ่งปัจจุบันบางชิ้นจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติชุมพร
- พ.ศ. 2554 เชาวณา ไข่แก้ว ได้ทำการสำรวจแหล่งโบราณคดีบ้านปังหวานและสัมภาษณ์ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอพะโต๊ะรวมทั้งรองนายกฯอบต. ตำบลปังหวานได้ข้อมูลว่ามีประชาชนขุดพบลูกปัดโบราณและเศษกระออมไหใบเล็ก บริเวณบริเวณริมน้ำหลังสวนที่ตำบลบางหวานนอกจากนี้ยังพบลูกปัดทองคำจำนวนหนึ่งเม็ดและลูกปัดแก้วอีกจำนวนหนึ่งในบริเวณนี้ด้วย
แหล่งโบราณคดีบ้านปังหวาน ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีเขาเสกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อยไปประมาณ 17.6 กิโลเมตร หรือลึกเข้ามาตอนกลางของคาบสมุทร แหล่งโบราณคดีแห่งนี้มีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยโบราณวัตถุสำคัญพบที่ริมตลิ่งของแม่น้ำหลังสวนทางด้านทิศตะวันออก และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านที่ครอบครองโบราณวัตถุบอกว่าที่ตลิ่งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำหลังสวนพบโบราณวัตถุเช่นกัน แต่ชาวบ้านที่ครอบครองไม่อนุญาตให้ดูโบราณวัตถุ
หลักฐานสำคัญที่พบได้แก่ กลองมโหระทึกจำนวน 1 ใบ เป็นกลองแบบ Heger I ความน่าสนใจของการค้นพบกลองมโหระทึกนี้คือ ภายในกลองบรรจุไปด้วยชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ สภาพของกระดูกซับสนิมทองแดงทำให้มีสีค่อนข้างเขียว นอกจากนี้ยังพบลูกปัดแก้วขนาดเล็ก ลูกปัดคาร์เนเลียนเม็ดส้ม-แดงลูกกลมขนาดใหญ่ (เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 2 เซนติเมตร) กำไลทำจากหินโอนิก แหวนทำจากหินคาร์เนเลียน และแม่พิมพ์ขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก และชิ้นส่วนภาชนะสำริดที่มีเดือย (knobbed ware) สะท้อนว่าเป็นของจากอินเดีย นอกกลองมโหระทึกพบเศษภาชนะดินเผา
จากหลักฐานที่พบและจากสภาพพื้นที่ แหล่งโบราณคดีปังหวานคงเป็นที่ตั้งของชุมชนที่เป็นที่พักระหว่างการเดินทางข้ามคาบสมุทร สุธรรม ทิพย์มโนสิงห์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปังหวานเล่าให้ฟังว่า ในสมัยก่อนนั้น ปังหวานเป็นท่าเรือของคนที่เดินทางข้ามจากชุมพรไประนอง โดยเส้นทางจะเริ่มต้นจากบางยี่โร จากนั้นไปบ้านด่านคือ เขาเสก จากนั้นไปวังตะกอ หาดยาย (ท่ามะปลา) วัดถ้ำ แล้วมาถึงปังหวาน จากนั้นไปบ้านโหมง พะลัก คลองแย พะโต๊ะ และปากทรง จากจุดนี้เรือหรือแพจะต้องหยุด แล้วขึ้นช้างกันต่อเพื่อลงไปทางระนองเริ่มต้นจากไปที่บ้านนมสาว ราชกรูด และวัดปทุมธารารามในเขตอำเภอกะเปอร์
ไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. โบราณวัตถุสถานในภาคใต้ตอนเหนือรวม 7 จังหวัด. กรุงเทพฯ: ศิลปากร, 2517.
วิสันธนี โพธิสุนทร เรียบเรียง. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2542.
เชาวณา ไข่แก้ว. “การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยตอนบน. ”วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์) ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.