หน้าแรก แหล่งโบราณคดี อังกอร์ บอเรย (អង្គរបុរី/Angkor Borei)

อังกอร์ บอเรย (អង្គរបុរី/Angkor Borei)

ที่ตั้ง จังหวัดTakéo ประเทศกัมพูชา
พิกัด 10.992 N, 104.977 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี ค.ศ. ก่อน400 ถึง 600
แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำโขง
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ อินเดีย การค้าทางทะเล จีน ประเทศกัมพูชา อาณาจักรฟูนัน ศิลปะสมัยหลังคุปตะ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

600

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

26 เม.ย. 2566

อังกอร์ บอเรย (អង្គរបុរី/Angkor Borei)

team
  • แผนที่แสดงรูปแบบเมืองอังกอร์ บอเรย รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของหลุมขุดค้นที่มีการขุดค้นภายในเมือง
ชื่อแหล่ง : อังกอร์ บอเรย (អង្គរបុរី/Angkor Borei)
ที่ตั้ง : จังหวัดTakéo ประเทศกัมพูชา
พิกัด : 10.992 N, 104.977 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี ค.ศ. ก่อน400 ถึง 600
แหล่งน้ำสำคัญ : แม่น้ำโขง
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : อินเดีย การค้าทางทะเล จีน ประเทศกัมพูชา อาณาจักรฟูนัน ศิลปะสมัยหลังคุปตะ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ยุคสมัย : ฟูนัน สมัยก่อนเมืองพระนคร
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 26 เม.ย. 2566

อังกอร์ บอเรย (Angkor Borei) ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน เมืองอังกอร์เบอเรยนั้นได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมฟูนันซึ่งเป็นอารยธรรมที่พัฒนาจนเป็นอาณาจักรแรก ๆ ภายในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีบทบาทสำคัญคือเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการค้าระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับภูมิภาคภายนอกมีอายุราวคริสต์ศตวรรษที่1 - 6 (ราวพุทธศตวรรษที่ 6 - 12) โดยที่ตั้งของอังกอร์ บอเรยนั้นนับได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คสำคัญในการค้าเนื่องจากอยู่ใกล้กับแม่น้ำโขงเพื่อใช้สำหรับเชื่อมโยงกับชุมชนตอนในของแผ่นดิน และอยู่ใกล้กับปากแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับแหล่งโบราณคดีออกแก้ว (Oc Eo)และออกสู่ทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าระหว่างอารยธรรมอินเดียและจีนในขณะนั้น รวมทั้งอาจเกี่ยวข้องกับชุมชนโบราณในแถบพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยอีกด้วย จากการพบเศษภาชนะดินเผาลายเขียนสีคล้ายรูปดวงอาทิตย์ที่แหล่งโบราณคดีหอเอก จังหวัดนครปฐมในประเทศไทย ซึ่งคล้ายคลึงกับลายเขียนสีบนกุณฑีที่พบในเมืองอังกอร์ บอเรย และแหล่งโบราณคดีภูมิสนาย (Phum Snay) ในประเทศกัมพูชาอีกด้วย

 

นอกจากการมีบทบาทในฐานะเป็นเมืองการค้าที่คอยเชื่อมโยงระหว่างอารยธรรมอินเดียและจีน ยังเป็นพื้นที่แรก ๆ ที่รับศาสนาจากอารยธรรมอินเดียอย่างศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากการพบประติมากรรมรูปเคารพพระวิษณุในภาคต่าง ๆ รวมทั้งเทพฮินดูองค์อื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งมีรูปแบบศิลปะคล้ายคลึงกับรูปแบบของศิลปะหลังคุปตะทางตอนใต้ของอินเดีย

 

นอกจากนี้ทางใต้ของเมืองอังกอร์ บอเรยยังมีภูเขาพนมดาซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทพนมดาซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นแรก ๆ ที่จะกลายเป็นอารยธรรมเขมรโบราณในเวลาต่อมา ซึ่งพบทั้งจารึกภาษาสันสกฤตและประติมากรรมหินรูปแบบศิลปะก่อนสมัยพระนคร 

Angkor Borei Museum ตั้งอยู่ในเมืองอังกอร์ บอเรย ซึ่งจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอังกอร์ บอเรย รวมทั้งสามารถเดินทางเยี่ยมชมปราสาทพนมดาทางตอนใต้ของเมืองได้เช่นกัน

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. "โบราณคดีช่วงก่อนสมัยทวารวดี: ข้อมูลใหม่จากเมืองโบราณอู่ทอง". ดำรงวิชาการ ปีที่17 ฉบับที่ 2มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะโบราณคดี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย, 2561.

 

Charles Higham. Early Mainland Southeast Asia. Bangkok: River Books. 2014.

 

Angkor Borei and Phnom Da. เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Angkor_Borei_and_Phnom_Da