หน้าแรก แหล่งโบราณคดี เขาเสก

เขาเสก

ที่ตั้ง เขาเสก หมู่ที่ 4 ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร
พิกัด 9.961375 N, 99.076382 E
อายุสมัย ระหว่าง 2,000 ถึง 1,500 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ หลังสวน
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ สุวรรณภูมิ ลิงลิงโอ กึ่งประวัติศาสตร์ Roman dodecahedron ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดคาร์เนเลียนเขียนลาย เครื่องประดับทองคำ แม่พิมพ์เครื่องประดับ
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

487

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

12 พ.ย. 2567

เขาเสก

team
  • ลูกปัดพบในแหล่งโบราณคดีเขาเสก
ชื่อแหล่ง : เขาเสก
ที่ตั้ง : เขาเสก หมู่ที่ 4 ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร
พิกัด : 9.961375 N, 99.076382 E
อายุสมัย : ระหว่าง 2,000 ถึง 1,500 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ : หลังสวน
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : สุวรรณภูมิ ลิงลิงโอ กึ่งประวัติศาสตร์ Roman dodecahedron ลูกปัดหินอะเกต ลูกปัดคาร์เนเลียนเขียนลาย เครื่องประดับทองคำ แม่พิมพ์เครื่องประดับ
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 4 ม.ค. 2567

การค้นพบแหล่งโบราณคดีนี้เกิดขึ้นจากความบังเอิญ โดยนายชูศักดิ์ ช่วยบำรุง (ปัจจุบันอายุ 60 ปี) และ นางวันเพ็ญ ช่วยบำรุง (ปัจจุบันอายุ 55 ปี) เล่าว่า "เมื่อ 7 ปีก่อนในขณะที่ขุดดินปรับพื้นที่ มีการไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เพื่อขออนุญาติตามปกติ เนื่องจากทราบว่าพื้นที่บริเวณภูเขาเสกเป็นเมืองเก่าในอดีต คืนนั้นก็ฝันว่ามีชายโบราณแต่งกายนุ่งผ้าโจมกระเบนแดง มีลูกปัดและเครื่องทองคำประดับไปทั่วทั้งลำตัว เดินถือดาบ เข้ามาบอกว่า “ให้ขุดเอาสมบัติของแผ่นดินขึ้นมาให้คนในชาติได้เก็บไว้” นายชูศักดิ์บอกว่า “ไม่มีเวลาเพราะงานมาก และ ไม่มีความรู้เรื่องของโบราณ อีกทั้งที่ดินก็เป็นของญาติไม่ใช่ของนายชูศักดิ์ “ ชายโบราณ ในฝันกล่าวว่า “ถ้ารับปากจะทำ จะจัดการเรื่องที่ดินให้” แล้วสะดุ้งตื่นขึ้นมา พร้อมๆ กับที่นางวันเพ็ญตื่นขึ้นมานั่งหน้าตาตื่นเช่นเดียวกัน เมื่อสอบถามก็พบว่า ฝันในเรื่องเดียวกัน ในช่วงเช้าจึงไปสำรวจพื้นทั้ง 14 ไร่ อย่างละเอียด พบว่าในก้อนดินที่สไลด์ลงมาจากภูเขา มีวัตถุโบราณ ปะปนอยู่จำนวนมาก  จึงปรึกษาภรรยาว่าจะทำอย่างไรกันดี ตัดสินใจนำวัตถุโบราณเหล่านั้นไป ปรึกษา พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์ อดีต ผบช.น. และ อดีต สส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์  พล.ต.ท.วรรณรัตน์เดินทางเข้าไปดูแล้วบอกว่า ให้ปิดเรื่องให้เงียบเพื่อป้องกันพวกขุดวัตถุโบราณมาขุดคุ้ยไปขาย หลังจากนั้นให้ใช้เวลารวบรวมวัตถุโบราณเหล่านั้นให้ได้มากที่สุดในพื้นที่ 14 ไร่ และเมื่อกลับมาถึงบ้านในวันนั้นพบว่า ญาติซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้มาติดต่อขอให้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว โดยไม่ได้บอกอะไร  แต่ให้นายชูศักดิ์ช่วยซื้อ นายชูศักดิ์จึงตัดสินใจซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว  พร้อมทั้งลงมือสร้างบ้านยกพื้นสูง ให้ ภรรยา และ ลูกน้องคนสนิท2-3 คน ออกสำรวจพื้นที่ทั้งหมด และเก็บรวบรวมวัตถุโบราณที่พบในกองดิน ที่สไลด์ลงมาจากยอดภูเขาสูง รวมถึงบางส่วนต้องขุดหน้าดินลงไปเพียง 50 ซม.ก็ จะพบหม้อ ไห ดิน แตกและ วัตถุโบราณ อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว  หลังจากนั้นจะนำมาทำความสะอาดและเก็บรักษาไว้

จนกระทั่งเมื่อต้นเดือน ส.ค.55 หลังจากรวบรวมวัตถุโบราณได้จำนวนมาก และเรื่องเริ่มระแคะระคายออกไป มีชาวบ้านบางส่วน เริ่มเข้ามาขโมยขุดทั้งใน จุดที่เป็นพื้นที่ของนายชูศักดิ์ และ พื้นที่ใกล้เคียงก็พบวัตถุโบราณเหมือนที่ตนเองพบ  เกรงว่าถ้าชาวบ้านรู้มากจะเกิดอันตรายและ วัตถุโบราณจะสูญหายได้อยู่ในกลุ่มพวกค้าวัตถุโบราณ จึงแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร จ.นครศรีธรรมราช ให้เข้ามาตรวจสอบ และ ประกาศห้ามขุดวัตถุโบราณในบริเวณดังกล่าว  ส่วนที่ตนเองพบและรวบรวมมาได้ ได้ปรึกษากับจนท.กรมศิลปากร และ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ เพื่อนำวัตถุโบราณทั้งหมด ทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และ ถ้าสำเร็จจะถวายที่ดินในบริเวณดังกล่าวอีก 5 ไร่ เพื่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และยกให้เป็นสมบัติของทางราชการ ซึ่งในขณะนี้ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ กำลังประสานงาน กับสำนักพระราชวังให้ด้วย" (เดลินิวส์ 2555 / https://db.sac.or.th/museum/news/119)

ตามที่เจ้าของที่ดินได้เล่าให้ฟังนั้น หลังจากนั้นมีการเข้ามาขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร และนักวิชาการชาวต่างชาติ แต่รายงานดังกล่าวยังเข้าถึงได้ยาก 

          จากคำบอกเล่ากล่าวว่าโบราณวัตถุอยู่ในระดับความลึกใกล้เคียงกันทั้งหมด โบราณวัตถุที่พบมีความหลากหลาย และหลายชิ้นมีมูลค่าสูง ประกอบด้วยเครื่องมือหินขัด ลูกปัดหลากหลายชนิดมีทั้งลูกปัดแก้วขนาดเล็กที่เรียกว่าลูกปัดอินโดแปซิฟิก ลูกปัดหินชนิดต่างๆ เช่น ลูกปัดหินอะเกต คาร์เนเลียน อเมทิสต์ โกเมน ลูกปัดคาร์เนเลียนเขียนลาย (etched beads) และลูกปัดทองคำและเครื่องประทับที่เป็นจี้ทองคำ แผ่นทองคำขนาดเล็ก ลูกปัดทองคำแบบที่น่าสนใจคือ ลูกปัดทรงตระกร้อ หรือ แปดเหลี่ยม แบบที่เรียกว่า “Roman dodecahedron” ซึ่งใช้ กำไลแก้วสีเขียว สีน้ำเงิน และสีแดงทึบ อาจกล่าวได้ว่าชุดหลักฐานไม่ได้แตกต่างไปจากที่เขาสามแก้ว

 

          นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนของกลองมโหระทึก ตุ้มหูแบบลิงลิงโอ แม่พิมพ์สำหรับทำเครื่องประดับ เครื่องมือเหล็กจำนวนมาก ที่น่าสนใจคือดาบสองคม และยังพบชิ้นส่วนขันสำริดแบบดีบุกสูง ทั้งหมดนี้สะท้อนว่าแหล่งโบราณคดีนี้จะต้องมีผู้ปกครองที่มีอำนาจสูง อย่างไรก็ดี ด้วยแหล่งโบราณคดีนี้ที่มีขนาดเล็กจึงย่อมมีศักดิ์ที่น้อยกว่าเขาสามแก้ว (อย่างไรก็ตาม แหล่งโบราณคดีนี้ยังไม่ได้มีการสำรวจอย่างละเอียดมากพอ)

ไม่เหมาะสม

เดลินิวส์. 2555. "ชุมพรเจอแหล่งโบราณนับพันปี รวมวัตถุโบราณหลายพันชิ้น เตรียมถวายสมเด็จพระเทพฯ," https://db.sac.or.th/museum/news/119