หน้าแรก แหล่งโบราณคดี เหอผู่ (Hepu)

เหอผู่ (Hepu)

ที่ตั้ง Lianzhou Town, Guangxi Zhuang Autonomous Region, Hepu County, Beihai city
พิกัด 21.640520 N, 109.187002 E
อายุสมัย ระหว่าง 200 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ.300 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ หนานหลิงเจียง
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ คาร์เนเลียน อาเกต จีน เส้นทางสายไหม Han cup แก้วสีฟ้า
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

123

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

23 มี.ค. 2566

เหอผู่ (Hepu)

team
  • สุสานสมัยราชวงศ์ฮั่นที่เมืองเหอผู่
ชื่อแหล่ง : เหอผู่ (Hepu)
ที่ตั้ง : Lianzhou Town, Guangxi Zhuang Autonomous Region, Hepu County, Beihai city
พิกัด : 21.640520 N, 109.187002 E
อายุสมัย : ระหว่าง 200 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ.300 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ : หนานหลิงเจียง
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : คาร์เนเลียน อาเกต จีน เส้นทางสายไหม Han cup แก้วสีฟ้า
ยุคสมัย :
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 23 มี.ค. 2566

- ราวค.ศ.1960 (พ.ศ.2503): ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมาได้มีการขุดค้นทางโบราณคดีในหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่นมากถึง 1,200 หลุมฝังศพ ที่เมืองเหอผู่ ทำให้ค้นพบหลักฐานเป็นจำนวนมาก

- ค.ศ.2001 (พ.ศ.2544): ได้มีการสำรวจและพบสุสานมากถึง 1,056 เนิน ซึ่งประกอบด้วยหลุมฝังศพเกือบ 10,000 หลุม 

 

 

แหล่งโบราณคดีเหอผู่มีขนาดใหญ่มาก คิดเป็นพื้นที่ 68 ตารางกิโลเมตร สุสานเหล่านี้ได้ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีจำนวน 1,200 หลุมฝังศพ ทำให้พบโบราณวัตถุมากกว่า 20,000 ชิ้น ประกอบด้วยภาชนะดินเผา ภาชนะสำริด เหล็ก ทองคำ เครื่องเงิน หยก เครื่องรัก แก้ว และเครื่องประดับที่ทำจากลูกปัดมากมาย ทั้งหมดนี้สะท้อนความสัมพันธ์กับการค้าในเส้นทางสายไหมทางทะเล 

 

โบราณวัตถุที่พบที่แหล่งโบราณคดีเหอผู่นี้นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะเหมือนกันกับที่พบในเขตภาคใต้ของไทย ได้แก่ ลูกปัดที่ทำจากหินคาร์เนเลียน หินอาเกต เครื่องประดับทองคำที่ใช้เทคนิคการตกแต่งด้วยเม็ดทอง (granulation technique) ซึ่งพบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จ.ชุมพร, แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จ.ระนอง เป็นต้น เช่นเดียวกันกับถ้วยที่ทำจากแก้วสีฟ้า ซึ่งพบในแหล่งโบราณคดีในภาคใต้หลายแห่ง เช่นเขาสามแก้วและ ภูเขาทองที่กล่าวมาแล้ว แหล่งโบราณคดีท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น 

 

หลักฐานการเดินทางเข้ามาของชาวจีนนั้นปรากฏอย่างชัดเจนในบันทึกของบันกู (Ban Gu / 班固) (ค.ศ. 32–92/พ.ศ.575-635) ในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่เล่าถึงการเดินทางออกมาจากเมืองเหอผู่ ผ่านเมืองมายัง Rinan (ตังเกี๋ย เวียดนาม) มายังตูหยวน (Duyuan) คือออกแก้ว, ผ่าน Yilumo (คือ ดอนตาเพชร), เฉินหลี (Chenli) (คือ เขาสามแก้ว), เดินเท้าอีก 10 วัน (ข้ามคอคอดกระ), ไปเมืองฟูกานตูหลู (Fugandulu) (บางกล้วย) โดยมีปลายทางคือ Arikamedu (อินเดียใต้) และ Mantai (เมืองท่าทางเหนือของเกาะลังกา)

 

----------------------------------------

Covering an area of about 68 square kilometers, the Hepu Han Tombs is one of the largest-scale and best-preserved ancient tombs in China. In 2001, the remains of 1,056 grave mounds could be seen on the earth surface and it was estimated that almost 10,000 tombs still survived underground. In the last 60 years, over 1,200 tombs have been excavated at Hepu, with approximately 20,000 artefacts unearthed which include pottery, bronze, iron, gold and silver ware, jade, lacquer, glass and bead ornaments. Especially to deserve to be mentioned, a large amount of artefacts can be related to the Maritime Silk Road (Zhaoming Xiong and Xia Fu 2022).

 

มีพิพิธภัณฑ์เมืองเหอผู่ (Hepu Ancient Tomb of Han Dynasty 合浦古漢墓) สนใจดูข้อมูลได้จาก https://th.trip.com/travel-guide/attraction/hepu/hepu-ancient-tomb-of-han-dynasty-56807391/

 

Xiong Zhaoming. The Hepu Han tombs and the maritime Silk Road of the Han Dynasty. Cambridge University Press:  19 January 2015. Available at: https://www.cambridge.org/core/journals/antiquity/article/abs/hepu-han-tombs-and-the-maritime-silk-road-of-the-han-dynasty/E25B5D92D22A110D3CFB5AD74F89F38A

Zhaoming Xiong , Xia Fu. Hepu Han Tombs. Guangxi Science & Technology Publishing House, Springer, 2022.