หน้าแรก แหล่งโบราณคดี บูจังวัลเลย์ (Bujang Valley)

บูจังวัลเลย์ (Bujang Valley)

ที่ตั้ง เมืองMerbok ทางใต้ของรัฐKedah
พิกัด 5.740 N, 100.413 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี ค.ศ. 201 ถึง 1300
แหล่งน้ำสำคัญ
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ เมืองท่า พุทธศาสนา แหล่งผลิตลูกปัด แหล่งผลิตโลหะ ประเทศมาเลเซีย
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

395

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

30 พ.ค. 2566

บูจังวัลเลย์ (Bujang Valley)

team
  • ศาสนสถานที่พบใน Bujang Valley
ชื่อแหล่ง : บูจังวัลเลย์ (Bujang Valley)
ที่ตั้ง : เมืองMerbok ทางใต้ของรัฐKedah
พิกัด : 5.740 N, 100.413 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี ค.ศ. 201 ถึง 1300
แหล่งน้ำสำคัญ :
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : เมืองท่า พุทธศาสนา แหล่งผลิตลูกปัด แหล่งผลิตโลหะ ประเทศมาเลเซีย
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 30 พ.ค. 2566

Bujang Valley เป็นหูบเขาที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐKedah โดยโบราณสถานสำคัญบริเวณตั้งแต่เชิงเขาทางตอนเหนือของเมืองMerbok โดยทั้งนักโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของประเทศมาเลเซียได้ให้ความเห็นว่า Bujang Valley เป็นพื้นที่ที่พบศาสนสถานเก่าแก่ที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยค้นพบศาสนสถานที่เรียกว่า "จัณทิ" (Chandi) ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบในพื้นที่ชวาด้วยเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามนอกจากศาสนสถานที่พบแล้วในพื้นที่ของเมืองMebok รวมทั้งพื้นที่ของเมือง Sugai Patani พบแหล่งโบราณคดีมากมายที่แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมหรือชุมชนขนาดใหญ่ของ Bujang Valley เช่น การขุดค้นพบแหล่งโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมการถลุงโลหะ และผลิตโลหะขนาดใหญ่ โดยพบแถบริมแม่น้ำSungai Batu มีแหล่งโบราณคดีสำคัญชื่อว่าแหล่งโบราณคดี SB2A แหล่งโบราณคดีดังกล่าวผลทั้งเครื่องมือถลุงโลหะเช่น ท่อเป่าลม (Tuyere) และเตาหลอมโลหะ (Furnaces) รวมถึงชิ้นส่วนที่แสดงถึงกระบวนการการผลิตเช่น ขี้แร่ (Slags) และแร่โลหะที่ยังไม่ผ่านกระบวนการการถลุงโลหะพบในปริมาณมาก รวมทั้งวัตถุที่ผลิตสำเร็จแล้วเช่น แหวนสำริด ใบมีด และทั่งเป็นต้น จึงมีการสันนิษฐานว่ามีการผลิตถึงในระดับอุตสาหกรรมมากกว่าจะเป็นเพียงการผลิตเพื่อใช้ภายในชุมชน

 

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบแหล่งผลิตลูกปัดชื่อ แหล่งโบราณคดี Sungai Mas ใกล้กับแม่น้ำ Muda River ทางตอนใต้สุดของรัฐKedah จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าเป็นพื้นที่ผลิตลูกปัดแก้วที่เรียกว่า อินโด-แปซิฟิค (Indo-Pacific Beads) และลูกปัดโมเสค (Mosaic Beads)

 

แม้ว่าแหล่งโบราณคดีในพื้นที่หุบเขาบูจัง หรือบูจัง วัลเลย์ ไม่ได้มีอายุอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมด แต่อาจพอแสดงให้เห็นได้ว่าพื้นที่ในแถบนี้มีกิจกรรมของมนุษย์เกิดอย่างต่อเนื่อง และเกิดการพัฒนาอารยธรรมของตัวเองอย่างต่อเนื่อง

ทางตอนเหนือของเมืองMebok มีbujang valley archaeological museum 

Andaya, Leonard Y. Bujang Valley and Early Civilization in Southeast Asia. Malaysia: Department of National Heritage, Ministry of Information, Communication and Culture. 2011.

 

Jacq-Hergoualc’h, Michel. The Malay peninsula: Crossroad of the Maritime Silk Road (100 BC – 1300 AD). Translated by Victoria Hobson. Leidon: Brill. 2002.

 

Nik Abdul Rahman, Nik Hassan Shuhaimi.  The Encyclopedia of Malaysia: Early History. Singapore: Archipelago Press. 2006.

 

Nik Hassan Shuhaimi Nik Abd. Rahman & Othman Mohd. Yatim.  Antiquities of Bujang Valley. Kuala Lumpur : Museum Association of Malaysia. 1990.