หน้าแรก แหล่งโบราณคดี ขะเมายี (Khamaukgyi)

ขะเมายี (Khamaukgyi)

ที่ตั้ง จังหวัดมะลิวัลย์ ประเทศเมียนมา
พิกัด 10.324698750293024 N, 98.62962268333966 E
อายุสมัย ระหว่าง 2,000 ถึง 1,500 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ คลองตัดผ่านด้านตะวันตกไปลงปากอ่าวที่บ้านอ่าวใหญ่ หรือ อ่าวกยี, แม่น้ำกระบุรี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ ก่อนประวัติศาสตร์ตอนต้น ลูกปัด ภาชนะดินเผา เครื่องประดับทองคำ พม่า หยกเนไฟรต์
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

65

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

12 พ.ย. 2567

ขะเมายี (Khamaukgyi)

team
  • สภาพแหล่งโบราณคดีขะเมายี
ชื่อแหล่ง : ขะเมายี (Khamaukgyi)
ที่ตั้ง : จังหวัดมะลิวัลย์ ประเทศเมียนมา
พิกัด : 10.324698750293024 N, 98.62962268333966 E
อายุสมัย : ระหว่าง 2,000 ถึง 1,500 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ : คลองตัดผ่านด้านตะวันตกไปลงปากอ่าวที่บ้านอ่าวใหญ่ หรือ อ่าวกยี, แม่น้ำกระบุรี
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : ก่อนประวัติศาสตร์ตอนต้น ลูกปัด ภาชนะดินเผา เครื่องประดับทองคำ พม่า หยกเนไฟรต์
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 12 พ.ย. 2567

เป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการสำรวจและมีการขุดค้นทางโบราณคดี แต่รายงานยังไม่มีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ 

         แหล่งโบราณคดีขะเมายี มีคลองตัดผ่านด้านตะวันตกไปลงปากอ่าวที่บ้านอ่าวใหญ่ หรือ อ่าวกยี (Aw Gyi) ด้านตะวันออกมาลงที่แม่น้ำกระบุรีใกล้กับเขาฝาโถ อ.ละอุ่น จ.ระนอง

          โบราณวัตถุที่พบในแหล่งโบราณคดีนี้มีความสำคัญมาก เพราะพบโบราณวัตถุในปริมาณมหาศาล มีความหลากหลายสูง และมีมูลค่ามาก และยังสะท้อนการติดต่อกับอินเดียโบราณอย่างชัดเจน โบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น ตุ้มหูทองคำที่มีสัญลักษณ์ของความเป็นชนชั้นสูงของอินเดีย เครื่องทอง ลูกปัดหลากหลายชนิดทั้งลูกปัดแก้ว และลูกปัดหินทุกชนิดทุกแบบ เช่น คาร์เนเลียน อเมทิสต์ หยกเนไฟรต์ (nephrite) ลูกปัดสัญลักษณ์ทั้งรูปศรีวัตสะ ตรีรัตนะ สิงโต ม้า ช้าง โค ซึ่งเป็นสัตว์สำคัญของคติจักรพรรดิ ตราประทับจากอินเดีย-โรมัน ชิ้นส่วนประติมากรรมแบบอินเดียโบราณสมัยราชวงศ์โมริยะ และอื่นๆ อีกมาก (GISTDA 2562)

ไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

บัญชา พงษ์พานิช. (9 เมษายน 2561). ณ นครป่าหมากแห่งขะเมายี้ PenangaGrooveAtKhaMaoYee [อัลบั้ม]. Facebook. https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2047501672204960&type=3&_rdr

 

GISTDA (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). สุวรรณภูมิ ภูมิอารยธรรมเชื่อมโยงโลก (Suvarnabhumi Terra Incognita). กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน), 2562.