ที่ตั้ง | วัดเขาน้อยเกสโร หมู่ที่ 4 บ้านไร่สะท้อน ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี |
พิกัด | 13.019444 N, 99.916212 E |
อายุสมัย | ระหว่าง ปี พ.ศ. 1400 ถึง 1600 |
แหล่งน้ำสำคัญ | คลองยอ |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | ทวารวดี จังหวัดราชบุรี ภาพปูนปั้น สมบูรณ์ที่สุด ปาละ |
แกลเลอรี |
|
ชื่อแหล่ง : | ถ้ำยายจูงหลาน |
ที่ตั้ง : | วัดเขาน้อยเกสโร หมู่ที่ 4 บ้านไร่สะท้อน ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี |
พิกัด : | 13.019444 N, 99.916212 E |
อายุสมัย : | ระหว่าง ปี พ.ศ. 1400 ถึง 1600 |
แหล่งน้ำสำคัญ : | คลองยอ |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : | ทวารวดี จังหวัดราชบุรี ภาพปูนปั้น สมบูรณ์ที่สุด ปาละ |
ยุคสมัย : | |
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : | 10 มี.ค. 2566 |
- ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547): ถ้ำแห่งนี้ค้นพบโดยชมรมอาสาสมัครอนุรักษ์โบราณสถานและศิลปวัฒนธรรมตำบลถ้ำรงค์ หลังจากนั้นจึงได้ประสานงานให้สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี ดำเนินการสำรวจ โดยมีนักโบราณคดีและภัณฑารักษ์ที่ไปสำรวจได้แก่ พยุง วงษ์น้อย, สุริยา สุดสวาท, และดาริกา ธนศักดิ์ศิริ โดยมีชาวบ้านในพื้นที่ร่วมสำรวจด้วยประกอบด้วย นายเผื่อน แย้มยืนยง ประธานชมรมฯ, ส.ต.อ.ประจวบ นิ่มนุช, นางเนาวรัตน์ นิ่มนุช, นายวิรัช แทนคุณ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 และนายมานพ ทองเก่า
ถ้ำแห่งนี้เรียกว่า ยายจูงหลาน คงเป็นเพราะภาพปูนปั้นรูปพระโพธิสัตวที่กำลังจูงมือรูปบุคคลๆ หนึ่ง ถ้ำแห่งนี้ถือเป็นถ้ำที่ภาพปูนปั้นสมบูรณ์มาก โดยเฉพาะยังมีสีที่ระบายลงบนจีวรอย่างชัดเจน ถือว่ามีเพียงแห่งเดียวในไทยที่สมบูรณ์มากเท่านี้
ภาพปูนปั้นนี้แบ่งออกเป็น 4 ภาพหลัก ประกอบด้วย
- ภาพพระพุทธเจ้าประทับยืน อิริยาบถคล้ายกับการเดิน พระหัตถ์ขวาถือไม้เท้ายาว บางคนมองเป็นดอกบัว แต่ในความเห็นของผู้สำรวจคาดว่าเป็นไม้เท้าขักขระ ที่พระสงฆ์ในนิกายมหายานใช้กัน สอดคล้องกับรูปแบบของพระพุทธรูปที่มีเปลวรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง ซึ่งนิยมในศิลปะปาละ จึงควรกำหนดอายุปูนปั้นนี้ว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15
- ภาพพระโพธิสัตว์ยืนตริภังค์ (เอียงพระวรกาย) นุ่งผ้าสีแดงชาด มีสายยัชโฌปวีตแสดงความเป็นนักบวช มุ่นมวยผมขึ้นไปข้างบน ไม่มีพระพุทธรูปหรือเจดีย์ประดับ คาดว่าอาจเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งการไม่ทำสัญลักษณ์บนมุ่นมวยผมนี้พบมากในเมืองคูบัว ส่วนด้านข้างของพระโพธิสัตว์องค์นี้ คาดว่าเป็นพระโพธิสัตว์เช่นกัน เพราะมุ่นมวยผม หากศึกษาคัมภีร์อาจทำให้ทราบได้ว่า ภาพนี้กำลังกล่าวถึงเหตุการณ์ใด
- ภาพรัศมีรูปเปลวเพลิงของพระพุทธรูปประทับ อยู่บนสุดของภาพพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ แต่ภาพของพระพุทธเจ้านั้นได้หลุดร่วงไป
- ภาพเทวดาเหาะ ทำท่าทางยกมือไหว้พระพุทธเจ้าเหนือศรีษะ การจัดวางองค์ประกอบของภาพโดยให้ภาพของเทวดาไว้ยังด้านขวาของภาพบุคคลสำคัญนี้ อาจมีความเกี่ยวข้องกับภาพสลักหินในถ้ำพระโพธิสัตว์
เหมาะกับการท่องเที่ยว ถนนทางเข้าวัดค่อนข้างแคบ ต้องใช้ความระมัดระวัง ถ้ำแห่งนี้เปิดให้เข้าไปตลอด ไม่มีประตูกั้น หากไปจอดรถบริเวณดังกล่าว ต้องระมัดระวังลิง
กรมศิลปากร. โบราณสถานถ้ำเขาน้อย. เข้าถึงได้ที่ www.finearts.go.th/storage/contents/detail_file/BXufwy2Xx6FL44DmBtHlNRgpB10UlReO