หน้าแรก แหล่งโบราณคดี Wari-Bateshwar

Wari-Bateshwar

ที่ตั้ง เมือง Narsingdi เขต Dhaka
พิกัด 24.093 N, 90.825 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 201 ถึง 800
แหล่งน้ำสำคัญ
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ เมืองท่า การค้าทางทะเล ประเทศบังกลาเทศ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว ประเทศไทย แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ แหล่งโบราณคดีหาดปากคลองกล้วย knobbed ware
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

92

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

31 พ.ค. 2566

Wari-Bateshwar

team
  • Wari-Bateshwar
ชื่อแหล่ง : Wari-Bateshwar
ที่ตั้ง : เมือง Narsingdi เขต Dhaka
พิกัด : 24.093 N, 90.825 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 201 ถึง 800
แหล่งน้ำสำคัญ :
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : เมืองท่า การค้าทางทะเล ประเทศบังกลาเทศ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว ประเทศไทย แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ แหล่งโบราณคดีหาดปากคลองกล้วย knobbed ware
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 31 พ.ค. 2566

- ค.ศ.1989 (พ.ศ.2532): เริ่มการสำรวจทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบครั้งแรก

 

- ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543): เริ่มการขุดค้นทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบครั้งแรก นำโดยSufi Mostafizur Rahman นักโบราณคดีจากJahangir Nagar University

Wari-Bateshwar เป็นเมืองท่าสำคัญในช่วง 200ปีก่อนคริสต์ศตวรรษถึงราวศริสต์ศตวรรษที่ 3 (พุทธศตวรรษที่ 3 - 8) ตั้งอยู่บริเวณอ่าวเบงกอล ประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน โดยจากการขุดค้นพื้นที่แหล่งโบราณคดีขนาด 600 x 600 เมตร ซึ่งได้มีข้อสันนิษฐานว่าWari-Bateshwarเป็นชุมชนที่สร้างขึ้นในลักษณะป้อมปราการ (Citadel) เนื่องจากพบคูน้ำล้อมรอบพื้นที่และมีความกว้างประมาณ 30 เมตร รวมทั้งตลอดการศึกษาทางโบราณคดีจนถึงปัจจุบันพบแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 48 แห่ง 

 

ลักษณะของแหล่งโบราณคดีที่พบนั้นสามารถสรุปได้ว่ามีการสร้างที่อยู่อาศัยด้วยอิฐ และมีการสร้างถนนสำหรับสัญจรด้วยปูนขาวและเศษภาชนะดินเผาที่มีความยาวกว่า 160 เมตร นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเตาไฟ ยุ้งฉาง รวมถึงกำแพงกันน้ำแบบขั้นบันไดด้วยเช่นกัน 

 

นอกจากสิ่งก่อสร้างที่พบภายในWari-Bateshwarแล้วยังมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่แสดงถึงอารยธรรมและอาจรวมถึงการมีสถานะเป็นเมืองท่าทั้ง ลูกปัดหิน ลูกปัดแก้ว เหรียญที่มีการตอกหมุดจำนวนมาก เครื่องมือโลหะทั้งจากเหล็ก ทองแดง และทองเหลือง รวมทั้งภาชนะแบบ Black and red ware, Northern Black Polished Ware, Black Slipped Ware และknobbed ware 

 

สำหรับknobbed ware เป็นภาชนะที่มีการผลิตจากทั้งหิน โลหะ และดินเผามีหลากหลายรูปทรงทั้งแบบจานก้นโค้ง หรือจานก้นแบนเป้นต้น โดยมีลักษณะเด่นคือมีปุ่มตรงกลางด้านในของภาชนะ ภาชนะรูปแบบนี้มีการขุดค้นพบในประเทศไทยด้วยเช่นกันโดยพบทั้งในแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ และแหล่งโบราณคดีหาดปากคลองกล้วย จึงแสดงให้เห็นว่าในช่วงสมัยต้นประวัติศาสตร์ชุมชนในพื้นที่ของประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันมีการค้าขายและติดต่อกับชุมชนในประเทศไทย

เปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง (Site Museum) รวมทั้งทางตอนใต้ของแหล่งโบราณคดีมี Gangariddhi Museum ซึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบ

กรมศิลปากร. ภาชนะดินเผา Knobbed Wares. เข้าถึงได้จาก https://www.finearts.go.th/promotion/view/19678-ภาชนะดินเผา-Knobbed-Wares 

 

ไม่ปรากฏผู้เขียน. Wari-Bateshwar. เข้าถึงได้จาก https://en.banglapedia.org/index.php/Wari-Bateshwar.

 

ไม่ปรากฏผู้เขียน. Wari-Bateshwar ruins. เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Wari-Bateshwar_ruins