ที่ตั้ง | บริเวณปากแม่น้ำสินธุ |
พิกัด | 24.755 N, 67.523 E |
อายุสมัย | ระหว่าง ปี ค.ศ. 401 ถึง 1300 |
แหล่งน้ำสำคัญ | แม่น้ำสินธุ |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | เมืองท่า อินเดีย การค้าทางไกล ราชวงศ์ถัง การค้าทางทะเล จีน สถานีการค้า ราชวงศ์อับบาซิด |
แกลเลอรี |
|
ชื่อแหล่ง : | เมืองท่าบันภอร์ (Port of Banbhore) |
ที่ตั้ง : | บริเวณปากแม่น้ำสินธุ |
พิกัด : | 24.755 N, 67.523 E |
อายุสมัย : | ระหว่าง ปี ค.ศ. 401 ถึง 1300 |
แหล่งน้ำสำคัญ : | แม่น้ำสินธุ |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : | เมืองท่า อินเดีย การค้าทางไกล ราชวงศ์ถัง การค้าทางทะเล จีน สถานีการค้า ราชวงศ์อับบาซิด |
ยุคสมัย : | สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ศรีวิชัย |
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : | 26 ก.พ. 2566 |
- ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 : เริ่มมีการขุดค้นแต่ยังไม่เป็นรูปแบบ
- ค.ศ.1958-1965 (พ.ศ.2501-2508): ดร.เอฟ.เอ (ฟาซาล อาห์เมด) ข่าน (Dr.F.A.[Fazal Ahmad Khan])
ข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าเมืองท่าบันภอร์ (Port of Banbhore) มีร่องรอยการใช้งานมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 13 (พุทธศตวรรษที่ 7 - 19) ในช่วงต้นของการใช้งานพื้นที่พบหลักฐานว่ามีการนับถือศาสนาพราหมณ์ เนื่องจากพบศิวลึงค์ และภาชนะดินเผาจารึกอักษรเทวนาครี ก่อนที่ภายหลังจะกลายเป็นการนับถือศาสนาอิสลาม และเริ่มเติบโตเป็นเมืองท่าที่สำคัญร่วมสมัยกับเมืองท่าซีราฟ (Port of Siraf) ที่อ่าวเปอร์เซีย และเมืองท่ามันไตในมหาสมุทรอินเดีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (พุทธศตวรรษที่ 14)
หลักฐานที่พบเกี่ยวกับการค้าขายมีทั้งภาชนะดินเผาจากเอเชียตะวันตกเช่น ภาชนะดินเผาแบบเคลือบสีฟ้า-เขียว (Turquoise Glazed Pottery) ภาชนะดินเผาเคลือบตกแต่งด้วยเทคนิค Sgraffiato ภาชนะดินเผาเคลือบความมันเงา (Lustre ware) เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง จึงมีการสันนิษฐานว่าเมืองท่าบันภอร์ (Port of Banbhor) นั้นอยู่ในเครือข่ายการค้าตามเส้นทางจากเอเชียตะวันตกถึงเอเชียใต้ และเจริญจนถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์อับบาซิด จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 (พุทธศตวรรษที่ 18) จึงเริ่มหมดบทบาทลง
มีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สำหรับแหล่งโบราณคดีบันภอร์ (Banbhore) ณ บริเวณที่ตั้งของแหล่งโบราณคดี
วันวิสาข์ ธรรมานนท์. "หลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางการค้ากับเอเชียตะวันตกก่อนพุทธศตวรรษที่ 16". วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2555.
Unesco. Port of Banbhore. เข้าถึงได้จาก https://whc.unesco.org/en/tentativelists/1885/