หน้าแรก แหล่งโบราณคดี เขาตาพลาย

เขาตาพลาย

ที่ตั้ง บ.อีแบ้ ม.4 ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
พิกัด 10.60401 N, 99.09745 E
อายุสมัย ระหว่าง 4,200 ถึง 2,700 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ คลองรับร่อ, คลองท่าตะเภา
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

59

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

12 พ.ย. 2567

เขาตาพลาย

team
  • ภายในโถงถ้ำของแหล่งโบราณคดีเขาตาพลาย
ชื่อแหล่ง : เขาตาพลาย
ที่ตั้ง : บ.อีแบ้ ม.4 ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
พิกัด : 10.60401 N, 99.09745 E
อายุสมัย : ระหว่าง 4,200 ถึง 2,700 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ : คลองรับร่อ, คลองท่าตะเภา
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
ยุคสมัย : ยุคโลหะ ยุคหินใหม่ เครื่องมือหินกะเทาะ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ขวานหินขัด ชิ้นส่วนหม้อสามขา ซาหวิ่น-คาลานาย Sa Huynh – Kalanay ชิ้นส่วนสำริด ชิ้นส่วนเหล็ก ลูกปัดหิน ลูกปัดเปลือกหอย ลูกปัดแก้ว ภาชนะดินน้ำดินสีแดง คาร์เนเลียน อเมทิสต์
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 12 พ.ย. 2567

- กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ชุมพร เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2557.

 

-จุตินาฏ บวรสาโชติ. “การขุดค้นแหล่งโบราณคดีเพิงผาเขาตาพลาย ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร,” รายงานการบรรยายและเสวนาคาบสมุทรภาคใต้ตอนบนของไทย ข้อมูลใหม่จากหลักฐานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2564.

          แหล่งโบราณคดีเขาตาพลาย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้วเป็นระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เชื่อมต่อกันด้วยคลองรับร่อที่จะไหลไปลงคลองท่าตะเภา แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นภูเขาหินปูน ไม่ได้มีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัยแบบเขาสามแก้วที่เป็นเขาหินดินดาน ตัวแหล่งโบราณเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่อยู่สูงจากพื้นราบ จึงไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยถาวรหรือทำเป็นบ้านขนาดใหญ่ คาดว่าในอดีตอาจเป็นที่พักของคนที่อยู่อาศัยกันเป็นสังคมขนาดเล็ก พอเข้าสู่สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ได้กลายเป็นที่พักของคนเดินทาง หรือในอีกทางหนึ่งอาจจะเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนขนาดเล็กที่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับเขาสามแก้ว เพราะมีการขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากรและพบลูกปัดด้วย ขนาดของแหล่งโบราณคดีมีขนาด 0.181 เฮกตาร์ แต่ถ้าพิจารณาว่าอาศัยอยู่ได้เฉพาะในพื้นที่ถ้ำเท่านั้นก็จะเล็กกว่านั้นมาก เพราะโถงถ้ำมีขนาดประมาณ 40 ตร.ม. เท่านั้น

 

โบราณวัตถุที่พบในแหล่งโบราณคดีมีความต่อเนื่องจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยเครื่องมือหินกะเทาะ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ขวานหินขัด ชิ้นส่วนหม้อสามขา เศษภาชนะดินเผาที่มีลวดลายคล้ายกับภาชนะแบบซาหวิ่น-คาลานาย (Sa Huynh – Kalanay) ชิ้นส่วนสำริด ชิ้นส่วนเหล็ก กระดูกสัตว์ ลูกปัดหิน ลูกปัดเปลือกหอย และลูกปัดแก้ว เป็นต้น  (กรมศิลปากร 2557: 78-81) จากการขุดค้นในปี 2557 สามารถแบ่งอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีนี้ออกได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยหินใหม่ อายุอยู่ระหว่าง 4,200-2,800 ปีมาแล้ว พบว่าคนกลุ่มนี้ดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ และมีการใช้พื้นที่นี้อย่างยาวนานมาจนถึงสมัยโลหะ สมัยที่สอง สมัยโลหะ มีอายุระหว่าง 2,500-2,000 ปีมาแล้ว พบหลักฐานหลายชนิดได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ลูกปัดแก้วและหิน (จุตินาฏ บวรสาโชติ 2564: 136-149)

 

และจากภาพผนังชั้นดินและโบราณวัตถุอาจสรุปใหม่ว่า ในช่วง 4,200-2,700 ปี ยังเป็นสังคมล่าสัตว์หาของป่าที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ ต่อมาราว 2,500 ปี ชั้นดินที่สองต่อชั้นดินที่สามพบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีการติดต่อกับคนภายนอกชัดเจน พบว่ามีการใช้เครื่องมือหินขัด และยังพบเครื่องมือหินกะเทาะอยู่ด้วย พบภาชนะดินน้ำดินสีแดง หรือเขียนสีแดง พบภาชนะแบบซาหวิ่น-คาลานาย พบชิ้นส่วนหม้อสามขา พบลูกปัดแก้วและหิน เช่น คาร์เนเลียน อเมทิสต์ เป็นต้น

- ยังไม่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นเพียงแหล่งโบราณคดีและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน 

กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ชุมพร เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2557.

จุตินาฏ บวรสาโชติ. “การขุดค้นแหล่งโบราณคดีเพิงผาเขาตาพลาย ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร,” รายงานการบรรยายและเสวนาคาบสมุทรภาคใต้ตอนบนของไทย ข้อมูลใหม่จากหลักฐานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2564.