ที่ตั้ง | หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี |
พิกัด | 13.982 N, 99.296 E |
อายุสมัย | ระหว่าง 3,100 ถึง 2,500 ปีมาแล้ว |
แหล่งน้ำสำคัญ | |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | หลุมฝังศพ เทคโนโลยีด้านโลหะ พิธีกรรมหลังความตาย ของอุทิศ จังหวัดกาญจนบุรี |
แกลเลอรี |
|
ชื่อแหล่ง : | บ้านท่าโป๊ะ |
ที่ตั้ง : | หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี |
พิกัด : | 13.982 N, 99.296 E |
อายุสมัย : | ระหว่าง 3,100 ถึง 2,500 ปีมาแล้ว |
แหล่งน้ำสำคัญ : | |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : | หลุมฝังศพ เทคโนโลยีด้านโลหะ พิธีกรรมหลังความตาย ของอุทิศ จังหวัดกาญจนบุรี |
ยุคสมัย : | ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สมัยสำริด |
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : | 25 ก.พ. 2566 |
- ค.ศ.2017 (พ.ศ.2559): พบแหล่งโบราณคดีบ้านท่าโป๊ะเป็นครั้งแรก
- ค.ศ.2019 (พ.ศ.2561): ได้รับการขุดค้นขึ้นโดยสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากรในโครงการ "ศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเก่าและที่เกี่ยวข้อง" และในปีเดียวกันโดยภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้โครงการ "เพิ่มพูนทักษะการปฏิบัติงานโบราณคดีภาคสนาม เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกของชาติ"
- ค.ศ.2021 (พ.ศ.2563): ดำเนินการขุดค้นโดยภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ในโครงการ "ขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีเพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าโป๊ะ(2) ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี"
แหล่งโบราณคดีบ้านท่าโป๊ะ เป็นพื้นที่ฝังศพของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมแม่น้ำแควน้อย โดยมีการกำหนดอายุสมัยแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เทียบกับแหล่งโบราณคดีบ้านหนามแดง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ในสมัยสำริดราว 2,800 ปีมาแล้ว และกำหนดอายุสมัยโดยวิธีวิทยาศาสตร์ได้ในสมัยสำริดเช่นกัน อายุราว 3,100 - 2,500 ปีมาแล้ว
จากการขุดค้นนั้นพบว่าหลุมฝังศพในพื้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าโป๊ะนั้นเป็นหลุมฝังศพของมนุษย์วัยเด็ก ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ 9 ปี จำนวน 10 หลุมฝังศพ และพบร่วมกับของอุทิศเช่น ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ เปลือกหอย กระดองเต่า เครื่องมือสำริด เป็นต้น รวมทั้งในพื้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าโป๊ะนั้นยังพบร่องรอยของการอยู่อาศัย และการถูกใช้ในกิจกรรมการหลอมโลหะ จากการพบหลักฐานจำพวก กระดูกสัตว์ ชิ้นส่วนสำริด ดินเผาไป และถ่าน
ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมหลุมขุดค้นกลางแจ้ง (Site museum) บริเวณใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
ณัฐมน คิดสำราญ, อธิพัฒน์ ไพบูลย์, เมลดา มณีโชติ และเดชดนัย ศุภศิลปเลิศ. รายงานการปฏิบัติงานโบราณคดี และหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ณ แหล่งโบราณคดีบ้านท่าโป๊ะ ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2563.
สุภมาศ ดวงสกุล. "สุสานเด็กสมัยโลหะที่บ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี". เอกสารนอกเล่มประกอบการสัมมนาวิจัย วิจักขณ์ การนำเสนอผลงานวิชาการ กรมศิลปากร ประจำปี พ.ศ.2561 ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 24 - 25 กันยายน.